การแพร่กระจายชองข่าวปลอม เทียบได้กับโรคระบาด หรือที่เรียกกันว่า Infodemic ซึ่งการป้องกันและสกัดกั้นการแพร่ระบาดของข่าวปลอม รวมทั้งข้อมูลข่าวสารที่ส่งผลกระทบด้านลบกับผู้คนก็เช่นเดียวกันกับการสกัดกั้นโรคระบาด นั่นคือการทำลายพาหะและการสร้างภูมิคุ้มกัน

 

เวทีสัมมนานักคิดดิจิทัลครั้งที่ 14 ส่งท้ายปี 2020 ซึ่งจัดโดยภาคีโคแฟค (COFACT) ประเทศไทย และเครือข่าย อาทิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาลันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเ?สไทย(องค์การมหาชน) หรือ TIJ ได้สรุปบทเรียนชวนคิดว่าด้วยเรื่อง “พลเมืองดิจิทัลในการรับมือยุคนิวนอร์มอล” ในหัวข้อ “โรคระบาดข้อมูลข่าวสารกับความเข้มแข็งของพลเมืองยุคดิจิทัล” นำเสนอทความโดย พีรพล อนุตรโสตถี ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท.

 

พีรพล อธิบายความหมายของ “พลเมืองดิจิทัล” ว่าเป็นผู้ที่เข้าสู่อินเตอร์เนตแล้วสามารถใช้หรือมีส่วนร่วมในสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบและปลอดภัย

ทั้งนี้ พีรพล กล่าวถึงทักษะที่พลเมืองดิจิทัลควรจะมี 9 ทักษะ ได้แก่ 1.ทักษะในการรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง 2.ทักษะในการรักษาข้อมูลส่วนตัว 3.ทักษะในการคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี 4.ทักษะในการจัดสรรเวลาหน้าจอ 5.ทักษะในการรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ 6.ทักษะในการบริหารจัดการข้อมูลที่ผู้ใช้งานทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ 7.ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์ 8.ทักษะในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม

 

“การเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ infodemic ทักษะที่ช่วยปกป้องเรายังไม่มี ไม่รองรับโรคระบาดข่าวปลอม การมีอยู่ของข่าวปลอมยังมีรายได้ การรับมือกับข้อมูลเท็จ โรคอุบัติใหม่ที่แพร่ระบาดรุนแรง อันตรายร้ายแรง คนเข้าถึงข้อมูลยาก และทำให้เชื่อข้อมูลที่เข้าถึงง่ายกว่า ผมอยากเสนอถึงการอยู่กับสถานการณ์ที่ยืดเยื้อ เพราะเมื่อเราไว้เนื้อเชื่อใจกับคนที่เราเจอแล้วไปใช้ความไว้เนื้อเชื่อใจนั้นในโลกดิจิทัล ซึ่งเป็นทักษะอย่างที่ 9 คือ ทักษะในการแยกแยะโลกดิจิทัลกับโลกจริง”

 

ด้าน ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ เลขาธิการมูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา /ที่ปรึกษาภาคีโคแฟค สะท้อนสิ่งที่ต้องการนำเสนอจากบทความของพีรพล ว่า การเสนอให้คนเชื่อมโยงโลกดิจิทัลกับโลกจริงนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ หากใส่ความเป็นมนุษย์ลงไปจะทำให้จัดความสัมพันธ์ระหว่างโลกจริงกับโลกออนไลน์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

 

ขณะที่ อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์ม 77 ข่าวเด็ด กล่าวถึงกรณี “ทัวร์ลง” ว่าเป็นโรคระบาดและพฤติกรรมอาจเป็น infodemic

 

“ทัวร์ลงเป็นโรคระบาดข้อมูลข่าวสารมีคนเริ่มต้น คนติดเชื้อจากเฟคนิวส์ได้ง่ายเพราะมีอารมณ์โดยไม่เคยตรวจสอบข้อเท็จจริง เป็นโรคระบาดที่คนมีภูมิต้านทานไม่พอ คนที่ถูกทัวร์ลงถ้าภูมิต้านทานไม่พออาจเกิดอาการประสาท ความขัดแย้งทางการเมืองมาจากการรับรู้ข้อมูลที่ติดเชื้อของแต่ละฝ่าย ติดเชื้อความรุนแรง และเฟคนิวส์” อดิศักดิ์ กล่าว

 

