'หมอประดิษฐ'ชี้ชมรมแพทย์ชนบทร้องตรวจสอบจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดกว่า 8 หมื่นเครื่อง ใช้งบ 147 ล้าน เป็นสิทธิทำได้ ยันดำเนินการตามระเบียบทุกขั้นตอน
จากกรณีชมรมแพทย์ชนบทยื่นหนังสือให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตรวจสอบโครงการส่งเสริมศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อาจไม่ชอบมาพากลในการสั่งซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดกว่า 8 หมื่นเครื่อง ใช้งบประมาณ 147 ล้านบาท โดย สธ.โอนเงินให้จังหวัดต่างๆ ไปดำเนินการเอง นอกจากนี้ ยังเข้าร้องเรียนต่อสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินให้ตรวจสอบรัฐมนตรีว่าการ สธ.ใช้อำนาจที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทั้งปรับเปลี่ยนค่าตอบแทน และการสนับสนุนนโยบายเมดิคัล ฮับนั้น
เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการ สธ. กล่าวว่า ถือเป็นสิทธิที่ใครก็สามารถร้องดีเอสไอให้ตรวจสอบหากมีหลักฐานเพียงพอ ซึ่งเรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับดีเอสไอในการพิจารณาว่าจะต้องเรียกใครชี้แจงหรือไม่ ซึ่งหากเรียกมาทาง สธ.ก็พร้อมให้ข้อมูล โดยในเรื่องการจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดนั้น อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เท่าที่ทราบก็มีการดำเนินการตามระเบียบทุกขั้นตอน แต่หากมีใครที่คิดว่ามีความไม่ชัดเจน ตนก็มองว่าเป็นเรื่องดีในการตรวจสอบ เพราะความถูกต้องจะกระจ่างออกมาเอง
"สำหรับประเด็นที่ไปร้องผมว่าสนับสนุนหรือเอื้อนโยบายศูนย์กลางการให้บริการทางการแพทย์ หรือเมดิคัล ฮับนั้น นโยบายนี้เป็นนโยบายของรัฐบาล ก็ต้องมีการสนับสนุน แต่ไม่ได้ไปสนับสนุนเกินเลยถึงขนาดอุ้มภาคเอกชน ยิ่งการไปเชื่อมโยงกับเรื่องการปรับปรุงค่าตอบแทน ยิ่งไม่ใช่ คนละประเด็น ที่ผ่านมาก็มีการพูดว่าผมเป็นหมอเอกชน การออกนโยบายก็อิงเอกชน ต้องถามกลับว่าหมอเอกชนคืออะไร ผมเป็นหุ้นส่วนโรงพยาบาลเอกชนหรือไม่ หรือมีหุ้นในบริษัทยาหรือกลับว่าหมอเอกชนคืออะไร ผมเป็นหุ้นส่วนโรงพยาบาลเอกชนหรือไม่ หรือมีหุ้นในบริษัทยาหรือไม่ หากจะว่ากล่าวกันก็ต้องมีหลักฐาน ไม่เช่นนั้นเรื่องก็จะเข้าตัวผู้พูดเอง แต่หากมองในแง่ดี การที่มีคนไปร้องเรียนก็ดีเหมือนกัน ทุกอย่างจะได้ชัดเจน" นพ.ประดิษฐกล่าว
นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ รองอธิบดี สบส. กล่าวว่า โครงการจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดเป็นหนึ่งในโครงการส่งเสริมศักยภาพ อสม. ซึ่งมองว่าปัญหาโรคเบาหวานมีมากขึ้น ปัจจุบันมีผู้ป่วยเบาหวาน 3-4 ล้านคน พบว่า ร้อยละ 33 ป่วยโดยไม่รู้ตัว ด้วยเหตุนี้จึงเห็นว่าควรทำงานเชิงรุกป้องกันโรคก่อน โดยให้ อสม.เข้าไปคัดกรองผู้ป่วย ทำให้เกิดโครงการดังกล่าวขึ้น ซึ่งเรื่องนี้มีระเบียบรองรับและได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพ ทั้งสภาเทคนิคการแพทย์ และแพทยสภา โดยการอนุญาตให้ อสม.ดำเนินการเจาะเลือดตรวจหาเบาหวานนั้น ทางแพทยสภาได้ทำหนังสือรับรอง และส่งเรื่องมายัง สบส.ตั้งแต่ปี 2553 ขณะที่สภาเทคนิคการแพทย์ก็เห็นชอบให้ดำเนินการได้ในปี 2554 และได้จัดทำร่างระเบียบการดำเนินการของ อสม.มาให้ สบส.แล้ว ซึ่งทั้งหมดมีกฎหมายรองรับทั้งสิ้น
