ป.ป.ช.ประกาศผลประเมินคุณธรรม และความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดย “กระทรวงสาธารณสุข” ได้ 89.01 คะแนน 

เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)  ประกาศผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และพิธีมอบรางวัล ITA AWARDS 2024 (ITA DAY 2024 : Transparency with Quality)  โดยผลการประเมินที่น่าสนใจคือ หน่วยงานส่วนกลางที่มีผลการประเมิน “ผ่านดีเยี่ยม” แบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มกรมหรือเทียบเท่า ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้ 99.31 คะแนน กองทัพเรือ 99.21 คะแนน ธนาคารออมสิน 98.96 คะแนน การประปานครหลวงได้ 98.84 คะแนน องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ 98.46 คะแนน กรมการศาสนาได้ 98.30 คะแนน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้ 97.94 คะแนน

กลุ่มหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้ 97.27 คะแนน  และกลุ่มรัฐวิสาหกิจคือ การยาสูบแห่งประเทศไทย ได้ 97.22 คะแนน

ส่วนผลการประเมินในรายกระทรวง ผลพบว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ 93.85 คะแนน กระทรวงแรงงานได้ 93.69 คะแนน กระทรวงการคลังได้ 93.29 คะแนน กระทรวงพลังงานได้ 92.92 คะแนน กระทรวงวัฒนธรรมได้ 92.37 คะแนน กระทรวงมหาดไทย 92.13 คะแนน กระทรวงยุติธรรมได้ 91.42 คะแนน กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ 90.88 คะแนน กระทรวงพาณิชย์ได้ 90.67 คะแนน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ 90.5 1 คะแนน สำนักนายกรัฐมนตรีได้ 90.14 คะแนน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ 90.11 คะแนน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ 89.69 คะแนน กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ 89.66 คะแนน

กระทรวงสาธารณสุขได้ 89.01 คะแนน กระทรวงกลาโหมได้ 88.91 คะแนนกระทรวงการต่างประเทศได้ 88.7 คะแนน

หน่วยงานไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีกระทรวง หรือทบวง 88.24 คะแนน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 87.7 คะแนนกระทรวงคมนาคม 86.67 คะแนนและกระทรวงศึกษาธิการได้ 82.66 คะแนน

   

พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธาน ป.ป.ช. กล่าวว่า ตอนนี้ ป.ป.ช.ไม่ต้องการเป็นมือปราบ แต่ใช้ป้องกันนำการปราบปราม ซึ่ง ITA จึงเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญยิ่งในเรื่องนี้ โดยเครื่องมือ ITA ถูกออกแบบให้มีจุดมุ่งหมายหลักส่งเสริมธรรมาภิบาล และป้องกันการทุจริตเป็นหลัก สำหรับประเด็นคำถามมุ่งเน้นการป้องกันการทุจริต และป้องกันภาครัฐ หน่วยงานรัฐต้องปรับปรุงและพัฒนาตามการประเมินที่กำหนด ถ้าคะแนนดีสะท้อนการป้องกันการทุจริต และการบริหารจัดการที่ดี ส่งผลถึงสถานการณ์การทุจริตและประพฤติมิชอบในองค์กรนั้น ๆ ได้ดีขึ้น แต่ถ้าคะแนนไม่ดี อันนี้สำคัญ ไม่ได้หมายความว่าหน่วยงานมีการทุจริต แต่สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพการดำเนินงาน การบริหารจัดการ และการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ

ทั้งนี้ ผลที่เกิดขึ้นไม่ได้ต้องการเพียงค่าคะแนน แต่กรอบของหลักการประเมินที่กำหนดขึ้น มาจากนโยบายการพัฒนาภาครัฐ แผนยุทธศาสตร์ มาตรฐานการดำเนินงาน และกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นกรอบชี้นำทิศทางขององค์กรภาครัฐแต่ละแห่งตั้งแต่เริ่มปีงบประมาณ

 

พล.ต.อ.วัชรพล กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีการขยายการประเมินไปยังคู่ค้าของรัฐ ซึ่งดำนินการแล้วในกรุงเทพมหานคร และในปี 2568 มีเป้าหมายขยายความร่วมมือในการขับเคลื่อนการประเมิน ITA ระดับส่วนงานย่อยภายในกับหน่วยงานอื่นเพิ่มเติมหลายแห่ง เช่น กรมสรรพากร กรมที่ดิน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมศุลกากร เป็นต้น อย่างไรก็ดีนอกจากนี้ยังมีหน่วยงานภาครัฐอีกเป็นจำนวนมาก นำเครื่องมือการประเมิน ITA ไปปรับปรุงและต่อยอดขยายผลการประเมินภายในหน่วยงานตัวเอง เช่น กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