นอกจากนี้เวทีสัมมนายังมีการระดมความเห็นเรื่อง “การส่งเสริม Digital Intelligence ให้กับพลเมืองดิจิทัลรับมือด้านมืดไซเบอร์ยุคนิวนอร์มอล” นำเสนอโดย สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งภาคีโคแฟค ประเทศไทย โดยระบุว่า ผลกระทบจากโลกยุคนิวนอร์มอลจะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมสูงวัย อัตราการเกิดลดลง ภาวการณ์จ้างงาน การทดแทนแรงงาน ตัวอย่างอาชีพที่มีแนวโน้มถูกแทนที่เช่น พนักงานคอลเซ็นเตอร์ ผู้เตรียมเอกสารภาษี ผู้ประเมินความเสียหายด้านการประกันภัยรถยนต์ กรรมการ เจ้าหน้าที่การกีฬาต่างๆ โบรคเกอร์ ผู้รับเหมาแรงงานในภาคเกษตร คนเดินเอกสารพัสดุสิ่งของ ส่วนอาชีพที่จะถูกทดแทนต่ำสุดคือ เจ้าหน้าที่จิตเวช นักสังคมสงเคราะห์ นักออกแบบท่าเต้น แพทย์ และศัลยแพทย์ วิศวกรเรือ ผู้บริหารระดับสูง เป็นต้น

 

สุภิญญา กล่าวถึง Digital Intelligence หรือความฉลาดของพลเมืองยุคดิจิทัล ว่ามี 4 ปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ 1.บริบท (สมอง) เราเข้าใจและประยุกต์ใช้ความรู้ของเราอย่างไร 2.อารมณ์ (หัวใจ) เรามีกระบวนการและการบูรณาการความคิดและความรู้สึกและเชื่อมโยงตัวเองกับคนอื่นอย่างไร 3.แรงดลใจ (จิตวิญญาณ) เราใช้ความรู้สึกของตัวตน จุดหมายร่วม ความไว้วางใจและคุณงามความดีอื่นเพื่อส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงและการกระทำไปสู่ประโยชน์ส่วนรวมได้อย่างไร 4.กายภาพ (กาย) เราหล่อหลอมบ่มเพาะและรักษาสุขภาพและสุขภาวะส่วนตัวของตนเองและบุคคลแวดล้อมอย่างไรให้อยู่ในสถานะที่จะใช้พลังงานที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนของตนเองและระบบต่างๆ

 

ในขณะที่ด้านมืดของไซเบอร์นั้น สุภิญญา กล่าวอ้างถึง CNBC ที่ชี้ว่าอัตราการเข้าชม Pornhub ช่วงโควิด-19 ของผู้คนทั่วโลกเพิ่มขึ้น และในประเทศไทยก็มีอัตราการเข้าชมที่สูงอยู่ในระดับต้นๆ โดยมีการเปิดเผยตัวเลขสถิติต่างๆอย่างชัดเจนผ่านทางหน้าเว็บไซต์อย่างเป้นทางการในชื่อรายงานพิเศษว่า Coronavirus Insight โดยในอิตาลี ฝรั่งเศส และสเปน มียอดผู้ชมเพิ่มขึ้นจากปกติอย่างมากถึง 57,38 และ 61 เปอร์เซ็นต์

 

“ผลกระทบของ Dark Net หรือด้านมืดในโลกออนไลน์ บีซีได้รับรายงานว่าเจ้าของเว็บไซต์หนังผู้ใหญ่อย่าง Pornhub ทำเงินจากหนังที่คนอัพโหลดเพื่อแก้แค้นกันและไม่เอาวีดีโอดังกล่าวออกแม้ผู้เสียหายจะรายงานแจ้งไป ผู้หญิงคนหนึ่งชื่อโซฟี บอกว่าเธอรู้สึกถูกล่วงละเมินเมื่อวีดีโอที่มีเธอโป๊เปลือยมีคนเข้ามาชมหลายแสนครั้ง”

 

ในขณะที่ประเด็นอื่นๆเช่น Cyber crimes อาชญากรรมออนไลน์ก็มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้น อาทิ เสนองานออนไลน์ ,ลวงบริจาค,สวมรอยเป็นตัวแทน หรือผู้เชี่ยวชาญไอที และลวงเล่นพนันออนไลน์

“การโฆษณาอาหารและยาผิดกฎหมายออนไลน์ก็ยังคงเป็นปัญหาออนไลน์ที่มาอันดับหนึ่งปีที่แล้ว คือเรื่องของการซื้อยาในออนไลน์ เพราะมีการโฆษณาให้น่าเชื่อถือจงใจหลอกขาย และยังเข้าถึงง่ายอีกด้วย แต่การขายยาผ่านออนไลน์ผิดกฎหมาย เพราะยาต้องขายในสถานที่ตั้งเท่านั้น เรื่องเหล่านี้ได้รับร้องเรียนมาตั้งแต่เป็น กสทช.แล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขได้” สุภิญญา กล่าว

 

ด้าน ดร.นภัทร เรืองนภากุล รองคณบดี คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่าในประเทศออสเตรเลียมีการสอนให้เด็กขยายความฉลาดทางดิจิทัลตั้งแต่ชั้นอนุบาล 2 สอนให้มี Well Being Live เพื่อรองรับปี 2030 ที่นำมาสอนตั้งแต่เด็กนั่นก็หมายความว่ามีความสำคัญและเด็กยังเกี่ยวข้องกับคน และคนเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสังคม