สมาคมฯพรีม่า เตรียมยื่นหนังสือ "นายกรัฐมนตรี"เลิกคุมงบยาหวั่นนโยบาย "จำกัดงบรักษาใช้แค่ยาสามัญ" ทำการพัฒนาระบบสุขภาพประเทศถดถอย เผยบริษัทยาต้นแบบร่วม 50 แห่งถูกต่อรองหนักกดลดราคา 40% ชี้อาจทำให้ไม่มีการนำเข้ายานวัตกรรมใหม่ กระทบสร้าง" เมดิคัลฮับ"สุขภาพของประเทศ
หลังนโยบายควบคุมค่าใช้จ่ายด้านงบประมาณยาและคุมการใช้ยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์(พรีม่า)ซึ่งมีสมาชิกเป็นบริษัทยากว่า50บริษัทได้ออกมาแสดงท่าทีต่อนโยบายหลักประกันสุขภาพครั้งแรก
พญ.กิติมา ยุทธวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ กล่าวว่า สมาคมพรีม่าเตรียมที่จะทำหนังสือเพื่อยื่นต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จากความเป็นห่วงต่อกรณีนโยบายของภาครัฐที่อาจส่งผลต่อคุณภาพการรักษาพยาบาลและความก้าวหน้าด้านการแพทย์ของไทยในอนาคต ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันระบบสุขภาพของประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นการดูแลโดยภาครัฐ โดยมี 3 ระบบใหญ่ๆ ได้แก่ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบประกันสังคม และระบบรักษาพยาบาลข้าราชการ แต่เมื่อดูค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งเป็นข้อมูลจากธนาคารโลกและองค์การอนามัยโลก พบว่า ไทยกลับมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพียงแค่ 4.2% ของจีดีพีประเทศเท่านั้น หรืออัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 160 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทย 4,000 บาทต่อคนต่อปี ถือว่าไม่มากเปรียบเทียบกับมาเลเซียและสิงคโปร์ "ด้วยค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่ไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับจีดีพี ซ้ำรัฐบาลยังมีนโยบายจำกัดงบประมาณรักษาพยาบาลมากขึ้น โดยมีนโยบายให้คงงบประมาณระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2555-2557 ในอัตรา 2,755 บาท ย่อมส่งผลกระทบต่อการรักษาพยาบาล ซ้ำยังมีการประกาศมาตรการในการลดงบประมาณด้านยาและเวชภัณฑ์ลงอีก รวมถึงการเน้นใช้ยาสามัญ การลดการใช้ยาต้นแบบ เป็นต้น ที่ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพประเทศในระยะยาว"
ชี้รัฐปรับลดค่ายาลงถึง40%
ด้าน ภญ.อำพร เจริญสมศักดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือในระบบสุขภาพ สมาคมพรีม่า กล่าวว่า ทางสมาคมพรีม่ามีความเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะจากมติ ครม.เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา ซึ่งให้มีการปรับลดค่าใช้จ่ายด้านยา ทางคณะอนุกรรมการต่อรองราคายาจึงได้ทำการเชิญผู้ประกอบการยาต้นแบบเข้าพูดคุยและขอให้ลดราคายาและเวชภัณฑ์ลงถึง 40% โดยระบุว่าหากการต่อรองราคายาไม่ประสบผลสำเร็จ จะมีการใช้มาตรการอื่นๆ ทดแทน เช่น การกำหนดเบิกค่ายาที่จ่ายต่ำกว่าราคายาหรือเวชภัณฑ์ที่จัดซื้อ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและประเทศแน่นอน เพราะจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพและมาตรฐานของการรักษาพยาบาลที่จะต้องถูกลดลง จากการลดต้นทุนของโรงพยาบาลที่เป็นไปเพื่อความอยู่รอด ซึ่งเป็นผลมาจากงบประมาณและการเบิกจ่ายค่ายาที่ถูกจำกัด จึงไม่สามารถให้การรักษาที่ดีที่สุดแก่ผู้ป่วยได้รวมถึงการใช้ยา นอกจากนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นยังส่งผลต่อความก้าวหน้าด้านสุขภาพของประเทศ เพราะเมื่อมีการจำกัดการใช้ยาต้นแบบ ทำให้ยาต้นแบบไม่สามารถขายได้ ย่อมทำให้บริษัทยาต้นแบบส่วนใหญ่ไม่นำยานวัตกรรมที่คิดค้นใหม่ๆ เข้ามา ทำให้ประเทศไทยไม่มียานวัตกรรมใหม่ๆ ไว้ใช้ และจะก่อให้เกิดความถดถอยความก้าวหน้าทางการแพทย์ของประเทศไทยในอนาคต เนื่องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะไม่มียาที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยและเรียนรู้เพื่อพัฒนาการการรักษาเพิ่มเติมเลย
