นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า จากข้อมูลการเฝ้าระวังการบาดเจ็บรุนแรงจากการถูกฟ้าผ่า (Lightning- related injuries) โดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ร่วมกับโรงพยาบาลเครือข่ายการเฝ้าระวังการบาดเจ็บแห่งชาติ 33 แห่ง ซึ่งเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าจำนวนผู้บาดเจ็บรุนแรงจากฟ้าผ่า ระหว่างปีพ.ศ.2551-2555 จำนวน 180 ราย(เฉลี่ยปีละ 36 ราย) และเสียชีวิต46 ราย อัตราเจ็บตาย ร้อยละ 23.89 ในปี พ.ศ.2555 มีผู้บาดเจ็บรุนแรงที่เป็นชาย ร้อยละ 68.3 หากแยกตามอายุพบว่า ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 45-49 ปี รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ 30-34 ปี และอายุ 20-24 ปี ตามลำดับ วันเสาร์เกิดเหตุสูงสุด ร้อยละ 31.43 เวลาที่เกิดเหตุส่วนใหญ่เป็นเวลา 14.00-17.00 น. สถานที่เกิดเหตุส่วนใหญ่เป็นนา ไร่ สวน ดังนั้นการป้องกันอันตรายจากการถูกฟ้าผ่าทำได้ดังนี้ 1.หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ในขณะฝนตกฟ้าคะนอง 2.ห้ามอยู่ใกล้หรือใช้อุปกรณ์ที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า 3.ควรหลบในอาคารที่ติดตั้งสายล่อฟ้า จะช่วยป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าได้ แต่ไม่ควรใช้โทรศัพท์ เปิดคอมพิวเตอร์ เล่นอินเตอร์เนต ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุหรือยู่ใกล้ประตู หน้าต่างที่มีส่วนประกอบเป็นโลหะในขณะฟ้าร้อง4.กรณีอยู่ในรถ ควรปิดกระจกทุกบาน หากฟ้าผ่าลงรถควรตั้งสติไม่ควรออกจากรถโดยเด็ดขาด เพราะกระแสไฟฟ้าที่ไหลตามผิวโลหะของตัวถังรถจะไหลลงสู่พื้นดิน
ที่มา: http://www.naewna.com
- 19 views