'กรีซ' เจอวิกฤติขาดแคลนยากว่า 300 ชนิด เหตุบริษัทผู้ผลิตระงับส่งยาให้ เพราะติดหนี้มหาศาล และเกรงว่าจะมีการแอบลักลอบส่งยาไปค้ากำไรในประเทศอื่น
ชาวกรีกกำลังตื่นตระหนกต่อวิกฤติการณ์ขาดแคลนยาหลายร้อยชนิด ขณะที่บริษัทผลิตยาต่าง ๆ ถูกกล่าวหาว่า ระงับการส่งยาไปจำหน่ายในกรีซ เนื่องจากได้กำไรน้อย และประสบปัญหาการค้างชำระ
กรีซ กำลังเผชิญสถานการณ์ขาดแคลนยาอย่างรุนแรง ขณะที่บริษัทผลิตยาข้ามชาติ ต่างระงับการจัดส่งยาไปยังกรีซ เนื่องจากกรีซกำลังเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจและเกิดความวิตกว่า ยาของพวกเขาอาจถูกพ่อค้าคนกลาง หวังผลกำไร ด้วยการจัดส่งไปจำหน่ายในประเทศอื่นในยุโรป ที่ให้ราคาสูงกว่า
หน่วยงานที่กำกับดูแลยาของกรีซ เปิดเผยว่า ยาหลายร้อยชนิด กำลังขาดแคลน และสถานการณ์กำลังเลวร้ายลงเรื่อย ๆ รัรฐบาลได้ร่างรายชื่อของบริษัทยา 50 แห่ง ที่ถูกระบุว่า ระงับหรือมีแผนระงับการส่งยาไปจำหน่ายในกรีซ เนื่องจากราคาต่ำ / ปัจจุบัน มียามากกว่า 200 ชนิด ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติที่เกิดขึ้น ที่รวมถึง ยาที่ใช้ในการรักษาโรคข้ออักเสบ
ไวรัสตับอักเสบ ซี และความดันโลหิตสูง , ยาลดคลอเรสเตอรอล , ยารักษาโรคทางจิตเวช ,ยาปฏิชีวนะ , ยาชา , ยาสลบ และยาปรับภูมิคุ้มกันที่ใช้รักษาโรคลำไส้
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องที่กาชาดสวิส ได้ประกาศเมื่อวันอังคารว่า จัดตัดการส่งเลือดที่ได้รับบริจาคไปให้กรีซ เนื่องจากกรีซจ่ายเงินไม่ตรงเวลา / บรรดาร้านขายยาในกรุงเอเธนส์ ต่างบรรยายภาพเหตุการณ์ความโกลาหล จากการที่ลูกค้าพากันวิ่งเข้าร้านโน้นออกร้านนี้ เพื่อหาซื้อยาตามใบสั่งแพทย์ ที่โรงพยาบาลไม่มีจะจ่ายให้อีกต่อไป / รัฐบาลได้ร่างรายชื่อของบริษัทยาชั้นนำของโลก เช่น ไพเฟอร์ , โรช , ซาโนฟี , แกล็กโซสมิทไคล์น และอัสตร้าเซเนก้า
ไพเฟอร์ , โรช และซาโนฟี่ ต่างระบุว่า ที่ยาไม่กี่ชนิดที่ถูกระงับการส่งไปกรีซ ส่วนแกล็กโซสมิทไคล์น และอัสตร้าเซเนก้า ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหา ด้านศาสตราจารย์ ยานนิส ตวนตัส ประธานของสำนักงานกำกับดูแลยา ขององค์การเวชภัณฑ์แห่งชาติ เปิดเผยว่า บรรดาบริษัทยาต่างระงับการส่งยาไปจำหน่ายในกรีซ เนื่องจากเห็นว่าไม่ทำกำไร และพวกเขาก็เกรงว่า พวกพ่อค้าคนกลางอาจจะส่งออกยาของพวกเขาไปขายต่อในประเทศที่ร่ำรวย เนื่องจากกรีซได้ชื่อว่า ขายยาราคาถูกที่สุดในบรรดา 22 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
ทางสำนักงานกำกับดูแลยา กำลังตรวจสอบบริษัทยา 13 แห่ง ที่ลดการส่งยาให้กรีซ และส่งรายชื่อไปให้กระทรวงสาธารณสุข เพื่อดำเนินการปรับเงินต่อไป แต่ไม่มีการเปิดเผยชื่อของบริษัททั้ง 13 แห่ง เพียงแต่ระบุว่า เป็นบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่