คุมค่ายากระทบเมดิคัลฮับ
นอกจากนี้จะส่งผลต่อนโยบายการผลักดันให้ไทยเป็นผู้นำด้านศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (เมดิคัล ฮับ) ในที่สุด เพราะการเป็นผู้นำศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติต้องเน้นที่ความก้าวหน้าทางการแพทย์เป็นหลัก อีกทั้งการที่บริษัทยาต้นแบบไม่นำยาใหม่เข้ามา ทำให้ไม่มีการจดทะเบียนยา บริษัทยาสามัญในประเทศไทยจึงไม่ข้อมูลยาจากกลุ่มยาที่หมดสิทธิบัตรลง ที่จะนำมาใช้ผลิตยาสามัญใหม่ๆ ได้ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยไม่มียาสามัญใหม่ๆ เกิดขึ้นเช่นกัน จึงต้องไม่ลืมว่ายาต้นแบบวันนี้คือยาสามัญในวันข้างหน้าด้วยเช่นกัน
"ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามูลค่าการใช้ยาต้นแบบแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ชัดและปีนี้เชื่อว่าแนวโน้มจะลดลงอีกจากนโยบายข้างต้น ซึ่งการต่อรองราคายาของคณะอนุกรรมการต่อรองราคายา แม้จะครอบคลุมการใช้ยาทั้ง 3 กองทุน แต่เนื่องจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและระบบประกันสังคมเป็นการเน้นใช้ยาบัญชียาหลักแห่งชาติ กลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือกลุ่มข้าราชการ ขณะเดียวกันเห็นว่าการกำหนดให้โรงพยาบาลเน้นใช้เฉพาะยาสามัญเพื่อลดงบประมาณก็เป็นปัญหาอีกเช่นกัน" ภญ.อำพร กล่าวและว่า คาดว่าที่ผ่านมาทางคณะอนุกรรมการต่อรองราคายาได้ทยอยเรียกผู้ประกอบการยาต้นแบบเข้าพูดคุยต่อรองราคายา ซึ่งเฉพาะสมาชิกพรีม่ามีบริษัทยาเป็นสมาชิก 30 บริษัท และบริษัทยาต้นแบบอื่นๆ อีก 20 บริษัท
จี้รัฐเลิกตั้งเป้าลดงบด้านยา
ด้าน พญ.กิติมา กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ทางสมาคมพรีม่า ได้จัดทำข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข คือ รัฐไม่ควรตั้งเป้าลดงบประมาณที่น้อยอยู่แล้ว เพราะจะทำให้ระบบเกิดปัญหามากขึ้นในระยะยาว การตั้งงบประมาณด้านสุขภาพควรอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงของสถานการณ์ที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า และต้องรักษาคุณภาพของระบบสุขภาพ จึงควรยกเลิกมาตรการที่จะลดงบประมาณด้านยาและเวชภัณฑ์ และควรขยายงบประมาณด้านสุขภาพของประเทศเพิ่มขึ้น เป็นอย่างน้อย 5% ของจีดีพี เนื่องจากงบประมาณด้านสุขภาพเป็นการลงทุนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน นอกจากนี้รัฐควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมจ่ายของผู้ป่วยอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และภาวะโรคอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และภาวะโรคเพื่อความยั่งยืนของระบบ
นอกจากนี้ควรเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการบริหารระบบสุขภาพและการสาธารณสุขของภาครัฐ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการใช้ทรัพยากรร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ทางสมาคมพรีม่า ไม่มีโอกาสในการเข้าไปร่วมให้ข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นในการกำหนดนโยบายเลย ทำให้มีการกำหนดนโยบายที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศในระยะยาว ทั้งนี้เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาระบบสุขภาพอย่างยั่งยืน
ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 27 กันยายน 2555สมาคมฯพรีม่า เตรียมยื่นหนังสือ "นายกรัฐมนตรี"เลิกคุมงบยาหวั่นนโยบาย "จำกัดงบรักษาใช้แค่ยาสามัญ" ทำการพัฒนาระบบสุขภาพประเทศถดถอย เผยบริษัทยาต้นแบบร่วม 50 แห่งถูกต่อรองหนักกดลดราคา 40% ชี้อาจทำให้ไม่มีการนำเข้ายานวัตกรรมใหม่ กระทบสร้าง" เมดิคัลฮับ"สุขภาพของประเทศ
หลังนโยบายควบคุมค่าใช้จ่ายด้านงบประมาณยาและคุมการใช้ยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์(พรีม่า)ซึ่งมีสมาชิกเป็นบริษัทยากว่า50บริษัทได้ออกมาแสดงท่าทีต่อนโยบายหลักประกันสุขภาพครั้งแรก
พญ.กิติมา ยุทธวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ กล่าวว่า สมาคมพรีม่าเตรียมที่จะทำหนังสือเพื่อยื่นต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จากความเป็นห่วงต่อกรณีนโยบายของภาครัฐที่อาจส่งผลต่อคุณภาพการรักษาพยาบาลและความก้าวหน้าด้านการแพทย์ของไทยในอนาคต ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันระบบสุขภาพของประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นการดูแลโดยภาครัฐ โดยมี 3 ระบบใหญ่ๆ ได้แก่ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบประกันสังคม และระบบรักษาพยาบาลข้าราชการ แต่เมื่อดูค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ซึ่งเป็นข้อมูลจากธนาคารโลกและองค์การอนามัยโลก พบว่า ไทยกลับมีค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพเพียงแค่ 4.2% ของจีดีพีประเทศเท่านั้น หรืออัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 160 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทย 4,000 บาทต่อคนต่อปี ถือว่าไม่มากเปรียบเทียบกับมาเลเซียและสิงคโปร์ "ด้วยค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่ไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับจีดีพี ซ้ำรัฐบาลยังมีนโยบายจำกัดงบประมาณรักษาพยาบาลมากขึ้น โดยมีนโยบายให้คงงบประมาณระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2555-2557 ในอัตรา 2,755 บาท ย่อมส่งผลกระทบต่อการรักษาพยาบาล ซ้ำยังมีการประกาศมาตรการในการลดงบประมาณด้านยาและเวชภัณฑ์ลงอีก รวมถึงการเน้นใช้ยาสามัญ การลดการใช้ยาต้นแบบ เป็นต้น ที่ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพประเทศในระยะยาว"
ชี้รัฐปรับลดค่ายาลงถึง40%
ด้าน ภญ.อำพร เจริญสมศักดิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือในระบบสุขภาพ สมาคมพรีม่า กล่าวว่า ทางสมาคมพรีม่ามีความเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะจากมติ ครม.เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา ซึ่งให้มีการปรับลดค่าใช้จ่ายด้านยา ทางคณะอนุกรรมการต่อรองราคายาจึงได้ทำการเชิญผู้ประกอบการยาต้นแบบเข้าพูดคุยและขอให้ลดราคายาและเวชภัณฑ์ลงถึง 40% โดยระบุว่าหากการต่อรองราคายาไม่ประสบผลสำเร็จ จะมีการใช้มาตรการอื่นๆ ทดแทน เช่น การกำหนดเบิกค่ายาที่จ่ายต่ำกว่าราคายาหรือเวชภัณฑ์ที่จัดซื้อ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและประเทศแน่นอน เพราะจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพและมาตรฐานของการรักษาพยาบาลที่จะต้องถูกลดลง จากการลดต้นทุนของโรงพยาบาลที่เป็นไปเพื่อความอยู่รอด ซึ่งเป็นผลมาจากงบประมาณและการเบิกจ่ายค่ายาที่ถูกจำกัด จึงไม่สามารถให้การรักษาที่ดีที่สุดแก่ผู้ป่วยได้รวมถึงการใช้ยา นอกจากนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นยังส่งผลต่อความก้าวหน้าด้านสุขภาพของประเทศ เพราะเมื่อมีการจำกัดการใช้ยาต้นแบบ ทำให้ยาต้นแบบไม่สามารถขายได้ ย่อมทำให้บริษัทยาต้นแบบส่วนใหญ่ไม่นำยานวัตกรรมที่คิดค้นใหม่ๆ เข้ามา ทำให้ประเทศไทยไม่มียานวัตกรรมใหม่ๆ ไว้ใช้ และจะก่อให้เกิดความถดถอยความก้าวหน้าทางการแพทย์ของประเทศไทยในอนาคต เนื่องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะไม่มียาที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยและเรียนรู้เพื่อพัฒนาการการรักษาเพิ่มเติมเลย
