“หมอสุระ” เผยข้อมูล ก.พ.กรณีการบรรจุนักศึกษาวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์เป็นข้าราชการปี 2564 เป็นปีสุดท้ายเป็นข้อมูลปี 2562 ย้ำแต่ปี 64 สธ.เตรียมรับมือแล้ว เหตุแต่ละปีมีตำแหน่งว่าง เกษียณรองรับได้ และเตรียมจัดทำแผนบริหารจัดการระยะยาว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ในแวดวงสาธารณสุข มีการแชร์ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) กรณีการบรรจุนักศึกษาวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์เป็นข้าราชการปี 2564 เป็นปีสุดท้าย ซึ่งมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์กรณีนี้ว่า จะส่งผลต่อขวัญกำลังใจนักศึกษาแพทย์และทันตแพทย์ที่กำลังศึกษาอยู่หรือไม่ รวมทั้งจะส่งผลต่อการตัดสินใจเรียนสาขาวิชาชีพนี้ในอนาคตหรือไม่ อย่างไร

เรื่องนี้ นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่เกิดขึ้นว่า ที่มีการแชร์ข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลเดิมตั้งแต่ปี 2562 ซึ่ง ทาง ก.พ. ได้มีการชี้แจงกรณีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้นิ่งนอนใจ เนื่องจากตำแหน่งในแต่ละปีสำหรับการบรรจุแพทย์และทันตแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุข จะมีอัตราตำแหน่งว่าง ตำแหน่งเกษียณ สามารถนำมารองรับตรงนี้ได้ สอดคล้องกับนักศึกษาที่จบในแต่ละปี แต่ไม่ว่าอย่างไร กระทรวงสาธารณสุขเตรียมพร้อมจัดทำแผนระยะยาวเกี่ยวกับการบริหารจัดการบุคลากรกระทรวงฯ เพื่อรองรับกรณีไม่ได้รับอัตราตำแหน่งการบรรจุตามที่ ก.พ.ระบุ คาดว่าจะมีการประชุมเร็วๆนี้

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับข้อชี้แจงของ ก.พ.ที่มีการแชร์กันในโซเชียลมีเดีย เป็นเอกสารเผยแพร่เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2562 โดยระบุเป็น 3 ประเด็น ดังนี้

1. ประเด็นการจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่เพื่อรองรับการบรรจุนักศึกษาวิชาแพทยศาสตร์และทันต แพทยศาสตร์ในปี พ.ศ. 2564 เป็นปีสุดท้าย

สำนักงาน ก.พ. ขอเรียนว่า มติ คปร. ดังกล่าวเกิดจากการทิจารณาข้อเสนอผลการวิเคราะห์อัตรากำลังของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง อ.ก.พ. กระทรวงสาธารณสุขได้มีมติเห็นชอบเป้าหมายอัตรากำลัง-องแต่ละสายงานภายในสำนักงานปลัดกระทรวงที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชน โดยกำหนดให้มีตำแหน่งนายแพทย์ 24,560 อัตรา ทันตแพทย์ 7,512 อัตรา และเภสัชกร 13,217 อัตรา

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้นำเสนอข้อมูลต่อ คปร. ด้วยว่า ณ ปัจจุบัน มีอัตรากำลังข้าราชการตำแหน่งนายแพทย์ 19,504 อัตรา และทันตแพทย์ 5,493 อัตรา ซึ่งยังต่ำกว่าเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยข้อมูลที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอได้แสดงให้เห็นว่า หากมีการเพิ่มตำแหน่งนายแพทย์และทันตแพทย์ปีละประมาณ1,880 อัตรา ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มตามปกติของทุกปีที่ผ่านมา เมื่อถึงปี พ.ศ. 2564 อัตรากำลังตำแหน่งนายแพทย์จะมีจำนวน 23,692 อัตรา และทันตแพทย์จะมีจำนวน 6,426 อัตรา ต่ำกว่าเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด จำนวน 868 อัตรา และ 1,089 อัตราตามลำดับ   ทำให้จะสามารถนำอัตราว่างจากการเกษียณอายุราชการมากำหนดเพื่อรองรับการบรรจุนักศึกษา วิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ให้เพียงพอกับความต้องการได้ ดังนั้น เมื่อ คปร. ได้พิจารณาข้อมูลที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอมาแล้ว จึงเห็นว่าในปี พ.ศ. 2564 จะมีอัตรากำลังนายแพทย์และทันตแพทย์ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด จึงได้แจ้งให้กระทรวงสาธารณสุขทราบว่าในปีพ.ศ. 2564 จะจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่เพื่อรองรับการบรรจุนักศึกษาวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ให้เป็นปีสุดท้าย เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขสามารถจัดสรรตำแหน่งให้กับนักศึกษาแพทย์จบใหม่จากตำแหน่งที่ว่างจากการเกษียณได้

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและเป็นการเตรียมการรองรับความเปลี่ยนแปลง ของสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต กระทรวงสาธารณสุขอาจเสนอผลการวิเคราะห์ความต้องการอัตรากำลังที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ให้ คปร. พิจารณาไต้ เพื่อให้มีข้อมูลความต้องการนายแพทย์และทันตแพทย์ที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงและมีสัตส่วนของบุคลากรทางการแพทย์ต่อจำนวนประชากรที่เหมาะสม สามารถให้บริการไห้อย่างมีคุณภาพ

2. ประเด็นเรื่องการงดบรรจุแพทย์และทันตแพทย์ ซึ่งหากไม่มีการบรรจุเป็นข้าราชการนักศึกษาแพทย์ส่วนใหญ่จะออกไปทำงานในภาคเอกชน ทำให้ไม่มีคนทำงานในภาครัฐ

สำนักงาน ก.พ. ขอเรียนว่า กระทรวงสาธารณสุขสามารถบรรจุนักศึกษาวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ โดยใช้ตำแหน่งว่างที่กระทรวงสาธารณสุขมือยู่และตำแหน่งที่จะว่างจากการเกษียณอายุ (แต่ละปีกระทรวงสาธารณสุขจะมีตำแหน่งว่างประมาณ 6,000-10,000อัตรา และกระทรวงสาธารณสุขควรวางแผนบริหารจัดการเพื่อรองรับการบรรจุนักศึกษาวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ที่จะจบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ

3.ประเด็นความกังวลเรื่องการขาดแคลนแพทย์โดยเฉพาะในชนบท และโรงพยาบาลชุมชนยังต้องการแพทย์เข้ามาหมุนเวียนเพื่อรองรับผู้ป่วย

ขอเรียนว่า การบรรจุนายแพทย์และทันตแพทย์เป็นข้าราชการจะยังคงมีอยู่ และกระทรวงสาธารณสุขมีหลักเกณฑ์และเงื่อนใขการจัดสรรนักศึกษาวิชาแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์อยู่แล้ว ดังนั้น การบริหารจัดการอัตรากำลังเพื่อให้สอดคลัองตามหลักเกณฑ์และความจำเป็นดังกล่าว จึงเป็นความท้าทายของกระทรวงสาธารณสุขที่จะบริหารจัดการและกระจายการบรรจุนักศึกษาแพทย์และทันตแพทย์ไปยังพื้นที่ชนบทเพื่อนแก้ปัญหาการขาดแคลนต่อไป

ข้อมูลที่มีการแชร์ในโซเชียลฯ แต่เป็นข้อมูลเมื่อปี 2562