มติชน - เมื่อช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา หลายจังหวัดในประเทศไทยได้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมได้รับความเสียหายจานวนมาก ทำให้หลายหน่วยงานเร่งให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เบื้องต้นโดยการนำถุงยังชีพ ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่มและยาสามัญประจาบ้าน ไปมอบให้ชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน เช่นเดียวกับชาวบ้านหมู่ 14 ต.วังพิกุล อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ที่ประสบภัยน้ำท่วม ก็ได้รับแจกจ่าย แต่ปรากฏว่ายาที่ได้รับมาเป็น "ยาหมดอายุ"นายแสวง คงผ่อง อายุ 63 ปี อยู่บ้านเลขที่ 80/3 หมู่ 14 ต.วังพิกุล กล่าวว่า เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ที่หมู่บ้านประสบอุทกภัยมีหลายหน่วยงานเข้ามาให้ความช่วยเหลือ แจกถุงยังชีพ น้ำดื่ม รวมไปถึงยาสามัญประจาบ้านที่บรรจุมาในกล่อง สีเขียว กระทั่งเช้าวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นางรอน คงผ่อง อายุ 64 ปี ภรรยาของตน เกิดปวดท้อง จึงได้ไปเปิดกล่องนำยาธาตุนาแดงมาให้ภรรยากิน แต่เมื่อตรวจสอบพบว่ายาดังกล่าวหมดอายุไปตั้งแต่ วันที่ 7 พฤษภาคม 2554 และเมื่อตรวจสอบยาชนิดอื่นๆ ก็พบว่าทุกชนิดหมดอายุแล้วเช่นเดียวกันกับบ้านอื่นๆ ที่ได้รับแจกยา
นายวีระ แก้วหล่าย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 14 ต.วังพิกุล กล่าวว่า ชุดยาที่หมดอายุ ได้รับแจกจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. แจกจ่ายให้กับชาวบ้านทั้งหมู่บ้าน จำนวน 66 หลังคาเรือน
ด้าน นางยุพา กิจรุ่งวัฒนะ ผู้อำนายการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงพลวง กล่าวยอมรับว่า ทางโรงพยาบาลได้นำยาไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้านวังฉำฉา เนื่องมาจากช่วงเดือนกันยายน 2556 ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุการณ์นาท่วมหลายหมู่บ้านได้รับความเดือดร้อน ขณะนั้นไม่มีงบประมาณช่วยเหลือน้ำท่วม จึงได้นำกล่องยาสามัญประจำบ้านที่ไปรับมาจากทางสาธารณสุขอำเภอวังทอง ตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2555 จานวน 2 ลังใหญ่ ภายในบรรจุกล่องยาสามัญประจำบ้าน 50 กล่องเล็ก ประกอบด้วย ยาแก้ปวด 1 แผง 10 เม็ด ยาแก้แพ้ 1 แผง 10 เม็ด ยาธาตุน้ำแดง 1 ขวด และยาเบตาดินใส่แผลสด 1 ขวด นำไปมอบให้กับ อสม.หมู่บ้านไปแจกจ่ายชาวบ้าน ภายหลังทราบว่ามียาที่หมดอายุ 30 กล่อง จึงได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ไปตามเก็บยาชุดดังกล่าวกลับคืนและทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ก็ยังโชคดีที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้นำยามารับประทาน เหตุการณ์ดังกล่าวขอรับผิดชอบแต่ผู้เดียวเพราะไม่ได้ตรวจสอบให้ดีก่อนนำไปแจกจ่าย
เรื่องนี้ไม่ได้เป็นความโชคดีของชาวบ้านที่ไม่ได้รับประทานยาที่หมดอายุ แต่เป็นความรอบคอบของชาวบ้านที่รู้จักดูฉลากวันหมดอายุก่อนจะบริโภคยาหรืออาหาร เป็นอุทาหรณ์ให้หน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบให้ต้องการความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ควรตรวจสอบสิ่งของก่อนที่จะนำไปช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยเสียก่อน ไม่ควรเร่งรีบจนเกินไป ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นการ "ซ้ำเติมผู้ประสบภัย" ให้เดือดร้อนมากขึ้น ไปอีก
ที่มา--มติชน ฉบับวันที่ 8 พ.ย. 2556 (กรอบบ่าย)--
- 47 views