องค์การอนามัยโลกเผยรายงานสถานะประเทศ 2013 ไทยมีอัตราส่วนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นที่ 3 ของโลก มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน และเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เฉลี่ยทุกๆ 1 ชั่วโมงมีคนเจ็บ-ตาย 2 คน...
เมื่อวันที่ 24 ก.ค.2556 นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือแห่งองค์การอนามัยโลกด้านการป้องกันอุบัติเหตุ เปิดเผยรายงานความปลอดภัยทางถนนของโลก พ.ศ.2556 (Global Status Report on Road Safety 2013) จัดทำโดยองค์การอนามัยโลก พบอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของไทยพุ่งสูงขึ้นเป็นอันดับ 3 ของโลก เสียชีวิตถึง 38.1 คนต่อประชากร 1 แสนคน รองจากประเทศเกาะนีอูเอ และสาธารณรัฐโดมินิกัน
นพ.วิทยา กล่าวว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน รวมจากทุกพาหนะและคนเดินเท้าแล้วถึง 13,766 คน จากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2554 (ปี ค.ศ.2010) เป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “แต่จากการประมาณการการเสียชีวิตจากอุบัติภัยบนท้องถนนของประเทศไทย โดยองค์การอนามัยโลก ในปี ค.ศ. 2010 สูงถึง 26,312 คน คิดเป็นอัตรา 38.1 ต่อประชากร 100,000 คน”
นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตของแต่ละประเทศ ด้วยบรรทัดฐานเดียวกันคือ จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อประชากร 1 แสนคน แล้วกลายเป็นว่า ไทยมีอัตราผู้เสียชีวิต 38.1 คนต่อจำนวนประชากร 1 แสนคน นับเป็นอันดับ 3 รองจากอันดับ 1 คือ นีอูเอ (Niue) มีอัตราผู้เสียชีวิต 68.3 คน ต่อจำนวนประชากร 1 แสนคน อันดับ 2 คือ สาธารณรัฐโดมินิกัน มีอัตราผู้เสียชีวิต 41.7 คนต่อจำนวนประชากร 1 แสนคน
โดยเมื่อวันที่ 14 มีนาคม องค์การอนามัยโลกได้เปิดเผยในรายงานความปลอดภัยทางถนนของโลก พ.ศ. 2556 (Global Status Report on Road Safety 2013) ภาพรวมของการสำรวจจาก 182 ประเทศ มี 6 ประเทศที่ลดจำนวนผู้เสียชีวิตได้อย่างน่าชื่นชม ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สวีเดน และอังกฤษ ส่วนที่เหลืออีก 176 ประเทศ มี 88 ประเทศที่ลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุได้จริง ขณะที่ 87 ประเทศ อีก 1 ประเทศไม่ระบุ มีสถิติผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น ในรายงานยังบอกว่า 3 ใน 4 ของผู้เสียชีวิตเป็นคนหนุ่มสาวอายุระหว่าง 15-29 ปี ถ้าแต่ละประเทศไม่ป้องกัน การเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุจะขึ้นมาเป็นอันดับ 5 ของการเสียชีวิตของคนทั้งโลกภายในปี พ.ศ. 2573
ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ที่ผ่านมา องค์กรอนามัยโลก ร่วมกับศูนย์ความร่วมมือระหว่างองค์การอนามัยโลกกับโรงพยาบาลขอนแก่น แถลงผลการรายงานสถานะความปลอดภัยทางถนนโลก ปี 2556 และจัดประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในหัวข้อ ทำไมประเทศไทยถึงมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุอยู่อันดับต้นของโลกเพื่อหา แนวทางแก้ไขและแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะในการบรรเทาผู้เสียจากอุบัติเหตุทางถนน ซึ่ง ดร.นิมา อัสการี รักษาการผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยว่ารายงานความปลอดภัยทางถนนของโลกปี 2556 (Global Stabal Report on Road 2013) พบอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของไทยพุ่งสูงเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยมีผู้เสียชีวิต 38.1 รายต่อประชากร 1 แสนราย รองจากอันดับ 1 แสนราย อันดับ 2 คือ สาธารณรัฐโดมินิกัน มีอัตราผู้เสียชีวิต 41.7 รายต่อประชากร 1 แสนราย และองค์การอนามัยโลกกำลังเป็นห่วงในเรื่องนี้ เพราะจากตัวเลขยานพาหนะที่จดทะเบียนทั่วโลกมีมากขึ้นร้อยละ 15 และในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากอับุติเหตุเป็น 1.24 ล้านราย
ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้ระดับต่ำถึง ระดับปานกลาง มียอดผู้เสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 33 บางประเทศสูงถึงร้อยละ 75 และจากการสำรวจระหว่างปี 2550-2553 ใน 182 ประเทศ มีประเทศออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สวีเดน และอังกฤษ ที่สามารถลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุได้อย่างน่าชื่นชม
อย่างไรก็ตาม นพ.วิทยา กล่าวย้ำว่า เป็นที่น่าตกใจที่ข้อมูลของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2554 มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน รวมจากทุกพาหนะและคนเดินเท้าแล้ว แค่ 13,766 คน ต่างจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ที่ทำการประเมินในปีเดียวกัน มีจำนวนสูงถึง 26,312 ราย คิดเป็นอัตรา 38.1 ต่อประชากร 1 แสนราย เป็นอันดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตัวเลขที่ต่างกันอาจเกิดจากวิธีการเก็บข้อมูลที่ต่างกัน แต่ก็มีความหมายเดียวกันว่า ปัญหาเรื่องอุบัติเหตุทางท้องถนนของประเทศไทย ถือว่าค่อนข้างวิกฤติมีคนเจ็บ คนตาย เฉลี่ยชั่วโมงละ 2คน และทุกคนมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนเหมือนกัน
ที่มา: http://www.thairath.co.th
- 59 views