"สำหรับร่างระเบียบในการดำเนินการเรื่องนี้ สบส.ได้ส่งเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการปรับปรุงพัฒนากฎหมาย อสม. เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมาแล้ว เหลือเพียงส่งมอบให้ทางปลัด สธ.พิจารณา ก่อนให้รัฐมนตรีว่าการ สธ.ลงนามเห็นชอบประกาศใช้ต่อไป" รองอธิบดี สบส.กล่าว และว่า ส่วนที่ตั้งข้อสงสัยว่ามีการโอนงบประมาณให้จังหวัดต่างๆ พิจารณาซื้อเองนั้น เนื่องจากแต่ละจังหวัดมีความต้องการซื้อไม่เหมือนกัน ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการต่อรองในการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง หรือทีโออาร์ โดยแต่ละจังหวัดจะต้องดำเนินการตามกรอบระเบียบพัสดุสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ แต่ประเด็นคือ ขณะนี้ยังไม่มีจังหวัดไหนทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างแม้แต่รายเดียว เนื่องจากเมื่อเกิดข้อสงสัยลักษณะนี้ แต่ละพื้นที่ก็กังวล ไม่กล้าดำเนินการ ทั้งๆ ที่หากดำเนินการก็ไม่ได้ผิดระเบียบ ทั้งระเบียบพัสดุและข้อกำหนดวิชาชีพ
ทางด้าน นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัด สธ. กล่าวถึงกรณีน้ำเกลือที่องค์การเภสัชกรรม (อภ.) นำเข้าจากต่างประเทศในช่วงที่ประเทศไทยประสบมหาอุทกภัยในปี 2554 ซึ่งขณะนี้ยังเหลืออยู่ในสต๊อกของ อภ.ว่า ในช่วงปี 2554 ประเทศไทยเกิดมหาอุทกภัยทำให้โรงงานผลิตเหลืออยู่ในสต๊อกของ อภ.ว่า ในช่วงปี 2554 ประเทศไทยเกิดมหาอุทกภัยทำให้โรงงานผลิตน้ำเกลือบางแห่งถูกน้ำท่วม ไม่สามารถผลิตน้ำเกลือได้เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ สธ.จึงร่วมกับ อภ.และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเกลือ โดยสำรวจความต้องการใช้น้ำเกลือของโรงพยาบาลในสังกัด และให้โรงงานปรับแผนเพิ่มการผลิตน้ำเกลือในรายการที่โรงพยาบาลมีความต้องการใช้สูง แต่ก็ยังไม่เพียงพอ จึงให้ อภ.นำเข้ามาจากต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศอินเดีย เวียดนาม มาเลเซีย จีน ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย ตั้งแต่เดือนกันยายน 2555 ซึ่งโรงพยาบาลในสังกัดบางแห่งได้สั่งซื้อไปแล้ว
นพ.โสภณกล่าวต่อว่า สำหรับน้ำเกลือที่ยังเหลือ สธ.ได้ขอให้ อภ.ตรวจสอบน้ำเกลือใน บางล็อต เนื่องจากได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ผู้ใช้ในโรงพยาบาลว่าภาชนะบรรจุน้ำเกลือค่อนข้างนิ่มกว่าปกติ ไม่สะดวกในการใช้งาน และยังใช้แถบสติ๊กเกอร์ติดบอกระดับด้านข้าง ทำให้อาจคลาดเคลื่อน โดยเฉพาะการปรับปริมาณน้ำเกลือให้ผู้ป่วยมีความยุ่งยาก ซึ่งหากผลตรวจสอบ พบว่ามีรายการใดที่ไม่ได้มาตรฐาน ขอให้ประสานส่งคืนบริษัทผู้ผลิต เพื่อเพิ่มความมั่นใจในคุณภาพมาตรฐานแก่โรงพยาบาล และคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน ขณะเดียวกันได้ขอความร่วมมือเขตบริการสุขภาพทั้ง 12 เขต วางแผนการสั่งซื้อน้ำเกลือจาก อภ. ซึ่งจะสามารถ ใช้น้ำเกลือล็อตนี้หมดภายใน 5 ปี ก่อนหมดอายุอย่างแน่นอน เพราะจากข้อมูลการใช้น้ำเกลือที่ผ่านมา ในประเทศมียอดการใช้ประมาณปีละ 100 ล้านถุง ในจำนวนนี้เป็นการใช้ในโรงพยาบาลสังกัด สธ. ร้อยละ 50-60 หรือประมาณ 50-60 ล้านถุง
--มติชน ฉบับวันที่ 12 พ.ค. 2556 (กรอบบ่าย)--
- 15 views