กระทรวงสาธารณสุขหึ่งอีก! ชมรมแพทย์ชนบทเตรียมยื่นหลักฐานให้ สตง.ตรวจสอบ ใช้งบ 147 ล้านบาทสั่งซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดแจก อสม.ทั่วประเทศ ส่อไปทางทุจริต โดยมีหลายจังหวัดเริ่มกระบวนการจัดซื้อแล้ว คาดจะมีการหักหัวคิวสูงถึง 40 เปอร์ เซ็นต์ ย้อนรอยยุคทุจริตยา 1,400 ล้าน ขณะที่ปลัด สธ.อ้างมีมติสั่งชะลอ
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท เผยว่า วันพุธนี้จะยื่นเอกสารต่อ สตง.ถึงความไม่ชอบมาพากลในการสั่งซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด 81,685 เครื่อง เพื่อแจก อสม.ทั่วประเทศ ในราคาเครื่องละ 1,800 บาท รวมเป็นเงิน 147,033,000 บาทนั้น ซึ่งส่อไปทางทุจริตครั้งใหญ่ เพื่อเตรียมพร้อมฮุบเงินหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกว่าแสนล้านบาท จากเดิมที่เป็นไปตามสิทธิของประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้อยู่ภายใต้อำนาจการจัดสรรในระดับเขต กระทรวงสาธารณสุขในท้ายที่สุด และอาจนำไปสู่การทุจริตครั้งใหญ่ไม่แพ้กรณีทุจริตยา 1,400 ล้านอย่างแน่นอน
นพ.เกรียงศักดิ์กล่าวต่อว่า ความไม่ชอบมาพากลครั้งนี้ เริ่มจากเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 กระทรวงสาธารณสุขจัดสรรเงินและสั่งให้จังหวัดต่างๆ มีการซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลแจก อสม.ทั้ง 76 จังหวัด ใน 2 กลุ่มคือ ตำบลนำร่องและตำบลจัดการสุขภาพ ตำบลละ 15 ชุด รวม 27,375 ชุด และตำบลทั่วไป ตำบลละ 5,431 ตำบล รวม 5,431 ชุด รวมทั้งสิ้น 81,685 ชุด 147,033,000 บาท
"ความผิดปกติคือในปัจจุบันโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งประเทศ ไม่มีใครเขาซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลกันแล้ว เหมือนการเลิกซื้อเครื่องถ่ายเอกสาร แต่ใช้ระบบเช่าแทน และคิดราคาตามค่าถ่ายเอกสาร เป็นต้น"
ประธานชมรมแพทย์ชนบทกล่าวว่า ในปัจจุบันโรงพยาบาลต่างๆ ใช้วิธีการซื้อแผ่นตรวจน้ำตาลแล้วแถมเครื่องกันทั้งสิ้น ซึ่งราคา จัดซื้อมีตั้งแต่แถบละ 5-7 บาท โดยแถมเครื่องจัดซื้อมีตั้งแต่แถบละ 5-7 บาท โดยแถมเครื่องไม่จำกัด เช่น ใช้ในการแจกให้สถานีอนามัย และหากซื้อเครื่องไปแล้วจะทำให้รัฐต้องตกเป็นทาสของบริษัทนั้นๆ โดยต้องใช้แถบตรวจน้ำตาลของบริษัทนั้นๆ และขึ้นอยู่กับเขาจะกำ หนดราคาแถบตรวจน้ำตาลมา เช่น อบจ.จัง หวัดใหญ่แห่งหนึ่งในภาคอีสานจัดซื้อเครื่องตรวจน้ำตาลของบริษัทหนึ่งในราคาชุดละ 2,500 บาท (รวมอุปกรณ์อื่นเล็กน้อย) เมื่อแถบตรวจที่แถมมาจำนวน 30-50 แถบหมดไป เครื่องนี้ก็หมดสภาพ เลยต้องจัดซื้อแถบตรวจน้ำตาลแจกใหม่กว่า 600,000 แถบ ในราคา 11 บาทต่อแถบ และบริษัทที่เข้าไปทำตลาดก็เป็นบริษัทเดียวกับที่ขายให้ อบจ.ในภาคอีสานดังกล่าวด้วย
"ดังนั้นการดำ เนินการในลักษณะนี้ จึงส่อไปในความไม่ชอบ มาพากล และอาจมีการขอเงินทอนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40"
เขากล่าวว่า ที่ สำคัญกระทรวงสาธารณสุขมีหน่วยงานกองประกอบโรคศิลปะดูแลมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรม กลับกำลังพยายามแจกเครื่องตรวจน้ำตาลที่ต้องมีการเจาะเลือดผู้ป่วย ที่ในทางการแพทย์ถือ เป็นวิธีรุนแรง (Invasive) ที่ต้องมีการควบคุมมาตรฐานอย่างเคร่งครัด และอสม.เป็นเพียงชาวบ้านธรรม ดา ไม่สามารถยกระดับไปตรวจคนอื่นได้ ยกเว้นเจาะให้ตนเองเท่านั้น ทั้งที่สภาเทคนิคการแพทย์ได้มีมติทักท้วงแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ยังมีการสั่งให้จัดซื้อก่อน แล้วค่อยหาทางแก้กฎหมาย แสดงให้เห็นว่ามีความตั้งใจในการที่ดำเนินการเรื่องนี้อย่างชัดเจน
"ขณะนี้หลายจังหวัดเริ่มกระบวน การจัดซื้อไปมากแล้ว เช่นจังหวัดที่ได้รับงบ ประมาณเกินกว่า 2 ล้านบาท ต้องใช้วิธี การ e-auction ก็ได้มีกระบวนการกำหนด TOR ไปแล้วหลายจังหวัด เช่น เชียงราย การ e-auction ก็ได้มีกระบวนการกำหนด TOR ไปแล้วหลายจังหวัด เช่น เชียงราย นครพนม นครราชสีมา อุบลราชธานี เป็นต้น ส่วนจังหวัดที่วงเงินต่ำกว่า 2 ล้าน ใช้วิธีสอบราคาที่สอบราคาเสร็จแล้วคือจังหวัดอำนาจเจริญ และกำลังอยู่ระหว่างยื่นซองคือจังหวัดอ่างทอง"
นพ.เกรียงศักดิ์กล่าวด้วยว่า จากการสอบถาม นพ.สสจ.บางท่าน แสดงอาการอึดอัดใจอย่างชัดเจน เนื่องจากทราบดีว่าเครื่องลักษณะนี้ไม่มีใครเขาซื้อกัน มีแต่ซื้อแถบตรวจน้ำตาลแถมเครื่องเท่านั้น บางคนก็ใช้วิธีการถ่วงเวลา แต่บางคนถูกเร่งรัดจากเบื้องบนมาจึงต้องตอบสนองไป ทำให้ส่อให้เห็นว่าไม่อาจ ไว้วางใจให้กระทรวงสาธารณสุขเข้ามามี อำนาจทางการจัดสรรเงินย้อนยุคไปเหมือน กรณีทุจริตยา 1,400 ล้านเป็นอันขาด
ด้าน นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และอยากให้ปลัดเป็นผู้รายงานข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร ตนมีส่วนในการจัดซื้อจัดจ้างอย่างไร
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า มีการหารือถึงการจัดซื้อเครื่องมือวัดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งการจัดซื้อเครื่องมือดังกล่าวเป็นงบประมาณของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพจำนวน 153 ล้านบาท และดำเนินการขออนุมัติตั้งแต่ปี 2555 ให้กับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เป็นผู้ดูแล ซึ่ง สสจ.ได้สะท้อนปัญหาหลายว่าจะผิดระเบียบการจัดซื้อหรือไม่ ที่ประชุมจึงมีมติให้ชะลอการจัดซื้ออุปกรณ์ดังกล่าว
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 24 เมษายน 2556
- 40 views