ผู้แทนชมรมนักวิชาการสาธารณสุข ยื่นหนังสือถึงรองนายกฯ-รมว.สธ. และปลัดสธ. ติดตามความก้าวหน้าของสายงานและวิชาชีพ 5 ประเด็น ทั้งไทม์ไลน์การเข้าสู่ตำแหน่งใหม่ “นักสาธารณสุข”  กรอบอัตราข้าราชการใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มตกค้างและบรรจุขรก.โควิดรอบสอง ค่าตอบแทน เงินเพิ่มพิเศษ พตส.นักสาธารณสุข ฯลฯ

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 22 มิถุนายน  ชมรมนักวิชาการสาธารณสุข (ประเทศไทย) โดยนายริซกี สาร๊ะ เลขาธิการชมรมนักวิชาการสาธารณสุข(ประเทศไทย) เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อติดตามความก้าวหน้าของสายงานและวิชาชีพ โดยติดตามประเด็นความคืบหน้าต่างๆ ดังนี้

 

ประเด็นที่ 1

ความคืบหน้าการเข้าสู่ตำแหน่งนักสาธารณสุข ตามมติ ก.พ. วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ที่มีมติ ให้กำหนดตำแหน่ง นักสาธารณสุข เป็นมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเพิ่มเติมในสายงานวิชาการ ชมรมนักวิชาการสาธารณสุข(ประเทศไทย) จึงขอติดตาม ความคืบหน้า กรอบเวลา(timeline) และแนวทางในการดำเนินงาน ดังนี้

1.1 แนวทางการเปลี่ยนชื่อตำแหน่งในระดับเดียวกัน จากตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข ที่มีใบประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน สู่ ตำแหน่งนักสาธารณสุข

1.2 แนวทางการปรับตำแหน่ง สายงานทั่วไป (เจ้าพนักงาน...) ที่มีใบประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน สู่ สายงานวิชาการตำแหน่งนักสาธารณสุข

ประเด็นที่ 2

การขอรับจัดสรรอัตราข้าราชการใหม่ กรณีปฏิบัติงานด่านหน้าในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (กรณีกลุ่มตกค้าง และ การบรรจุรอบ 2)แม้ว่า สถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อโควิดจะดีขึ้น แต่ยังมีผู้ปฏิบัติงานที่ยังตกค้าง ตกหล่น ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ ความก้าวหน้า จากรัฐบาล สำนักงาน ก.พ. และ กระทรวงสาธารณสุข ชมรมนักวิชาการสาธารณสุข(ประเทศไทย)จึงขอติดตาม กรอบเวลา( timeline) และแนวทางในการดำเนินงานดังนี้

2.1 ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) นัดพิเศษ วันที่ 3 เมษายน 2563และมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 มีมติ ให้บรรจุข้าราชการจากนักศึกษาผู้สำเร็จการศึกษาในปี 2563 จำนวน 4 สายงาน รวมทั้งสิ้น 7,579 อัตรา คือสายงานแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และนักวิซาการสาธารณสุข

ทั้งนี้ พบว่า ยังมีสายงานนักวิซาการสาธารณสุข จำนวน 647 อัตรา ซึ่งเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในปี 2563 ถูกละเว้นจากกระทรวงสาธารณสุข ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา โดยไม่ได้พิจารณาดำเนินการบรรจุแต่ประการใด

2.2 ตามมติ อ.ก.พ. กระทรวงสาธารณสุข มีมติเห็นชอบให้จัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ที่ปฏิบัติงานโควิด19 รอบ2 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2564จำนวน 63 สายงาน รวม 37,144 คน ต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้มีหนังสือที่ สธ0128.02/424 ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ถึงสำนักงานเลขาธิการ ก.พ. ว่าขอรับจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าที่ชัดเจนแต่อย่างใด

ประเด็นที่ 3

การเปิดกรอบชำนาญการพิเศษ และการเพิ่มกรอบอัตรากำลังให้สายงานนักวิชาการสาธารณสุข และนักสาธารณสุขจากข้อสรุปร่วม ระหว่าง กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ) ในวันที่ 20 มิถุนายน 2566  ซึ่งที่ประชุมเห็นซอบในเรื่องการเพิ่มกรอบอัตรากำลังขั้นสูงและความก้าวหน้าของทุกวิชาชีพ

ชมรมนักวิชาการสาธารณสุข (ประเทศไทย) จึงขอเสนอแนวทางความก้าวหน้าในเรื่องชำนาญการพิเศษ ดังนี้

3.1 การเปิดกรอบชำนาญการพิเศษ ให้ครอบคลุมสายงานนักวิชาการสาธารณสุข และนักสาธารณสุข ที่ดำรงตำแหน่ง ผอ.รพ.สต. ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ หัวหน้ากลุ่มงานในโรงพยาบาลซุมชน หัวหน้ากลุ่มงานในโรงพยาบาลทั่วไป หัวหน้ากลุ่มงานในโรงพยาบาลศูนย์ และหัวหน้ากลุ่มงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

