สธ.ส่งเลขาฯรัฐมนตรีร้องดีเอสไอ ให้สอบ อภ.ส่อทุจริต 2 โครงการ ซื้อวัตถุดิบยาพาราฯ-สร้าง รง.ผลิตวัคซีน เหตุเภสัชกรรมทหารพบมีปัญหาปนเปื้อน ต้องส่งคืนบริษัทผู้ผลิต ขณะที่การก่อสร้างโรงงานยังไม่แล้วเสร็จ มีการแก้ไขสัญญา ขยายเวลาให้ผู้รับเหมา อาจเข้าข่ายความผิด กม.ฮั้ว
เมื่อวันที่ 27 มีนาคม รายงานข่าวจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ แจ้งว่า วันที่ 28 มีนาคมนี้ เวลา 10.00 น. นายกมล บันไดเพชร เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนกับนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ให้ตรวจสอบการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีน วงเงิน 1.4 พันล้านบาท ซึ่งมีกำหนดก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2552 สิ้นสุดวันที่ 28 มกราคม 2556 แต่ปรากฏว่ายังสร้างไม่เสร็จ และให้ตรวจสอบการสั่งซื้อวัตถุดิบผลิตยาพาราเซตามอล ที่ส่อว่าอาจจะมีการทุจริต
ข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้านี้มีการประสานงานจาก สธ.ให้ดีเอสไอเข้าไปตรวจสอบเบื้องต้นในทั้ง 2 เรื่องนี้แล้ว พบข้อพิรุธน่าสงสัยหลายประเด็นที่จะส่อไปในทางทุจริต จึงได้รายงานผลไปยังรัฐมนตรี สธ. ให้มายื่นเรื่องอย่างเป็นทางการ เพื่อดีเอสไอจะได้ลงไปสอบสวนเชิงลึกอย่างเป็นระบบ
"ที่ สธ.ขอให้ดีเอสไอตรวจสอบการจัดซื้อวัตถุดิบยาพาราเซตามอล ขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) เนื่องจากปรากฏข่าวเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ วัตถุดิบยาพาราเซตามอล ขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) เนื่องจากปรากฏข่าวเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ว่าโรงงานเภสัชกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร กระทรวงกลาโหม ได้ตรวจวิเคราะห์วัตถุดิบในการผลิตยาเม็ดพาราเซตามอล เพื่อที่จะส่งมอบให้แก่ อภ. พบว่าวัตถุดิบหลายล็อตมีปัญหา ต้องส่งคืนให้แก่บริษัทผู้ผลิต ซึ่งในช่วงระหว่างปี 2554-2555 พบว่ามีวัตถุดิบมีปัญหาถึง 19 ล็อต และเป็นวัตถุดิบที่มาจากแหล่งเดียวกันกับแหล่งที่ อภ.ซื้อ หรือบางส่วนได้รับมาจาก อภ.สำรองไว้ นอกจากนี้ อภ.ยังมีวัตถุดิบพาราเซตามอลที่มาจากแหล่งดังกล่าวอีกประมาณ 148 ตัน เนื่องจากการปรับปรุงส่วนโรงงานการผลิตยาเม็ดพาราเซตามอลของ อภ.ยังไม่แล้วเสร็จ และคาดว่าจะเสร็จภายในเดือนมีนาคมนี้" แหล่งข่าวกล่าว
รายงานข่าวแจ้งว่า กรณี อภ.จัดซื้อวัตถุดิบพาราเซตามอลสำรอง 148 ตัน มีการจัดซื้อ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2554 จำนวน 48 ตัน และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 จำนวน 100 ตัน ต่อมาโรงงานเภสัชกรรมทหารประสบปัญหาด้านวัตถุดิบ จึงขอให้ อภ.เป็นผู้จัดหาวัตถุดิบพาราเซตามอลมอบให้แก่โรงงานเภสัชกรรมทหาร ซึ่ง อภ.ได้ส่งมอบวัตถุดิบให้แก่โรงงานเภสัชกรรมทหารเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2556 จำนวน 5 ตัน และเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2556 จำนวน 5 ตัน ต่อมาจึงมีข่าวปัญหาปนเปื้อนในยาพาราเซตามอล
"จากข้อเท็จจริงดังกล่าว อภ.พิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินการจัดซื้อวัตถุดิบยาพาราเซตามอล ของ อภ. อาจมีการทุจริตในการจัดหาผู้ขาย หรือการตรวจรับวัตถุดิบยาพาราเซตามอลของคณะกรรมการ และอาจส่งผลให้ยาพาราเซตามอลที่ผลิตออกมาไม่ได้มาตรฐาน เป็นเหตุให้ประชาชนผู้บริโภคได้รับอันตรายจากสารปนเปื้อน ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย จึงขอให้ดีเอสไอ พิจารณาดำเนินการตรวจสอบต่อไป" แหล่งข่าวกล่าว
