Medical robot เป็นหุ่นยนต์ที่ใช้ในทางการแพทย์ในแง่ต่างๆ ส่วนใหญ่มีลักษณะควบคุมโดยมนุษย์ในระยะไกล หรือ telemanipulators และใช้กันมาระยะหนึ่งแล้ว ไม่ว่าจะเป็น

1. หุ่นยนต์ผ่าตัด (Robotic surgery): หุ่นยนต์เหล่านี้ช่วยให้ทำการผ่าตัดได้อย่างแม่นยำกว่าศัลยแพทย์ที่ไม่ใช้มนุษย์โดยลำพัง หรือช่วยในการทำการผ่าตัดทางไกลโดยที่ศัลยแพทย์มนุษย์ไม่ได้อยู่กับผู้ป่วย

2. หุ่นยนต์ฟื้นฟู (Rehabilitation robots) : อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือชีวิตผู้ทุพพลภาพ ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีความผิดปกติของส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว หุ่นยนต์เหล่านี้ยังใช้สำหรับการฟื้นฟูและขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง เช่น การฝึกอบรมและการบำบัดการทำกายภาพบำบัด

3. หุ่นยนต์ชีวะ (Biorobots): กลุ่มหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อเลียนแบบความรู้ความเข้าใจของมนุษย์และสัตว์ ประสานองค์ความรู้สาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ไซเบอร์เนติกส์ และหุ่นยนต์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่รวมชีววิทยากับระบบเครื่องกลเพื่อพัฒนาการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แก้ไขข้อมูลทางพันธุกรรม และสร้างเครื่องจักรที่เลียนแบบระบบชีวภาพ

4. หุ่นยนต์สื่อทำงานระยะไกล (Telepresence): ช่วยให้แพทย์นอกสถานที่สามารถเคลื่อนที่ มองไปรอบๆ สื่อสาร และมีส่วนร่วมในการรักษาจากสถานที่ห่างไกล ลักษณะคล้ายกับหุ่นยนต์ผ่าตัด แต่เป็นการผ่าตัดระยะไกล หรือ Remote surgery โดยหุ่นยนต์

5. จักรกลเภสัช (Pharmacy automation): เป็นระบบหุ่นยนต์เพื่อจ่ายยาเม็ดหรือแคปซูลในร้านขายยาขายปลีก หรือทำการวัดและการผสมผงและของเหลวสำหรับทำยาน้ำ และติดตามและอัพเดทข้อมูลลูกค้าในฐานข้อมูล รวมถึงการจัดการสินค้าคงคลังในร้านขายยา

6. หุ่นยนต์คู่หู (Companion robot): มีความสามารถในการมีส่วนร่วมทางอารมณ์กับผู้ใช้กำหนดจุปประสงค์ให้พวกมันเป็นเพื่อน  ในแง่หนึ่งจึงเป็นตัวเยียวยาสุขภาพทางใจ และยังสามารถแจ้งเตือนหากเจ้าของระบบนี้มีปัญหาสุขภาพ (1)

7. หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อ (Disinfection robot) : มีความสามารถในการฆ่าเชื้อทั้งห้องในเวลาเพียงไม่กี่นาที โดยทั่วไปจะใช้แสงอัลตราไวโอเลตแบบพัลซิ่ง หุ่นยนต์แบบนี้ถูกใช้เพื่อต่อสู้กับโรคไวรัสอีโบลา (2)

จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีหุ่นยนต์และจักรกลกำลังมีบทบาทในหลายมิติของการสาธารณสุข และทำให้สตาร์ทอัปด้านหุ่นยนต์ทางการแพทย์กำลังเป็นที่สนใจและเติบโตอย่างต่อเนื่อง

หนึ่งในนั้นคือ Yuman Robots สตาร์ทอัปจากเดนมารืก ที่ถือเป็นหนึ่งในสตาร์ทอัปที่น่าจับตาของปีนี้

