การรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพ นับเป็นหนึ่งในบริการที่ไทยมีศักยภาพอยู่ในระดับชั้นแนวหน้า ของภูมิภาคนี้ แต่ละปีดึงรายได้เข้าประเทศ นับแสนล้านบาท จึงจำเป็นต้องได้รับ การสนับสนุนจากรัฐบาลและทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการต่อยอด และที่สำคัญต้องไม่กระทบต่อระบบการรักษาพยาบาล ของคนในประเทศ
การจัดตั้ง "เมดิคัล ท็อป ทีม" (Medical Top Team) จึงได้ถูกนำเสนอขึ้นต่อรัฐบาล เมื่อช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดย เมดิคัล ท็อป ทีมนี้ มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมอยู่ในทีม เพื่อช่วยกันวางแผนยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทย สามารถแข่งขันกับประเทศ คู่แข่งอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ได้ และแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรค
แผนนี้ถูกนำเสนอขึ้นโดย "สมาคมโรงพยาบาลเอกชน" ซึ่ง นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าวกับกรุงเทพธุรกิจอาเซียนพลัส ว่า การพัฒนางานด้านบริการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพ เพื่อรับมือกับการเคลื่อนย้ายของประชากรอาเซียน รวมไปถึงการแข่งขัน จำเป็นที่ประเทศไทยต้องวางจุดยืนว่า เราจะอยู่ ตรงไหนของประชาคมอาเซียน ที่เป็นการกำหนดทิศทางประเทศ ซึ่งต้องยอมรับว่า ไทยเราได้เปรียบอยู่แล้ว ในทางภูมิศาสตร์ เพราะตั้งอยู่จุดศูนย์กลางภูมิภาคและ การเดินทาง ทั้งมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับอาจารย์แพทย์ที่ได้รับการยอมรับ ยังรวมถึง อัตราค่าบริการรักษาพยาบาลที่ไม่แพง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคระบบสุขภาพไทยรองรับ 80 ล้านคน แต่การจะเดินหน้าเพื่อแข่งขันต่อไปได้นั้น นพ.เฉลิม กล่าวว่า คงต้องควบคู่กับการแก้ไขระบบการรักษาพยาบาลของคน ในประเทศที่ยังเป็นปัญหา ซึ่งเบื้องต้นต้อง มองภาพรวมของความต้องการของทั้งประเทศให้ออก โดยเฉพาะจำนวนประชากรที่ต้องดูแล ไม่แต่เฉพาะคนไทย 67 ล้านคนเท่านั้น แต่รวมไปถึงกลุ่มแรงงานต่างด้าว จากประเทศเพื่อนบ้าน เชื่อว่าหลังเปิดประชาคมอาเซียน จะมีการเคลื่อนย้ายมากขึ้น ถือเป็นกลุ่มที่เป็นปัญหามากที่สุด ขณะนี้คาดการณ์ว่ามีแรงงานต่างด้าว ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยราว 5 ล้านคน แต่คนที่ลงทะเบียนแรงงานตามกฎหมายและซื้อประกันสุขภาพมีเพียงแค่ 1 ล้านคนเท่านั้น ที่เหลืออีก 4 ล้านคน เมื่อเจ็บป่วยตกเป็นหน้าที่รัฐต้องดูแล เพราะการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องมนุษยธรรม ปฏิเสธไม่ได้ ส่งผลให้เกิดการเบียดบังงบประมาณรักษาพยาบาลคนในประเทศ เรื่องจำเป็นที่ภาครัฐ โดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมต้องเร่งจัดการปัญหานี้ก่อน รวมไปถึงการดูแลผู้ป่วยจากประเทศเพื่อนบ้านที่เดินทางเข้ามารับการรักษา อาทิ กัมพูชา ลาว และพม่า เป็นต้น ที่มีบริการทางการแพทย์ด้อยกว่า
นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มชาวต่างชาติที่ เข้ามารับการรักษาพยาบาลในรูปแบบเชิง ท่องเที่ยว (Medical Tourists) คาดว่าแต่ละปีมีประมาณ 1.7 ล้านคน และในอนาคต มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ดังนั้นเราจึงต้องพยากรณ์จำนวนคนที่ต้องดูแลทั้งหมด ภายใต้ระบบการรักษาพยาบาลของประเทศให้ออก ซึ่งอาจมีมากกว่า 80 ล้านคน ทั้งนี้เพื่อเราจะได้จัดระบบบริการให้เพียงพอกับคนทุกกลุ่ม และไม่ให้เกิดผลกระทบ โดยทุกฝ่ายต้องยอมรับว่า "วันนี้ระบบสุขภาพไม่ได้ถูกจำกัดเพียงแค่คนไทยในขวานทองแล้ว"จานวนแพทย์ไทยตากว่าเกณฑ์
นพ.เฉลิม กล่าวว่า รากปัญหาระบบบริการรักษาพยาบาลของประเทศที่เกิดขึ้น สาเหตุหลักที่แท้จริงมาจาก "การขาดบุคลากรทางการแพทย์อย่างมาก" ซึ่งจากข้อมูลของทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ชี้ชัดว่า ประเทศไทยมีจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว หรือแม้แต่เปรียบเทียบ 10 ประเทศในภูมิภาคอาเซียนช่วง 10 ปี ระหว่างปี 2543-2553 พบว่าอัตราแพทย์ต่อประชากรไทยอยู่ที่ 3 คนต่อ 1 หมื่นคน หรืออยู่อันดับที่ 7 จาก 10 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน, พยาบาล 15.2 คนต่อหมื่นคน อยู่ที่อันดับ 6, หมอฟันอยู่ที่ 0.7 คน ต่อหมื่นคน หรืออันดับ 5 ส่วนเภสัชกร อยู่ที่ 1.2 คนต่อหมื่นคน หรืออันดับ 6 ดังนั้นด้วยบุคลากรที่มีจำกัด ไม่ว่าระบบสุขภาพของประเทศจะมีโครงการพื้นฐาน การดูแลรักษาพยาบาลออกมาอย่างไร การเข้าถึงยังเป็นไปได้ยากอยู่