ส่วนปัญหาโครงการจัดตั้งโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ / ไข้หวัดนก ที่ ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ของ อภ.ที่ สธ.ขอให้ดีเอสไอเข้าตรวจสอบนั้น สธ.ได้ตั้งข้อสังเกตว่า สัญญาที่ 1 จ้างก่อสร้าง ส่วนที่ 1 อาคารผลิต อาคารบรรจุ อาคารประกันคุณภาพและอาคารสัตว์ทดลอง จ้างบริษัท เอ็ม แอนด์ ดับเบิล ยู (ไทยแลนด์) วงเงิน 321 ล้านบาท, สัญญาที่ 2 จ้างก่อสร้าง ส่วนที่ 2 อาคารระบบสนับสนุนกลาง จ้างบริษัทสเตพไวส์ จำกัด วงเงิน 106,786,000 บาท
ขณะที่การจ้างที่ปรึกษาออกแบบ สัญญา 1 จ้างออกแบบโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ มาตรฐาน WHO-GMP (อาคารบรรจุ) จ้างบริษัท คลีนแอร์ โปรดักท์ จำกัด และบริษัท เอ็นจิเนียริ่ง เทคโนโลยี คอน(อาคารบรรจุ) จ้างบริษัท คลีนแอร์ โปรดักท์ จำกัด และบริษัท เอ็นจิเนียริ่ง เทคโนโลยี คอนซัลแตนท์ จำกัด วงเงิน 2,182,800 บาท, สัญญาที่ 2 จ้างออกแบบ โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ มาตรฐาน WHOGMP (อาคารระบบ สนับสนุนส่วนกลางไฟฟ้า น้ำสุขาภิบาล ซ่อมบำรุงและอื่นๆ ) จ้างบริษัท คอนซัลแตนท์ ออฟ เทคโนโลยี จำกัด วงเงิน 2,411,000 บาท
สัญญาที่ 3 จ้างออกแบบ โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ มาตรฐาน WHO-GMP (อาคารประกันคุณภาพและสัตว์ทดลอง) จ้างบริษัท สแปน คอนซัลแตนท์ จำกัด และ บริษัท ไอ อีซีเอ็ม จำกัด วงเงิน 2,107,900 บาท, สัญญาที่ 4 จ้างออกแบบ โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ มาตรฐาน WHO-GMP (อาคารผลิต) จ้างบริษัท ไดนามิค เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด และ Technicat Competence Teample.Ltd วงเงิน 2,499,000 บาท
"ต่อมามีการแก้ไขสัญญางานก่อสร้าง โดยแก้ไขฐานราก จากเดิมกำหนดให้ใช้ฐานแผ่เป็นแบบฐานตอก มีการแก้ไขแบบ โดยยกระดับอาคารให้สูงขึ้น และมีการเพิ่มเงิน รวมทั้งมีการขยายระยะเวลาการก่อสร้าง โดยเพิ่มระยะเวลาการก่อสร้างให้กับผู้รับจ้าง มีการแก้ไขกระบวนการผลิต เดิมมีการกำหนดให้ผลิตวัคซีนเป็นแบบเชื้อตาย ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงเป็นแบบเชื้อตายและเชื้อเป็น ซึ่งต้องมีกระบวนการแก้ไขและออกแบบการก่อสร้างและเครื่องมือการผลิตใหม่" แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวว่า ปัจจุบันผู้รับจ้างยังดำเนินการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากต้องเสียเวลาจากการพิจารณาของ อภ.ในการอนุมัติ การแก้ไขสัญญา การขยายระยะเวลาการก่อสร้าง พิจารณาเพิ่มหรือลดวงเงินเป็นเหตุให้ราชการได้รับความเสียหาย ซึ่งจากข้อเท็จจริงดังกล่าว สธ.พิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินการของ อภ. อาจมีการทุจริตในการจัดหาผู้รับจ้าง หรือกระทำโดยไม่ชอบด้วยระเบียบเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง และอาจจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนและให้ความเป็นธรรม จึงขอให้ดีเอสไอพิจารณาดำเนินการตรวจสอบ
แหล่งข่าวจากดีเอสไอ เปิดเผยว่า ปัญหาการก่อสร้างโรงงานวัคซีนดังกล่าว อาจจะมีปัญหาเช่นเดียวกับโครงการก่อสร้างโรงพัก 396 แห่ง ที่มีปัญหาการก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 28 มีนาคม 2556
- 3 views