สถานการณ์การระบาดของไข้เลือดออกทั้งประเทศ ตั้งแต่ ม.ค.จนถึงปัจจุบัน ตายแล้ว 9 รายป่วยร่วม 7 พันคน พื้นที่แนวโน้มป่วยเพิ่มขึ้นอยู่ทางฝั่งอันดามัน ภาคกลางและเหนือตอนล่างคนลาวแห่ข้ามแม่น้ำโขงมารักษาตัวที่โรงพยาบาลในอำนาจเจริญ
นพ.ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออก ว่า ขณะนี้อยู่ในช่วงขาขึ้นของการระบาด ตามปกติในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. จะเป็นช่วงที่เกิดอัตราผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เนื่องจากหลายพื้นที่จะเริ่มมีฝนตก ทำให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุง และเป็นช่วงเปิดภาคเรียนที่เด็กไปอยู่รวมกันมากๆ ทั้งนี้ สถิติการเกิดโรคไข้เลือดออกในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่ายังไม่มีความเปลี่ยนแปลงมากนัก โดยในปี 2555 พบว่าอัตราการป่วยอยู่ที่ 25-35 รายต่อแสนประชากร และตั้งแต่เดือน ม.ค. จนถึงปัจจุบัน มีผู้เสียชีวิตแล้ว 9 ราย ป่วยประมาณ 7,000 ราย พื้นที่ที่แล้ว 9 ราย ป่วยประมาณ 7,000 ราย พื้นที่ที่พบแนวโน้มการป่วยเพิ่มขึ้น คือ จังหวัดในฝั่งอันดามัน จ.ราชบุรี, สมุทรสาคร, สมุทรสงคราม, ระยอง, กำแพงเพชร, นครสวรรค์, ลพบุรีขอนแก่น, นครราชสีมา และกรุงเทพมหานคร โดยระดับการเตือนการระบาดในขณะนี้อยู่ที่ระดับ 2-3 จากการเตือนซึ่งมี 5 ระดับ
"จากสัญญาณที่พบคนป่วยเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ ทำให้กังวลว่าหากแต่ละพื้นที่ไม่เตรียมความพร้อม และรีบควบคุมสถานการณ์อาจทำให้สถานการณ์การระบาดแย่ลง ขณะนี้จึงถือเป็นนาทีทองที่จะควบคุมสถานการณ์ให้ได้ ซึ่งกรมควบคุมโรคได้แจ้งเตือนพื้นที่สาธารณสุขต่างๆ ให้เฝ้าระวัง เพราะทางการระบาดหากเกิดการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยทีละหลายจังหวัด จะทำให้เกิดแนวโน้มกลายเป็นการระบาดใหญ่ที่ควบคุมได้ยาก จึงได้เตือนให้แต่ละพื้นที่รีบทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง รวมทั้งการวินิจฉัยโรคให้รวดเร็วเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต" นพ.ภาสกรกล่าว เพาะพันธุ์ยุง รวมทั้งการวินิจฉัยโรคให้รวดเร็วเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต" นพ.ภาสกรกล่าว และว่า เมื่อพิจารณาอัตราการตายพบว่าผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกในปีนี้ ครึ่งหนึ่งเป็นประชากรอายุมากกว่า 15 ปี มีการป่วยที่รุนแรงและเสียชีวิต ส่วนหนึ่งเกิดจากประชาชนมักคิดว่าโรคไข้เลือดออกเป็นโรคของเด็ก เมื่อเด็กโต หรือผู้ใหญ่เจ็บป่วย จึงละเลยและลืมคิดถึงโรคไข้เลือดออก หากปล่อยให้อาการหนักมากขึ้นก็ยากที่จะรักษาและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ฉะนั้นไม่ว่าเด็ก หรือ ผู้ใหญ่ก็ต้องป้องกันยุงกัด ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์รอบบ้าน รอบโรงเรียน ที่ทำงาน และป้องกันยุงด้วยการนอนกางมุ้ง ทายากันยุง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย รองอธิบดีกรมควบคุมโรคได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ระนอง คุมเข้มสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ภายหลังพบการระบาดหนักในชุมชนไทย-พม่า ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายนที่ผ่านมา พบมีผู้ป่วยแล้ว 83 ราย และเสียชีวิต 1 ราย
ทั้งนี้ สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในภาพรวมทั้งประเทศไทย จากวันที่ 1 ม.ค.-วันที่ 17 พ.ค.ที่ผ่านมา กรมควบคุมโรคได้รับรายงาน จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 7,815 ราย เสียชีวิต 9 ราย แบ่งเป็น ภาคเหนือ ป่วย 888 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ป่วย 1,004 ราย เสียชีวิต 1 ราย ภาคกลาง ป่วย 4,000 ราย เสียชีวิต 6 ราย และภาคใต้ ป่วย 1,923 ราย เสียชีวิต 2 ราย
