ภก.ปรีชา พันธุ์ติเวช อุปนายกสภาเภสัชกรรม ในฐานะประธานติดตามการใช้ชุดตรวจ ATK ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กล่าวในรายการเฟซบุคไลฟ์ "ไขทุกปัญหา กระจ่างทุกประเด็น เรื่อง ชุดตรวจ ATK " ซึ่งจัดโดยสภาเภสัชกรรม เมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมาว่า สปสช.กำลังจะตรวจเยี่ยมผู้ประกอบการในประเทศ 2 ราย เพื่อผลิตชุดตรวจ ATK ขึ้นเองในประเทศ ช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้มีผู้ผลิตในประเทศผลิตออกมาจำหน่ายแล้ว 1 ราย ส่วนอีกรายกำลังเริ่มต้นกระบวนการผลิต
ภก.ปรีชากล่าวว่า ชุดตรวจ ATK ทีมีอยู่ในปัจจุบันทุกยี่ห้อสามารถตรวจโควิด-19 ได้ทุกสายพันธุ์ โดยจะรู้ว่าติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ แต่ไม่สามารถระบุสายพันธุ์ไม่ได้ การระบุสายพันธ์ต้องตรวจโดนวิธี RT-PCR เท่านั้น ดังนั้นข่าวลือที่ว่า ATK ไม่สามารถตรวจเชิ้อโควิด-19 สายพันธฺโอมิครอนได้จึงไม่เป็นความจริง
“น้ำยาในชุดตรวจจะไปจับส่วนสำคัญของไวรัส ข่าวลือว่าตรวจไม่ได้ไม่จริง ATK เหมาะสำหรับผู้เที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อแต่ยังไม่แสดงอาการ โดยต้องได้รับเชื้อมาแล้ว 5-14 วันจึงจะได้ผลที่แม่นยำ การตรวจ ATK ซึ่งผลไม่แม่นยำเกิดจากการปนเปื้อนของสถานที่ตรวจ ดำเนินการตรวจไม่ถูกต้อง ปริมาณไวรัสต่ำเลยตรวจหาไม่เจอ”ภก.ปรีชากล่าว
อุปนายกสภาเภสัชกรรมกล่าวว่า การใช้ชุดตรวจ ATK แบบตรวจน้ำลาย คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าบ้วนน้ำลายแล้วตรวจได้เลย แต่ที่จริงแล้วต้องงดน้ำงดอาหาร ห้ามสูบบุหรี่หรือบ้วนปาก งดการทำความสะอาดช่องปากก่อนตรวจ เหมาะกับเด็กและผู้สูงอายุ แต่มีความแม่นยำน้อย เพราะเชื้อมักพบในโพรงจมูก
“การตรวจโควิดเก็บตัวอย่างจากโพรงจมูกด้านในและนอก โพรงปาก ผลแม่นยำสูง ปัจจุบันมีการนำชุดตรวจที่แยงจมูกไป swab คอ ที่อินเดียหรืออิสราเอลตรวจทางคอกันส่วนใหญ่ แต่จริง ๆ ก็อย่าหาทำเลย ตรวจตามที่เขากำหนดมา ถ้าตรวจจมูกไม่ได้ผลก็มาตรวจที่คอได้ แต่โอกาสผลผิดพลาดมีเยอะ โดยหลักการตรวจเดียวกันถ้ามีเชื้อก็สามารถรู้ได้แต่ผิดวัตถุประสงค์ของชุดตรวจนั้น ๆ” ภก.ปรีชากล่าว
- 41054 views