Yuman Robots พัฒนาหุ่นยนต์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อช่วยพยาบาลในฐานะ "เพื่อนร่วมขนส่ง" ของพยาบาล  โดยทำให้การขนส่งอาหาร ซักรีด และอุปกรณ์ทางการแพทย์ในหอผู้ป่วยเป็นไปโดยอัตโนมัติ หุ่นยนต์ของ Yuman Robots ให้เวลาและดูแลผู้ป่วยมากขึ้น ปรับปรุงความพึงพอใจของพยาบาล และช่วยแบ่งเบาความเหนื่อยหน่ายของพยาบาล ดังนั้นหุ่นยต์ของพวกเขาจึงเข้าข่ายอยู่ในกลุ่มหุ่นยนต์คู่หูและยังคาบเกี่ยวกับความเป็นหุ่นยนต์ฟื้นฟูด้วย

แต่จริงๆ แล้วมันไม่ได้ออกแบบมาเพื่อลดภาระของพยาบาลเท่านั้น แต่เพื่อรองรับปัญหาการขาดแคลนพยาบาล Yuman Robots เผยว่าทั่วโลกมีปัญหาการขาดแคลนพยาบาลสูงเป็นประวัติการณ์ ในสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นที่ตั้งของเดนมร์ก ปัญหาการขาดแคลนคาดว่าจะสูงถึง 2.3 ล้านคนภายในปี พ.ศ. 2573 และในเดนมาร์กเพียงประเทศเดียวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 กิจกรรมในโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น 4 เท่าของจำนวนพยาบาล หมายความว่าพยาบาลต้องแบกรับภาระมากขึ้น (3)

เมื่อคนน้อย งานหนัก รายได้เท่าเดิม (ซึ่งดูเหมือนจะเป็นปัญหาของพยาบาลทั่วโลก) สิ่งที่ตามมาคือ "ไม่อยากจะทำต่อแล้ว" จากการสำรวจระหว่างประเทศของพยาบาล 2,500 คนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 รายงานว่าพยาบาล 64% กำลังมองหาที่จะออกจากงานด้านการแพทย์ เพิ่มขึ้นเกือบ 40% จากการสำรวจที่ดำเนินการในปี พ.ศ. 2564 สามในสี่ของผู้ตอบแบบสำรวจยอมรับว่ามีอาการหมดไฟ เผชิญกับเรื่องกระทบกระเทือนจิตใจ ความเครียดหรือพล็อต (3)

ในหนึ่งปี เวลาที่ใช้ในงานประจำในโรงพยาบาลนั้นเทียบเท่ากับการใช้งานพยาบาลเต็มเวลา 365 คน (3)

ส่วนคนที่ยังต้องทนกับงานนี้ต่อไป พวกเขาต้องรับสภาพงานที่จำเจและไร้ความหวังใหม่ๆ จากการสำรวจพบว่า 36.9% ของวันทำงานของพยาบาลใช้ไปกับกิจกรรมประจำ เช่น อาหาร ยารักษาโรค และการขนส่งซักรีด

จากการสำรวจของพยาบาลในโรงพยาบาลต่างๆ ของเดนมาร์ก พบว่าพยาบาลใช้เวลาเพียง 40.1% กับผู้ป่วย (3)

นั่นหมายความว่าเรากำลังใช้งานพยาบาลผิดวัตถุประสงค์หรือเปล่า? หากเทียบกับหุ่นยนต์ เรากำลังใช้งานพยาบาลทำงานเหมือนจักรกลเภสัชที่ทำงานจำเจซ้ำซากที่สามารถใช้หุ้นยนต์ก็ได้ แทนที่จะใช้งานพยาบาลเหมือนกันหุ่นยนต์คู่หู แต่พยาลบาลที่เป็นมุนษย์ย่อมมีความรู้สึกนึกคิดและความเข้าอกเข้าใจกับมนุษย์ด้วยกันมากกว่าหุ่นยนต์คู่หูแน่นอน ดังนั้น Yuman Robots จึงเข้ามาแก้ปัญหานี้ ด้วยการนำหุ่นยนต์มาช่วยในงานซ้ำซาก เพื่อที่พยาลาลจะได้ทำหน้าที่ "พยาบาล" จริงๆ ไม่ใช่แม่บ้าน