3.2 การเปิดกรอบชำนาญการพิเศษ อย่างต่อเนื่องทุกปีของ ผู้ปฏิบัติงานใน 17 สายงานด้านวิทยาศาสตร์ในกระทรวงสาธารณสุข(ว.๒) ด้วยผลงานวิจัย R & D

3.3 ความก้าวหน้า ของบุคลาธารณสุขทุกสายงาน ที่มีวุฒิเพิ่มขึ้นระดับปริญญาโทปริญญาเอก ในทุกวิชาชีพ ที่สามารถ เกื้อกูลระยะเวลา ในการปรับตำแหน่ง จากระดับชำนาญการ เป็น ระดับชำนาญการพิเศษ

3.4 การเปิดหลักสูตร อบรมพิเศษ ของกระทรวงสาธารณสุข และ กพ. เพื่อให้บุคลากรสาธารณสุขทุกตำแหน่ง ทุกวิชาซีพ สามารถเลื่อนระดับ ปรับตำแหน่ง จากระดับชำนาญการ เป็น ระดับชำนาญการพิเศษ

3.5 การจัดโครงสร้าง และเพิ่มกรอบอัตรากำลัง ของสายงานนักสาธารณสุข และ นักวิซาการสาธารณสุข เช่นเดียวกับกรอบของแพทย์ พยาบาล

ประเด็นที่ 4  

การขยายกรอบอัตรากำลังขั้นสูง และจัดสรรตำแหน่ง รองรับบุคลากรสาธารณสุข ที่มีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ กพ.ที่ นร1006/ ว.16 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2558 (ชายแดนใต้)

จากข้อสรุปร่วม ระหว่าง กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ) ในวันที่ 20 มิถุนายน 2566  ซึ่งที่ประชุมเห็นซอบในเรื่องการเพิ่มกรอบอัตรากำลังขั้นสูงและความก้าวหน้าของทุกวิชาชีพ

ชมรมนักวิซาการสาธารณสุข(ประเทศไทย) จึงขอเสนอแนวทางความก้าวหน้าในเรื่องการบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนใต้ หนังสือ กพ.ที่ นร1006/ ว.16 ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2558(ชายแดนใต้) ชายแดนใต้ ดังนี้

4.1 การขยายกรอบอัตรากำลังขั้นสูง รองรับบุคลากรสาธารณสุข ที่มีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ ของหนังสือ กพ.ที่ นรด006/ ว.16 ลงวันที่28 กรกฎาคม 2558 (ชายแดนใต้)

4.2 การจัดสรตำแหน่งอย่างต่อเนื่อง ในการดำเนินการปรับตำแหน่ง....ว.16 ชายแดนใต้ที่ยังตกค้างทุกตำแหน่ง

ประเด็นที่ 5

ค่าตอบแทน ของสายงาน นักสาธารณสุข

5.1 แนวทางการได้รับเงินเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มพิเศษ พ.ต.ส ของสายงานนักสาธารณสุข

5.2 การกำหนดให้สายงาน นักสาธารณสุข ถูกระบุในหลักเกณฑ์ ค่าตอบแทนฉบับต่างๆ

 (ฉ.5 ฉ.11 ค่าตอบแทนชายแดนใต้ ฯลฯ ) เพื่อให้ได้รับสิทธิตามหลักเกณฑ์

5.3 การกำหนด ให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ถูกระบุในหลักเกณฑ์ค่าตอบแทน ฉ.11 เพื่อให้ได้รับสิทธิตามหลักเกณฑ์

5.4 การปรับปรุงหลักเกณฑ์เพิ่มค่าตอบแทน ฉ.11 ของแต่ละสายงานเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างวิชาชีพ

5.5 การปรับแก้ข้อความในค่าตอบแทนชายแดนใต้ ตรงคำว่า "โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ" ศูนย์อนามัยที่ 12 เป็น "โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และศูนย์อนามัยที่ ๑๒" เพื่อให้ตรงตามเจตนารมณ์ ที่ให้บุคลากรทุกหน่วยงานสาธารณสุขในชายแดนใต้ ได้รับค่าตอบแทนตามหลักเกณฑ์ และไม่มีการตีความในทางที่ไม่เป็นคุณกับบุคลากรที่ปฏิบัติงานในชายแดนใต้

จึงใคร่ขอให้กระทรวงสาธารณสุข กองทรัพยากรบุคคล กองกฎหมาย กองนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้พิจารณาดำเนินการพร้อมทั้งแจ้งผลให้ชมรมนักวิชาการสาธารณสุข(ประเทศไทย) ทราบต่อไป