น.พ.เฉลิม หาญพานิชย์ ประธานและซีอีโอ บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) และนายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน เปิดเผยกับาฐานเศรษฐกิจำ ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับการแพทย์ไทย เมื่อมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 และแนวโน้มของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในประเทศ
ผลกระทบที่จะเกิดข้นกับการแพทย์ไทยเมื่อมีการเปิด AEC และแนวโน้มโรงพยาบาลเอกชน จะเป็นอย่างไร
เมื่อ AEC เกิดขึ้น การลงทุนและเงินต่างประเทศจะเข้ามาลงทุน โรงพยาบาลไทยจำเป็นต้องรวมตัวเป็นกลุ่มเป็นก้อนมากขึ้นเรียกว่า "Multi Hospital System" ซึ่งจะทำให้กลุ่มการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลำบากมากขึ้น เนื่องจากการเจริญเติบโตของกลุ่มโรงพยาบาล มี 2 แบบ คือการเข้าไปซื้อกิจการ กับสร้างโรงพยาบาลใหม่ ซึ่งขณะนี้มีกลุ่มโรงพยาบาลอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ 14 กลุ่ม มีขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้าง ทำให้การดำเนินการธุรกิจโรงพยาบาลของประเทศค่อนข้างที่จะซับซ้อนมาก จึงทำให้มีผู้ประกอบการรายใหม่ ที่คิดจะลงทุนในธุรกิจประเภทนี้อยู่น้อย
ส่วนโรงพยาบาลเดี่ยวๆ ขนาดเล็ก จะต้องปรับตัว ถ้าไม่รวมตัวกัน ต้องหันไปจับตลาดเฉพาะทาง หรือ "Niche Market" มากขึ้น เช่น โรงพยาบาลที่เชี่ยวชาญโรคเฉพาะกลุ่ม อีกทั้งต้องปรับตัวทำให้คนที่จะมาใช้บริการเข้าถึงได้ง่ายขึ้นถึงจะสามารถอยู่รอดได้
เนื่องจากการแพทย์ของประเทศเรามีจดแข็งอยู่ 3 ประการคือ 1. แพทย์มีความสามารถสูง 2. ราคาไม่สูง และ 3. มีการรับรองคนไข้ที่ดี จึงทำให้เมื่อมีการเปิด AEC จะมีการไหลเวียนของประชากรในกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น เป็น 600 ล้านคน แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยต้องยังมีข้อกำจัดทางการแพทย์อยู่หลายประการ
ข้อจำกัดของการแพทย์ไทยที่ผ่านๆ มามีทางด้านไหนบ้าง
ประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากร ทางการแพทย์อยู่มาก ปัจจบันแพทย์ไทยมี 3 คนต่อ 1 หมื่นคน เป็นอันดับ 7 ของประเทศอาเซียน ซึ่งยังน้อยกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสิงคโปร์ ซึ่งมีจำนวนแพทย์ 20 คนต่อ 1 หมื่นคนอยู่มาก บวกความต้องการทางการแพทย์ที่มากขึ้น นอกจากการรับรองประชากรในประเทศแล้ว ยังมีจำนวนผู้สูงอายุและนักท่องเที่ยว ทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น
จุดอ่อนอีกจุดหนึ่งของประเทศ ไทย คือโรงพยาบาลต่างๆนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์เกือบ 100% ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วประเทศไทยมีวัตถุดิบในการผลิตอยู่แล้ว ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มีระบบการค้นคว้าที่ชัดเจน ไม่มีการสร้างนวัตกรรมการแพทย์ของเราเอง ไม่มีระบบการเก็บคลังสุขภาพ ทำให้เวลาเกิดปัญหาเครื่องมือทางการแพทย์ขาด แคลนจะทำให้ไทยประสบกับปัญหาได้ ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ประเทศไทยประสบกับปัญหาน้ำเกลือขาดแคลนเนื่องจากโรงงานน้ำเกลือปิดไป 3 แห่ง