แม้ว่าจะมีการใช้หุ่นยนต์ในระบบสาธารณสุขมากขึ้น แต่มันก็ยังไม่ดีพอ Yuman Robots บอกว่า "หลายปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลได้พยายามปรับหรือติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมภายในโรงพยาบาล แต่เรื่องนี้กลับกลายเป็นความล้มเหลว เนื่องจาก (หุ่นยนต์) ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่องานด้านการดูแลสุขภาพและสภาพแวดล้อมของโรงพยาบาลโดยเฉพาะ นอกจากนี้ โซลูชันระบบอัตโนมัติที่มีอยู่ยังไม่ได้รวมการโต้ตอบโดยตรงกับพยาบาล ดังนั้นจึงไม่ได้ให้การสนับสนุนและความช่วยเหลือที่จำเป็นอย่างเร่งด่วนเพื่อให้มีเวลาเพียงพอสำหรับการดูแลผู้ป่วย" (4)

สรุปก็คือ หุ่นยนต์ของ Yuman Robots คือสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของพยาบาลโดยตรง และอาจเรียกได้ว่าเป็นประเภทใหม่ของหุ่นยนต์ที่ระบบสาธารณสุขต้องการอย่างมาก หรือจะให้เจาะจงกว่านี้คือ มันคือสิ่งที่พยาบาลต้องการอย่างมาก

Yuman Robots  เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2564 โดย 2 นักพัฒนา Sara และ Andrei ตัดสินใจที่จะมุ่งเน้นไปที่วิทยาการหุ่นยนต์ในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทในสาขาวิชาผู้ประกอบการ (MSc) หลังจากการตรวจสอบอย่างละเอียดในอุตสาหกรรมต่างๆ และความต้องการระบบอัตโนมัติ พวกเขาตระหนักว่ามีศักยภาพและความต้องการหุ่นยนต์อย่างมากในภาคการดูแลสุขภาพ และตั้งเป้าหมายในการผลักดันหุ่นยนต์ที่เป็นมิตรกับมนุษย์มาใช้ในโรงพยาบาล

Sara และ Andrei  บอกว่า "พวกเรากำลังทำภารกิจในการพัฒนาหุ่นยนต์ที่เป็นนวัตกรรมและไม่เหมือนใครเพื่อช่วยพยาบาลโดยทำกิจกรรมการขนส่งในหอผู้ป่วยโดยอัตโนมัติ ลดความเหนื่อยหน่ายของพยาบาล และเสริมสร้างระบบการดูแลสุขภาพเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยระดับโลกต่อไป" (3)

(Sara และ Andrei  ภาพจาก https://www.yuman-robots.dk)

 

หุ่นยนต์จะมีความจำเป็นอย่างมาก ในสังคมพัฒนาแล้วซึ่งมีอัตราการเกิดประชากรต่ำ และมีผู้สูงวัยจำนวนมาก ดังนั้นความต้องการพยาบาลจึงมีสูงมาก หากประเทศนั้นสามารถพัฒนาระบบหุ่นยต์มารองรับได้ ก็จะช่วยลดภาระของทุกฝ่าย

 

 

อ้างอิง

1. Wikipedia contributors. "Medical robot." Wikipedia, The Free Encyclopedia. Wikipedia, The Free Encyclopedia, 8 Feb. 2022. Web. 16 Oct. 2022.

2. Bayot, Asher (November 23, 2014). "U.S. Military Robots To Join Fight Against Ebola". Inquisitr.

3. https://www.yuman-robots.dk/#solution

4. https://www.yuman-robots.dk/about/

 

หมายเหตุ : ภาพปกเป็นภาพจากโรงพยาบาลราชวิถี 2 (รังสิต) ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา