นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมสรุปผลการอภิปรายและแนวทาง การดำเนินงานต่อในอนาคต ในการประชุมสาธารณสุขแนวชายแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Biregional Meeting on Healthy Borders in the Greater MeKong Subregion) จัดโดยองค์การ อนามัยโลก ที่โรงแรมรอยัลออร์คิด เชอราตัน กทม. โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารระดับสูง และผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงต่างๆ อาทิ กระทรวงสาธารณสุข พาณิชย์ เกษตร แรงงาน ต่างประเทศ การท่องเที่ยว ทรัพยากรฯ จาก 6 ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม ไทย และจังหวัดยูนนาน ประเทศจีน ภาคเอกชน เช่น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ธนาคารเพื่อการพัฒนา (Development Bank) และองค์กรเอกชน เข้าร่วมประชุมประมาณ 180 คน เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนา สุขภาพประชากรที่เคลื่อนย้าย แรงงาน และประชาชนที่อาศัยในพื้นที่แนวชายแดน 6 ประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงร่วมกันในอนาคต
ทั้งนี้ประเทศไทยมีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ คือ พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ซึ่งโรคตามแนวชายแดน แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ โดยโรคที่ยังพบในรอบ 10 ปี ที่ผ่านมา เช่น เอชไอวี เอดส์ วัณโรค มาลาเรีย โรคอุบัติใหม่ ปัญหา อนามัยแม่และเด็ก รวมทั้งปัญหาการค้ามนุษย์ ล่าสุดการรวมเศรษฐกิจ ของภูมิภาคเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 จะส่งเสริมการค้าบริเวณชายแดน เกิดการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของ ประชาชนในภูมิภาคเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจส่งผลให้ปัญหาสาธารณสุข ตามแนวชายแดนมีความรุนแรงขึ้น ทั้งโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อุบัติเหตุจราจร รวมทั้งอาหารและผลิตภัณฑ์ที่เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ เช่น เหล้า บุหรี่ ที่ผ่านเข้ามาในประเทศด้วย
ปัญหาสาธารณสุขแนวชายแดนเป็นปัญหาของทั้งภูมิภาค ไม่ใช่ประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงต้องอาศัยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและ ความร่วมมือในระดับนานาชาติ เพื่อระดมทรัพยากรและการสนับสนุ นในการวางแผนและการดำเนินงานแก้ไขปัญหาของ ภูมิภาค เป้าหมาย สูงสุดในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขแนวชายแดนคือการสร้าง หลักประกัน สุขภาพถ้วนหน้าของภูมิภาคให้เกิดขึ้น โดยการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีขั้นตอนการพัฒนา 3 ขั้น ขั้นแรก คือการสร้างระบบบริการสุขภาพและพัฒนาบุคลากร โดยรับบุคลากรสาธารณสุข เช่น แพทย์จากประเทศเพื่อนบ้านเข้าทำงานในโรงพยาบาล แนวชายแดนไทย โดยได้รับใบอนุญาตชั่วคราว และมีสิทธิ์รับการพัฒนา ศักยภาพต่อในไทย ขั้นที่ 2 สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยสร้างหน่วย บริการปฐมภูมิในประเทศเพื่อนบ้านตลอดแนวชายแดนไทย ระบบส่งต่อ ในชุมชน และโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ หน่วยบริการปฐมภูมิรับผิดชอบ ดูแล ทั้งการควบคุมโรค เอชไอวี เอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และการดูแล รักษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งพัฒนาโรงพยาบาลที่มีอยู่เพื่อให้บริการระดับทุติยภูมิ และขั้นสุดท้ายการระบุสิทธิประโยชน์หลักและพัฒนารูปแบบระบบการเงินด้าน สุขภาพ เพื่อเริ่มต้นหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยไทยพร้อมจัดหาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการคลังด้านสุขภาพเพื่อร่วมทำงาน กับประเทศเพื่อนบ้านและองค์กรนานาชาติอื่นๆ เพื่อให้ได้รูปแบบหลักประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับบริบทของภูมิภาค
ที่มา: http://www.naewna.com
- ประดิษฐ สินธวณรงค์
- กระทรวงสาธารณสุข
- การประชุมสาธารณสุขแนวชายแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Biregional Meeting on Healthy Borders in the Greater MeKong Subregion)
- องค์การอนามัยโลก
- สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)
- องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM)
- ธนาคารเพื่อการพัฒนา (Development Bank)
- สาธารณสุขแนวชายแดน
- 55 views