โรคมะเร็งกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวของเราทุกคนจากอัตราการเกิดของโรคที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องปัจจุบัน "โรคมะเร็งของศีรษะและลำคอ" เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เราไม่ควรมองข้าม จากสถิติพบว่าในแต่ละปีมีผู้ป่วยใหม่เกิดขึ้นประมาณ 540,000 รายทั่วโลกและเสียชีวิตกว่า 271,000 รายต่อปี นับเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขระดับโลก
ด้านนายแพทย์สมศักดิ์ หวานกิจเจริญ แพทย์ด้านหู คอจมูก กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคมะเร็งของศีรษะและลำคอ เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นลำดับต้นๆ พบได้ทั้งในเพศชายและหญิงโดยตำแหน่งที่อาจเกิดเป็นมะเร็ง ได้แก่ จมูก โพรงหลังจมูกโพรงอากาศไซนัส ช่องปาก (ริมฝีปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม เหงือกเพดานปาก กระดูกขากรรไกรล่าง) ทอนซิล ช่องลำคอ กล่องเสียง ต่อมธัยรอยด์ ต่อมน้ำลาย รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองใน
บริเวณศีรษะและลำคอสาเหตุของโรคมะเร็งของศีรษะและลำคอยังไม่ทราบชัดเจนแต่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือ การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคหมาก ยาฉุนการมีแผลเรื้อรังในช่องปากจากโรคต่างๆและการติดเชื้อไวรัสบางชนิดที่สำคัญ เช่น เชื้อไวรัสอีบีวีไวรัสเอชพีวี และไวรัสเอชไอวี รวมถึงความผิดปกติทางพันธุกรรมบางชนิด
สำหรับตำแหน่งที่พบมะเร็งของศีรษะและลำคอในลำดับต้นๆ ได้แก่ 1.มะเร็งโพรงหลังจมูก พบในเพศชายมากกว่าหญิงผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ในระยะที่เป็นมาก เนื่องจากมักไม่มีอาการเตือนในระยะต้นๆ โดยจะมีอาการหูอื้อ ฟังไม่ชัด เกิดจากภาวะน้ำคั่งในหูชั้นกลาง หรือพบก้อนเนื้อที่บริเวณคอ จากการที่มีมะเร็งกระจายมาที่ต่อมน้ำเหลือง มีอาการเสมหะปนเลือด หน้าชา มองเห็นภาพซ้อน ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งโพรงหลังจมูก คือ เชื้อชาติ พฤติกรรมการบริโภคอาหารบางชนิดเช่นปลาเค็ม การติดเชื้อไวรัสอีบีวี 2.มะเร็งในช่องปาก พบในเพศหญิงและชายใกล้เคียงกัน โดยมีอาการก้อนในบริเวณช่องปากแผลเรื้อรัง (แผลในช่องปากที่เป็นนานเกิน 2 สัปดาห์) อาจมีอาการเลือดออกจากแผล ปวด พูดไม่ชัด สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งในช่องปากที่สำคัญ ได้แก่ การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า การกินหมาก การได้รับการระคายเคืองเรื้อรัง เช่น การใช้ฟันปลอมที่ไม่พอดี ซึ่งทำให้เกิดการเสียดสีกับเยื่อบุภายในปาก
นอกจากนี้ ยังพบว่า อาจมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัส HPV (ไวรัสตัวเดียวกับที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก)ทำให้พบมะเร็งในช่องปากในกลุ่มคนอายุน้อยมากขึ้น 3.โรคมะเร็งกล่องเสียงและช่องลำคอ มีปัจจัยเสี่ยงมาจากการสูบบุหรี่กินหมาก โดยมีจะมีอาการเสียงเปลี่ยน เสียงแหบ ไอมีเสมหะปนเลือด กลืนเจ็บ กลืนลำบาก หายใจไม่สะดวก และมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง การรักษาประกอบด้วย การผ่าตัดการฉายแสง และการทำเคมีบำบัด โดยอาจใช้การรักษาวิธีเดียวหรือใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน ขึ้นอยู่กับระยะความรุนแรงของโรคที่พบในขณะนั้น รวมทั้งสภาวะโดยรวมของผู้ป่วย
"ก่อนทำการรักษา มีความจำเป็นที่จะต้องประเมินว่าขณะนี้ผู้ป่วยอยู่ในระยะใด เพื่อการวางแผนในการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งวิธีการตรวจหาระยะของโรคที่ดีที่สุดในปัจจุบันคือการทำ PET Scan โดยเป็นเครื่องมือที่สามารถตรวจหาการกระจายของมะเร็งได้เกือบทั่วร่างกาย สำหรับการรักษาด้วยการผ่าตัด นอกจากทำให้ผู้ป่วยหายจากโรคมะเร็งแล้วยังมีความจำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อซ่อมเสริมอวัยวะ เพื่อให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพด้วยการผ่าตัดมะเร็งและการผ่าตัดเพื่อการซ่อมเสริมอวัยวะที่ซับซ้อนในบริเวณนี้ จำเป็นต้องใช้ทีมศัลยแพทย์ด้านศีรษะและลำคอ ที่ได้รับการฝึกฝน รวมทั้งมีประสบการณ์ในการผ่าตัดรักษาบริเวณนี้อย่างมากด้วย"
อย่างไรก็ตาม วิธีลดโอกาสเกิดโรคมะเร็งของศีรษะและลำคอที่ดีที่สุด คือ การเลิกสูบบุหรี่ และการเลิกดื่มแอลกอฮอล์เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดผลข้างเคียงสูง อีกทั้งควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณเหมาะสม ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว รวมถึงดูแลรักษาช่องปากและฟันบ้วนปากทุกครั้งหลังการบริโภค เพื่อรักษาความสะอาด
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 - 27 ส.ค. 2556--
- โรคมะเร็ง
- โรคมะเร็งของศีรษะและลำคอ
- สมศักดิ์ หวานกิจเจริญ
- จมูก
- โพรงหลังจมูก
- โพรงอากาศไซนัส
- ช่องปาก
- ริมฝีปาก
- ลิ้น
- กระพุ้งแก้ม
- เหงือกเพดานปาก
- กระดูกขากรรไกรล่าง
- ทอนซิล
- ช่องลำคอ
- กล่องเสียง
- ต่อมธัยรอยด์
- ต่อมน้ำลาย
- ต่อมน้ำเหลือง
- การสูบบุหรี่
- การดื่มแอลกอฮอล์
- การบริโภคหมาก
- ยาฉุนการ
- แผลเรื้อรังในช่องปาก
- เชื้อไวรัสอีบีวี
- ไวรัสเอชพีวี
- ไวรัสเอชไอวี
- PET Scan
- 528 views