จากผลการสำรวจประเทศไทยมีจำนวนหมอที่ประจำการเพียง 2 หมื่นคน และเราสามารถผลิตแพทย์ได้เพียง2 พันคนต่อปี ซึ่งปัญหาเช่นนี้ต้องการที่จะให้ทุกกระทรวงและทุกหน่วยงานรับรู้ความต้องการของประเทศและมองปัญหาภาพใหญ่ภาพเดียวกัน
การแพทย์ไทยจำเป็นต้องปรับตัวด้านใดบ้าง
รัฐบาลจำเป็นต้องผลักดันการแพทย์ให้พร้อมสู่การรับมือกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยใช้ 3 กลยุทธ์ คือ 1. มีผลิตบุคลากรทางด้านสาธารณสุขให้เพียงพอ แหล่งผลิตเราดีหมอคนต่อคนนี่เราเก่ง เป็นที่ยอมรับได้ แต่จำนวนมันน้อย ในความเป็นจริงแล้วการแพทย์ไทยมีแหล่งผลิตที่มีคุณภาพอยู่หลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยการแพทย์ และคณะแพทยศาสตร์ต่างๆ ทางรัฐก็ต้องไปสนับสนุนแหล่งผลิตให้เพิ่มจำนวนผลิตที่คุณภาพดี จึงจำเป็นที่จะต้องเร่งผลักดันการเป็น "Medical Educational Hub" ศูนย์การศึกษาทางการแพทย์ของภูมิภาคอาเซียน โดยเน้นไปผลิตบุคลากรในประเทศ และสามารถจะเป็นผู้นำในทางศึกษาทางการแพทย์ในกลุ่มประเทศ CLMV คือ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนามได้ 2. ประเทศไทยควรจะมีงบค้นคว้าและพัฒนา หรือวิเคราะห์วิจัยให้มากขึ้น สิ่งที่เรากำลังเสนอว่าอะไรบางอย่างที่เป็น R&D เพื่อมา supply สิ่งที่ต้องใช้จริงเพราะในกลุ่มโรงพยาบาลต่างๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์ทาง การแพทย์ เช่น ถุงมือยาง เตียงไฟฟ้า เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ 3.ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายสุขภาพหรือ "National Health Authority" ภาครัฐจำเป็นที่จะต้องตั้งทีมบริหารระดับหัวแถวมาบริหารจัดการระบบสุขภาพเป็นแบบองค์รวม ซึ่งมีท่านนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน แล้วจะมีตัว แทนกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณ สุข กรมบัญชีกลางมาบริหารกองทุนผู้ซื้อบริการ และกระทรวงศึกษาธิ การเข้ามารับรู้ถึงจำนวนความต้อง การของบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องการที่แน่ชัด
อย่างไรก็ตามหากประเทศ ไทยไม่สามารถผลิตบุคลากรทางการแพทย์ได้ทัน มีความเป็นไปได้ที่จะต้องมีการจ้างแพทย์จากกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์เป็นต้น แต่แพทย์เหล่านี้ต้องผ่านสอบใบประกอบโรคศิลป์ที่เป็นภาษาไทยได้เสียก่อน
การเปิด AEC จะมีผลต่อระบบการประกันสุขภาพอย่างไร
ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีมากขึ้นและแรงงานที่จะหลั่งไหลเข้ามาทำงานในประเทศไทยมากขึ้น รัฐ บาลควรผลักดันเรื่องประกันสุขภาพของกลุ่มคนเหล่านี้ อย่างนักท่องเที่ยวสูงอายุ ที่จะมาอยู่ long stay ว่ามีการทำประกันสุขภาพอย่างไร ต้องเป็นบริบทที่ชัดเจน ทุกคนต้องมีเจ้าภาพผ่านองค์กรพวกนี้หมด รัฐบาลสามารถที่จะจัดเตรียมให้นักท่องเที่ยวเหล่านี้ได้ จะผ่านกองทุนพื้นฐานในประเทศหรือไปบริษัทประ กันของเอกชนก็ได้ เพื่อที่โรงพยาบาลจะไม่ประสบปัญหาการเก็บเงินที่ไม่เป็นระบบ
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 31 มี.ค. - 3 เม.ย. 255
- 60 views