ภาคประชาชนห่วงเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู ชี้พาณิชย์กีดกัดสาธารณสุขร่วมถก หวั่นทำไทยเสียเปรียบสิทธิ์เข้าถึงยา บี้ "โอฬาร" แก้ปัญหาด่วน
เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอวอตช์) เปิดเผยว่า การเจรจาเอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรปครั้งแรก ที่จะเริ่มขึ้นในวันจันทร์ที่ 27 พ.ค.นี้ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียมนั้น จะแตกต่างจากการเจรจาเอฟทีเอที่ผ่านๆ มา เพราะฝ่ายไทยต้องการเจรจาอย่างรวบรัดให้เสร็จสิ้นภายใน 2 ปี เพื่อต้องการให้ทันการต่อสิทธิพิเศษทางการค้า หรือจีเอสพี ให้กับสินค้าส่งออกบางตัว ดั งนั้น ประเด็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมักจะเสนอช่วงกลางของการเจรจา จึงถูกหยิบยกขึ้นมาในการเจรจารอบแรกนี้
"ความน่าห่วงใยอยู่ที่กระ ทรวงพาณิชย์พยายามจำกัดบท บาทของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อย่างมาก แม้จะให้ดูเนื้อหาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับยาและเวชภัณฑ์ก็จริง แต่โดยเนื้อแท้ดูเฉพาะข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการขยายอายุสิทธิบัตรผูกขาด อันเนื่องจากความล่าช้าในการขึ้นทะเบียนยา และหัวข้อการผูกขาดข้อมูลทางยาเท่านั้น" น.ส.กรรณิการ์ระบุ
ทั้งนี้ 2 ประเด็นดังกล่าวไม่ใช่ความมุ่งหมายที่แท้จริงของสหภาพยุโรป (อียู) เพราะอียูได้ยอมยกเลิกข้อเรียกร้องดังกล่าวกับอินเดียไปแล้ว หากฝ่ายไทยไหว ตัวไม่ทัน ยอมตามข้อเรียกร้องนี้ เขาก็กำไร แต่ความมุ่งหมายจริง อยู่ที่การยกระดับการบังคับใช้กฎ หมายให้เข้มข้นมากขึ้นในหมวดย่อย การบังคับให้เป็นไปตามสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งมาตรการ ณ จุดผ่านแดน ซึ่งอียูต้องการให้มีการยึดจับยาที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา อย่างไรก็ตาม ข้อเรียกร้องดังกล่าวอาจนำไปสู่การยึดจับยาชื่อสามัญ และทำลายผู้ผลิตยา ชื่อสามัญด้วยการกล่าวหาที่ไม่เป็น ธรรม ดังนั้นต้องไม่ยอมรับข้อเรียกร้องดังกล่าว แล้วเสนอเนื้อหาที่ สร้างความสมดุลระหว่างการคุ้ม ครองผู้ทรงสิทธิ์และสร้างความเป็นธรรมให้ผู้ถูกกล่าวหา
น.ส.กรรณิการ์กล่าวด้วยว่า อียูแสดงเจตจำนงอย่างชัดเจนที่จะยกเลิกสิทธิ์บางประการของหน่วยราชการในการจัดหายาจำ เป็นที่มีคุณภาพ มาตรการด้านราคาและการเบิกจ่ายค่ายา ตลอด จนการเข้าถึงยาเพื่อเป็นหลักประ กันสุขภาพถ้วนหน้า ในการเจรจาหัวข้อ Government Procurement และยังมีความต้องการกลไกการ ระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอก ชน ครอบคลุมยาและเวชภัณฑ์ด้วย
"น่าวิตกมาก เพราะเนื้อหาใหญ่ๆ และต้องอาศัยความรู้ เฉพาะด้านในการจัดระบบยาและ เวชภัณฑ์เช่นนี้ เจ้าหน้าที่ อ.ย.ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมเจรจา แต่กลับตกอยู่ในความดูแลของกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการต่างประเทศเท่านั้น จึงขอตั้ง ข้อสังเกตให้ ดร.โอฬาร ไชยประวัติ หัวหน้าคณะเจรจาพิจารณาแก้ไขปัญหานี้ด้วย" ผู้ประสานงานกลุ่มเอฟทีเอวอตช์กล่าว
ด้านนายจักรชัย โฉมทองดี รองประธานเอฟทีเอวอตช์ ได้ตั้งข้อสังเกตถึงการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อแก้ไขประเด็นอ่อนไหว, ปัญหาอุปสรรคในการเจรจาเอฟทีเอ ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมานั้น จากเดิมตกลงจะประชุมทุก 2 สัปดาห์ แต่จนถึงขณะนี้ประชุมไปได้เพียงครั้งเดียว จึงอยากให้กระทรวงพาณิชย์จริงใจที่จะทำให้การเจรจาครั้งนี้เป็นประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 27 พฤษภาคม 2556
- 3 views