นิด้าโพล ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกระจายทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เกี่ยวกับเรื่อง “ความสำเร็จของนโยบายเร่งด่วน 1 ปีแรกรัฐบาลยิ่งลักษณ์” จากการสำรวจพบว่า ประชาชน ร้อยละ 84.79 ยกให้ นโยบายการพัฒนาระบบประกันสุขภาพ “30 บาทรักษาทุกโรค”  ประสบความสำเร็จมากที่สุด รองลงมา ประชาชน ร้อยละ 81.05  ยกให้การจัดเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ  และร้อยละ 69.58 การขึ้นค่าแรงวันละ 300 บาท และเงินเดือนวุฒิปริญญาตรี เดือนละ 15,000 บาท  ส่วนนโยบายที่ประชาชนเห็นว่าประสบความสำเร็จน้อยที่สุด ได้แก่ บัตรเครดิตพลังงาน และการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้

ศูนย์สำรวจความคิดเห็นของประชาชน “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง “1 ปี รัฐบาล กับนโยบายเร่งด่วน” โดยสำรวจจากประชาชนทั่วประเทศ  จำนวน 1,203  หน่วยตัวอย่าง ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้

 

1. ท่านคิดว่านโยบายเร่งด่วน 1 ปีแรกของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ประสบความสำเร็จหรือไม่

นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล

ร้อยละ

1.  การพัฒนาระบบประกันสุขภาพ “30 บาทรักษาทุกโรค”

84.79

2.  การจัดเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ

81.05

3.  การขึ้นค่าแรงวันละ 300 บาท และเงินเดือนวุฒิปริญญาตรี เดือนละ 15,000 บาท

69.58

4.  การเยียวยาและฟื้นฟูแก่บุคคลทุกฝ่ายเนื่องมาจากความเห็นที่แตกต่าง

67.17

5.  การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติด

67.17

6.  การส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน(OTOP)

66.75

7.  การลดภาษีบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก

61.93

8.  การสร้างความปรองดองสมานฉันท์

56.94

9.  การเพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ 1 ล้านบาท

55.86

10.  “มหัศจรรย์ไทยแลนด์” 

55.20

11.  การพักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 500,000 บาท อย่างน้อย 3 ปี

54.86

12.  การฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ

53.20

13.  การสนับสนุนภารกิจของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในการผลิตงานศิลปหัตถกรรม

52.78

14. การจำนำสินค้าเกษตร

49.54

15. การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน

49.13

16. การบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและมีประสิทธิภาพในการป้องกันปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง

43.64

17. การแก้ไขปัญหาค่าครองชีพโดยการดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้

40.98

18. การดูแลควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและพลังงานให้เหมาะสมและเป็นธรรม

35.66

19. การชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

32.67

20. การจัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) (300,000-500,000 บาท)

32.59

21. กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี จังหวัดละ 100 ล้านบาท

31.59

22. การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 23

31.42

23. การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ

28.84

24. การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของประชาชน

27.51

25. บัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร

26.85

26. สนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)

24.02

27. จัดตั้งกองทุนได้ในวงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท สร้างผู้ประกอบการรายย่อย

23.94

28. การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้

23.28

29. บัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งสาธารณะ

21.95

 

รายละเอียดรายงานผลการสำรวจฉบับสมบูรณ์ download ได้จาก http://nidapoll.nida.ac.th