ประชาชาติธุรกิจ - แม้ปากช่องจะเป็นเพียงอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา แต่เป็นพื้นที่ที่มีความเคลื่อนไหวด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว คึกคักที่สุดของเมืองโคราช ขณะที่คนกรุงยังคง หลั่งไหลเข้าไปซื้อที่ดินหรือสร้างบ้าน หลังที่ 2 ทำให้จำนวนประชากรและความจำเป็นในการใช้บริการทางการแพทย์ เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว
ปัจจัยบวกเหล่านี้จึงมีการยกระดับ คลินิกโรงพยาบาลกรุงเทพขึ้นเป็น โรงพยาบาลเอกชนแห่งแรกของย่าน ปากช่อง-เขาใหญ่ ซึ่งวันนี้อยู่ภายใต้การบริหารของ "นายแพทย์วสันต์ อภิวัฒนกุล" ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพปากช่อง ได้ฉายภาพให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในพื้นที่นี้ และทิศทางในอนาคตที่ปากช่องจะกลายเป็นเมืองที่อยู่อาศัยเต็มตัวในเร็ว ๆ นี้ ศักยภาพของ ร.พ.กรุงเทพปากช่องในขณะนี้
นโยบายการลงทุนของผู้บริหารเครือ โรงพยาบาลกรุงเทพในภาคอีสาน ภายในปีนี้จะเปิดที่อุดรธานี ขอนแก่น และเล็ง
พื้นที่อุบลราชธานี สำหรับปากช่องเป็นจุดพิเศษคือ เป็นจุดเชื่อมกลางระหว่างกรุงเทพฯกับโคราช เป็นเส้นทางเข้าสู่อีสาน จะมีการพัฒนาเส้นทางการเดินทางสะดวกทั้งมอเตอร์เวย์ รถไฟความเร็วสูง และในพื้นที่เขาใหญ่ อสังหาริมทรัพย์กำลัง เกิดขึ้นเยอะมาก กลายเป็นบ้านที่ 2 ของคนกรุงเทพฯ คนจะมาที่นี่กันเยอะ เรื่องเฮลท์แคร์ก็เป็นสิ่งจำเป็น จึงมีการยกระดับคลินิกขึ้นมาเป็นโรงพยาบาล
อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลกรุงเทพปากช่องเป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา ขณะนี้ ร.พ.กรุงเทพราชสีมาถูกวางตัวให้เป็นศูนย์กลางของ ร.พ.กรุงเทพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฉะนั้นทรัพยากรหรือขีดความสามารถ ต่าง ๆ ก็จะระดมมาที่ ร.พ.กรุงเทพราชสีมา เช่น จะมีศูนย์มะเร็งเกิดขึ้น มีแพทย์ เฉพาะทางสาขาต่าง ๆ
ในส่วนของ ร.พ.กรุงเทพปากช่อง เมื่อ 2 ปีที่แล้วเป็นสถานพยาบาล (คลินิก) มีแพทย์เฉพาะทางด้านอายุรกรรมและเด็ก แต่ทางศัลยกรรม กระดูก หรือทำคลอดไม่มี ในช่วง 2 ปีนี้เราพยายามเพิ่มขีดความสามารถ มีการเพิ่มแพทย์เพื่อรองรับคนไข้ให้ครบ ไม่ว่าจะเป็นการฝากครรภ์
ทำคลอด และโรคที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุ แต่การพัฒนาทำได้ไม่เต็มที่เพราะเป็นพื้นที่เช่า เพิ่งเจรจาซื้อได้ และอยู่ระหว่างการปรับปรุงในหลายส่วนเพื่อรองรับผู้ใช้บริการ เครือข่ายของ ร.พ.กรุงเทพปากช่องในปัจจุบัน
เรามีหน่วยงานย่อยอีก 2 ส่วน คือ คลินิกที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และร้านขายยาที่ปาลิโอ เขาใหญ่ ซึ่งเป็นร้านขายยาแห่งแรก กลุ่มลูกค้าหลักคือใคร
กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ประชาชนในเขตพื้นที่ปากช่อง ซึ่งสัดส่วนของผู้มารับบริการ 85% เป็นคนท้องถิ่น 10% เป็นนักท่องเที่ยว/คนเดินทางผ่าน และอีก 5% เป็นชาวต่างชาติกลุ่ม Expat (Expatriate) ที่เข้ามาทำงานในพื้นที่นี้ รวมทั้งครูจีนที่มาสอนหนังสือ โดยมีคนไข้วันละ 100 กว่าคน ซึ่งครึ่งหนึ่งเป็นอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น อุบัติเหตุบนท้องถนน จราจร การเกษตร และที่เจอบ่อยคือนักท่องเที่ยวเกิดอุบัติเหตุในที่พัก เช่น สัตว์กัดต่อย งู ตะขาบกัด โดยเฉพาะผู้ที่มาปฏิบัติธรรมเราก็เจอบ่อย
ตอนนี้ปากช่องมีประชากร 2 แสนคน
ถ้ารวมคนที่มาอยู่ช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ก็น่าจะ 4-5 แสนคน ฉะนั้นคนขาจรน่าจะมาเลือกใช้บริการของโรงพยาบาลเอกชนมากกว่า ตอนนี้เรามีแพทย์ประจำ 7-8 คน และจะมีแพทย์เฉพาะทางด้านหัวใจ กระดูกสันหลัง เวียนมาจาก ร.พ.กรุงเทพราชสีมา เป็นคลินิกพิเศษด้วย แนวโน้มผู้มาใช้บริการเป็นอย่างไร
เราคาดการณ์ไว้ว่าในอีก 2 ปีน่าจะมีคนไข้โอพีดี (คนไข้นอก) วันละ 300 คน ตอนนี้อยู่ที่ 150 คน ปีที่แล้วอยู่ที่ 100 คน ส่วนคนไข้ใน เมื่อ 2 ปีที่แล้วเรามีไม่ถึง 10 คน แต่ตอนนี้วันละ 20 คน ซึ่งอีก 2 ปีข้างหน้าน่าจะมีจำนวนถึง 50 คน ซึ่งต่อไปการเดินทางจะสะดวกมากขึ้น แทนที่คนจะมาพักอยู่เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ ก็อาจจะอยู่ตั้งแต่วันศุกร์-จันทร์มากขึ้นกว่าเดิม ผลประกอบการเป็นอย่างไร
ธุรกิจมีการเติบโตเกิน 15% ปีนี้เราตั้งเป้าน่าจะโตได้ 25% รายได้น่าจะถึง 150 ล้านบาท หรือเดือนละ 12.5 ล้านบาท เศรษฐกิจชะลอมีผลกระทบหรือไม่
ถือว่ายังไม่ส่งผลกระทบต่อเรามากนัก เนื่องจากธุรกิจของเราไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือย ความเจ็บป่วยยังเป็นความ จำเป็นพื้นฐาน ผมประเมินว่าคนจะเจ็บป่วยด้วยภัยธรรมชาติเพิ่มมากขึ้นเพราะอากาศเปลี่ยนมาก ปีนี้มีคนเป็นไข้เลือดออก เยอะมาก ซึ่งไม่ได้เป็นกับเด็กเท่านั้น แต่เป็นกับผู้ใหญ่และผู้สูงวัยด้วย มีแผนการลงทุนใหม่ ๆ อะไรบ้าง
จะมีการลงทุนใหม่ 2 ส่วนคือ 1) ในพื้นที่เดิม จะมีการขยายพื้นที่ด้านข้างให้เป็นที่พักคนไข้ใน ขยายห้องไอซียู ห้องผ่าตัด ห้องคลอด โดยจะขยายห้องตรวจให้ได้ 15 ห้อง รวมทั้งเพิ่มพื้นที่จอดรถ คาดว่าจะลงทุนอีกไม่เกิน 150 ล้านบาท ซึ่งจะเสร็จสมบูรณ์ปลายปี 2558
และ 2) การลงทุนโรงพยาบาล แห่งใหม่ ขณะนี้มีที่ดินรองรับไว้แล้ว จำนวน 22 ไร่ ติดถนนมิตรภาพ (ใกล้ พรีเมี่ยมเอาต์เลต) ซึ่งตามวิชั่นของ ผู้บริหารต้องการพัฒนาเป็นศูนย์รองรับ ลองสเตย์ หรือศูนย์ดูแลผู้สูงอายุครบวงจรด้วย
หากมองไปข้างหน้าเกิน 5 ปีไปแล้ว ปากช่องจะมีความต้องการโรงพยาบาลที่ทันสมัยเหมือนโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 7 - 9 ต.ค. 2556--
- 804 views