นพ.วิชัย ขัตติยะวิทยากุล นายแพทย์ สสจ.นครราชสีมา เปิดเผยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของ จ.นครราชสีมา ว่า ยังน่าเป็นห่วงเพราะช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย ซึ่งหลังจากฝนตกจะเกิดแอ่งน้ำขังหรือน้ำขังตามภาชนะต่างๆ กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เพราะโดยทั่วไปยุงลายจะวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำใสและนิ่ง น้ำฝนจึงเป็นน้ำที่ยุงลายชอบวางไข่มากที่สุด
"จากรายงานตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-17 พ.ค. จึงเป็นน้ำที่ยุงลายชอบวางไข่มากที่สุด
"จากรายงานตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-17 พ.ค. 2555 จ.นครราชสีมา พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้ว 342 ราย คิดเป็นอัตราการป่วย 13.25 ต่อแสนประชากร และมีรายงานผู้เสียชีวิตด้วยไข้เลือดออกแล้ว 1 ราย ช่วงอายุที่พบผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกมากที่สุด คือ เด็กอายุ 10-14 ปี ซึ่งทาง สสจ.นครราชสีมา ขณะนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทุกชุมชน ลงพื้นที่ออกตรวจร่างกายให้ชาวบ้านและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกอย่างเข้มข้น นอกจากนี้ยังได้ประสานขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ช่วยแจกจ่ายทรายอะเบตพร้อมกับส่งเจ้าหน้าที่เข้าฉีดพ่นควันกำจัดยุงลายให้กับชาวบ้านอย่างเร่งด่วนแล้ว
นพ.ไพศาล วรสถิตย์ นายแพทย์ สสจ.อำนาจเจริญ เปิดเผยว่า ช่วงนี้เริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ส่งผลให้ประชาชนป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจและโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมาก โดยตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. จนถึงล่าสุด ในพื้นที่มีผู้ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกแล้ว 30 กว่าราย มีทั้งคนไทย และคนลาว ที่เดินทางข้ามแม่น้ำโขงมารักษาตัว ที่ รพ.อำเภอชานุมาน และที่โรงพยาบาลใหญ่ ของ จ.อำนาจเจริญ แต่คนลาวบางคนมีฐานะดีก็จะมีเงินเสียค่าพยาบาล หากบางรายไม่มีเงินค่ารักษาพยาบาล เราก็รักษาให้ฟรีตามหลักมนุษยธรรม
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บ้านคลอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ อสม.ตำบลบ้านคลอง ลงพื้นที่ตามบ้านเรือน วัด และโรงเรียน เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายเนื่องจากเข้าสู่ช่วงหน้าฝนจะพบว่ามีผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวนมาก จากสถิติช่วงวันที่ 1 ม.ค.-17 พ.ค.2555 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ จ.พิษณุโลก 1,158 ราย ครอบคลุมทั้ง 9 อำเภอ และมีอัตราป่วยอยู่ในอันดับที่ 1 ของเขต 5 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ดังนั้น ในช่วงนี้จึงได้เริ่มรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย
สำหรับโรคไข้เลือดออกสามารถเกิดได้ทั้งปี แต่ช่วงที่ระบาดหรือเกิดมากที่สุด คือช่วงตั้งแต่เดือน พ.ค.-ก.ย.ของทุกปี โดยเฉพาะช่วงที่มีฝนตกทิ้งช่วงนานๆ จะเปิดโอกาสให้ยุงฟักไข่เป็นตัวยุงได้ โดยไม่มีสิ่งรบกวนใดๆ เลย จากการศึกษาพบว่าประชาชนทุกกลุ่มอายุสามารถเป็นโรคไข้เลือดออก แต่กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คืออายุ 5-9 ปี รองลงมา คือ อายุ 10-14 ปี และ 1-4 ปี ตามลำดับ ในปัจจุบัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กในวัยเรียน ดังนั้นโรงเรียนจึงเป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับการควบคุมโรคไข้เลือดออก ซึ่งเกิดกับผู้ชายและผู้หญิงเป็นสัดส่วนใกล้เคียงกัน แต่ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต มักเป็นหญิงมากกว่าชาย
ที่มา : นสพ.มติชน ฉบับวันที่ 19 พ.ค. 2555
- 20 views