คุมค่ายากระทบเมดิคัลฮับ
นอกจากนี้จะส่งผลต่อนโยบายการผลักดันให้ไทยเป็นผู้นำด้านศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (เมดิคัล ฮับ) ในที่สุด เพราะการเป็นผู้นำศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติต้องเน้นที่ความก้าวหน้าทางการแพทย์เป็นหลัก อีกทั้งการที่บริษัทยาต้นแบบไม่นำยาใหม่เข้ามา ทำให้ไม่มีการจดทะเบียนยา บริษัทยาสามัญในประเทศไทยจึงไม่ข้อมูลยาจากกลุ่มยาที่หมดสิทธิบัตรลง ที่จะนำมาใช้ผลิตยาสามัญใหม่ๆ ได้ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยไม่มียาสามัญใหม่ๆ เกิดขึ้นเช่นกัน จึงต้องไม่ลืมว่ายาต้นแบบวันนี้คือยาสามัญในวันข้างหน้าด้วยเช่นกัน
"ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามูลค่าการใช้ยาต้นแบบแนวโน้มลดลงอย่างเห็นได้ชัดและปีนี้เชื่อว่าแนวโน้มจะลดลงอีกจากนโยบายข้างต้น ซึ่งการต่อรองราคายาของคณะอนุกรรมการต่อรองราคายา แม้จะครอบคลุมการใช้ยาทั้ง 3 กองทุน แต่เนื่องจากระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและระบบประกันสังคมเป็นการเน้นใช้ยาบัญชียาหลักแห่งชาติ กลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือกลุ่มข้าราชการ ขณะเดียวกันเห็นว่าการกำหนดให้โรงพยาบาลเน้นใช้เฉพาะยาสามัญเพื่อลดงบประมาณก็เป็นปัญหาอีกเช่นกัน" ภญ.อำพร กล่าวและว่า คาดว่าที่ผ่านมาทางคณะอนุกรรมการต่อรองราคายาได้ทยอยเรียกผู้ประกอบการยาต้นแบบเข้าพูดคุยต่อรองราคายา ซึ่งเฉพาะสมาชิกพรีม่ามีบริษัทยาเป็นสมาชิก 30 บริษัท และบริษัทยาต้นแบบอื่นๆ อีก 20 บริษัท
จี้รัฐเลิกตั้งเป้าลดงบด้านยา
ด้าน พญ.กิติมา กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ทางสมาคมพรีม่า ได้จัดทำข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข คือ รัฐไม่ควรตั้งเป้าลดงบประมาณที่น้อยอยู่แล้ว เพราะจะทำให้ระบบเกิดปัญหามากขึ้นในระยะยาว การตั้งงบประมาณด้านสุขภาพควรอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงของสถานการณ์ที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า และต้องรักษาคุณภาพของระบบสุขภาพ จึงควรยกเลิกมาตรการที่จะลดงบประมาณด้านยาและเวชภัณฑ์ และควรขยายงบประมาณด้านสุขภาพของประเทศเพิ่มขึ้น เป็นอย่างน้อย 5% ของจีดีพี เนื่องจากงบประมาณด้านสุขภาพเป็นการลงทุนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชาชน นอกจากนี้รัฐควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมจ่ายของผู้ป่วยอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และภาวะโรคอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และภาวะโรคเพื่อความยั่งยืนของระบบ
นอกจากนี้ควรเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายการบริหารระบบสุขภาพและการสาธารณสุขของภาครัฐ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการใช้ทรัพยากรร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา ทางสมาคมพรีม่า ไม่มีโอกาสในการเข้าไปร่วมให้ข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นในการกำหนดนโยบายเลย ทำให้มีการกำหนดนโยบายที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศในระยะยาว ทั้งนี้เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาระบบสุขภาพอย่างยั่งยืน
ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 27 กันยายน 2555
- 32 views