สมาคมเภสัชกรรมแพนเฮลเลนิค ซึ่งเป็นตัวแทนของร้านขายยาในกรีซ ได้ยืนยันว่า กำลังเผชิญการขาดแคลนยาถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ทุกคนตื่นตระหนกและตกอยู่ในความหวาดกลัว และลูกค้าต่างยอมรับว่า พวกเขากลัวจะไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้ตลอดไป และประกันก็จะไม่สามารถก็จะไม่สามารถใช้การได้
มีการเปิดเผยว่า มียาราว 300 ชนิด กำลังขาดแคลน ที่รวมถึงยาที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง และผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารุนแรง ซึ่งน่าเสียดาย ที่บริษัทข้ามชาติมัวคิดถึงแต่ตัวเอง และวิตกแต่เรื่องพ่อค้าคนกลางจะส่งต่อยาไปขายในประเทศยุโรปอื่น ๆ โดยผิดกฎหมาย เพื่อค่าตอบแทนที่สูงกว่า
ร้านขายยาในกรุงเอเธนส์ และเธอสซาโลนิกี้ เมืองใหญ่อันดับที่ 2 ของกรีซ ต้องเผชิญกับลูกค้าที่ล้นหลาม ที่มาขอซื้อยาเพื่อรักษาชีวิตของพวกเขา แต่ละคนอยู่ในอารมณ์หผิดหวังและโกรธแค้นแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะร้านขายยาไม่มียาที่พวกเขาต้องการอยู่ในสต็อค
ปัจจุบัน กองทุนประกันสังคมและโรงพยาบาลในกรีซ เป็นหนี้บริษัทยาประมาณ 1,900 ล้านยูโร หรือราว 74,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ที่ค้างชำระมาตั้งแต่ปี 2554 และบริษัทเหล่านี้ก็ตั้งความหวังว่าจะได้เงินอย่างน้อย 500 ยูโร หรือราว 19,000 ล้านบาทในเดือนนี้
มีบางบริษัทยอมรับว่า ไม่ได้ส่งยาให้กรีซ แต่จากรายชื่อของรัฐบาล ไพเฟอร์ไม่ได้ส่งยา หรือคิดจะไม่ส่งยา 16 ชนิด ให้กรีซ แต่ไพเฟอร์ปฏิเสธว่ามีแค่ 6 ชนิด เนื่องจากเห็นว่ามีทางเลือกอื่น และพบว่ามีการแอบส่งต่อยาไปขายทำกำไรที่ประเทศอื่น ซึ่งยาที่ถูกระงับส่ง มีอยู่ 2 ชนิด ที่ใช้รักษาโรคลูคีเมีย คือ ซาเวดอส และอาราซิติน ที่ระงับส่งตั้งแต่ปีที่แล้ว ส่วนอีก 2 ชนิด คือ ยากล่อมประสาท นิวรอนติน และยารักษาโรคลมชัก อีพานูติน เพิ่งจะระงับไปเมื่อเดือนที่แล้ว
โรช บอกว่า ไม่ได้ระงับการส่งยาให้กรีซ แต่ระงับการส่งยาให้โรงพยาบาลของรัฐบาล เนื่องจากเป็นหนี้อยู่ 200 ล้านยูโร หรือราว 7,800 ล้านบาท / โรชไม่ได้บอกว่า มีกี่โรงพยาบาลที่ได้รับผลกระทบจาการระงับส่งยา ที่แต่ระบุว่า ยังคงขายยาที่จำเป็น ที่รวมถึง ยารักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี และผู้ป่วยที่ปลูกถ่ายอวัยวะ
ทางการกรีซ ได้มีคำสั่งห้ามส่งออกยา 60 ชนิด ไปค้ากำไรในประเทศอื่น และกำลังพิจารณาเพิ่มอีก 300 ชนิด ผู้ค้าส่ง 10 ราย และร้านขายยา 260 แห่ง กำลังตกเป็นเป้าของการตรวจสอบว่ากำลังละเมิดข้อห้าม ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมมาตรการลงโทษ ที่มีตั้งแต่ปรับเงินไปจนถึง 2,000 - 20,000 ยูโร หรือราว 78,000 - 780,000 บาท
ที่มา: http://www.komchadluek.net
- 32 views