"คงต้องยอมรับความจริงกันก่อน บ้านเราปัญหาระบบบริการสุขภาพ เกิดจาก การขาดบุคลากรเป็นสาเหตุหลัก การผลิต ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เราจึงไม่ควร หลอกตัวเองว่าพอ จากการมองเฉพาะการผลิตที่ป้อนให้กับหน่วยงานเท่านั้น แล้วบ่นว่าบุคลากรถูกดูดจากภาคเอกชน ทั้งที่ควรเป็นการผลิตที่มองจากความต้องการทั้งประเทศ" นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กล่าว
เมื่อจำนวนการผลิตบุคลากรเพียงพอแล้ว คุณภาพการรักษาที่ดี ก็จะตามมาภายใต้แผนแม่บทมาตรฐานบริการในระบบสุขภาพ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถแต่ละองค์กรในการดึงบุคลากรให้ทำงานอยู่ในหน่วยงานตนเอง ไม่ใช่เมื่อเขาลาออกก็บอกว่าถูกขโมยบุคลากรแนะไทยปรับยุทธศาสตร์
นพ.เฉลิม กล่าวต่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนว่าไทยไม่มีการวางแผนเป้าหมาย ของประเทศ จึงไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อผลักดันประเทศเป็นศูนย์กลางสุขภาพภูมิภาคแต่อย่างใด เพราะนอกจากปัญหาขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์แล้ว ยังขาดการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องอัลตราซาวนด์ เครื่องเอกซเรย์ และเครื่องสแกนสมอง เป็นต้น รวมถึงด้านยาและเวชภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันล้วน แต่เป็นการนำเข้าทั้งสิ้น และจะส่งผลต่อ ต้นทุนการรักษาในอนาคต อีกทั้งกฎหมายหลายฉบับของไทย นอกจากไม่เป็นการสนับสนุนแล้ว ยังขัดแย้งไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ประเทศสิงคโปร์ที่มีแผนยุทธศาสตร์ เปิดรักษาผู้ป่วยต่างชาติอย่างชัดเจน โดยรัฐบาล มีการออกกฎหมายสนับสนุน เน้นพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ยาและเวชภัณฑ์เพื่อรองรับ พร้อมกำหนดรับผู้ป่วย ต่างชาติวันละ 1 พันราย ที่จะสร้างงานให้กับคนสิงคโปร์ได้ถึง 1.3 หมื่นคน ขณะที่ประเทศมาเลเซียก็มีก็เดินหน้าเมดิคัล ฮับ เช่นกัน ซึ่งก้าวหน้าไปมาก
ทั้งนี้หากเปรียบเทียบไทยกับสิงคโปร์ นั้นไทยคงเทียบไม่ได้อยู่แล้ว แม้ว่าผู้ป่วยต่างชาติที่เข้ารับบริการรักษาพยาบาลในภูมิภาคอาเซียน ร้อยละ 60 จะเดินทาง เข้ารับการรักษาที่ประเทศไทย มีเพียง ร้อยละ 14.7 เท่านั้นที่เข้ารักษายังสิงคโปร์ แต่เมื่อดูที่รายได้ ปรากฏว่าเม็ดเงินของงานบริการรักษาผู้ป่วยต่างชาติในภูมิภาค กลับไหลเข้าสู่สิงคโปร์ถึงร้อยละ 47.5 ขณะที่ รายได้ที่เข้าสู่ไทยมีเพียงร้อยละ 18 ไทย จึงต้องปรับยุทธศาสตร์ในเรื่องนี้ใหม่ ชูศูนย์ผลิตบุคลากรแพทย์อาเซียน
ฉะนั้น ประเทศไทยควรดึงจุดแข็งที่มีออกมาแข่งขันแทน โดยเฉพาะจุดเด่นการมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับอาจารย์แพทย์ที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับจากต่างชาติ จึงควรวางจุดยืนให้ไทยเป็น "ศูนย์กลางผลิต บุคลากรทางการแพทย์ในภูมิภาค" (Medical Education Hub) โดยเปิดให้นักศึกษา ชาวต่างชาติเข้าเรียนได้ ผลประโยชน์จะเกิดกับประเทศระยะยาว และเท่าที่ทราบขณะนี้มีโรงเรียนแพทย์หลายแห่งที่มีความพร้อม และอาจดึงมหาวิทยาลัยเอกชนเข้าร่วม
นพ.เฉลิม กล่าวตอนท้ายว่า ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่ายต้องหันหน้าร่วมกันวางแผนยุทธศาสตร์การบริการและรักษาพยาบาลของประเทศ โดยมีทิศทางประเทศเป็น เป้าหมายเพื่อนำประเทศไปสู่การพัฒนา สามารถแข่งกับประเทศๆ อื่นได้ โดยเฉพาะภายหลังเปิดเสรีอาเซียน ไม่ใช่มองแค่ข้อจำกัด และแก้ไขเฉพาะปัญหาแค่ที่มีอยู่เท่านั้น
การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2558 เมื่อเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ทางออกที่ดีที่สุดคือการตั้งรับการแข่งขันที่กาลังจะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีจากนี้
ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 23 ตุลาคม 2555
- 7 views