โฆษก ศบค. เปิดร่างกิจการคลายล็อกเฟส 4 อนุญาตดื่มเหล้าในร้านอาหาร ภัตตาคารได้ แต่ยังห้ามผับบาร์ คาราโอเกะ อาบอบนวด และยังไม่ยกเลิกเคอร์ฟิว ทุกอย่างรอเคาะอีกครั้ง 12 มิ.ย.นี้
เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) กล่าวว่า คณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณากำหนดมาตรการผ่อนคลายการบังคับใช้บางมาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้มีการพิจารณากิจการกิจกรรมที่จะผ่อนคลายในระยะที่ 4 ซึ่งขณะนี้ยังเป็นฉบับร่าง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. การผ่อนผันการใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา คือ ให้โรงเรียนนานาชาติ และสถาบันกวดวิชาเปิดได้แล้ว ซึ่งเป็นคนละส่วนกับการเปิดเทอมของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) วันที่ 1 ก.ค. ตามปกติ นอกจากนี้ ให้หน่วยงานราชการ-กำกับของรัฐ อบรมสัมมนาในหลักสูตรฝึกอบรมที่หน่วยงานจัดขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้องมีการดูแลนักเรียน มีระบบพื้นที่พอสมควร ให้นั่งเรียนห่างกันได้ เป้นต้น
2. กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต แบ่งเป็น ก. การจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม โดยในภัตตาคาร สวนอาหาร โรงแรม ร้านอาหารหรือเครื่องดื่มทั่วไป ไม่รวมสถานบริการผับบาร์ คาราโอเกะ การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด ด้วยความมีระเบียบ และงดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ภายใต้การควบคุมกำกับของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ต้องไม่มีการเชียร์เบียร์ โดยมาตรการหลัก 5+1 คือ อยู่ห่าง ใส่แมสก์ หมั่นล้างมือ ทำความสะอาดพื้นผิว ไม่แออัด และต้องลงทะเบียนไทยชนะ ส่วนมาตรการเสริม คือ กิจกรรมยังไม่ให้เสียงดัง บุฟเฟต์งดตักอาหารส่วนกลางด้วยตัวเอง เป็นต้น โดยจะมีคู่มือปฏิบัติออกมาเพื่อให้หน่วยงานกำกับเข้าไปดูแลได้ และผู้ประกอบการใช้ในการทำกิจการ
ข.สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยหรือศูนย์เด็กเล็ก และสถานดูแลผู้สูงอายุ ที่เคยอนุญาตให้เฉพาะพักค้างคืน ตอนนี้ให้เป็นแบบไปกลับได้ อย่างไรก็ตาม เด็กเล็กมักจะมีการมาเล่นกัน ครูพี่เลี้ยงต้องคอยดูแล โดยเด็กต้องมีพื้นที่ต่อคน คือ 2 ตารางเมตรต่อคน
ค.ห้องประชุมโรงแรม ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า สถานที่จัดนิทรรศการ โรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ สถานที่ราชการเพื่อจัดประชุม อบรม สัมมนา เปิดขึ้นได้แล้ว โดยประชุมอบรมสัมมนา คิดเกณฑ์ 4 ตารางเมตรต่อคน จัดงานเลี้ยง อีเวนต์ เปิดตัวสินค้า ประกวด แข่งขันกีฬาที่ไม่มีคนดูทำได้ แต่ต้องมีนะยะห่าง 1 เมตร และงานแสดงดนตรี คอนเสิร์ต ให้มีได้ แต่ต้องลดความหนาแน่น ต้องมีระเบียบ เกณฑ์คือ 5 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งต้องระวังเรื่องการกระจายของละอองฝอยน้ำลายด้วย นอกจากนี้ ต้องลดแออัด งดกิจกรรมส่งเสิมการขายที่จะไปอยู่ใกล้ชิดกัน มีการจัดเว้นที่นั่ง
ง. ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา เช่น ท้องฟ้าจำลอง จะอนุญาตให้เปิด
จ. การขนส่งสาธารณะ อาจให้นั่งติดกัน 2 ที่นั่ง เว้น 1 ที่นั่ง โดยจำกัดไม่เกิน 70% ของความจุผู้โดยสารตามมาตรฐาน
3. กิจกรรมด้านออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพ และสันทนาการ แบ่งเป็น ก.กองถ่าย เพิ่มจำนวนคนได้ รวมทุกแผนกไม่เกิน 150 8น มีผู้เข้าชมไม่เกิน 50 คน โดยฝากเรื่องของการใส่เฟซชีลด์อย่างเดียวไม่ใส่หน้ากากป้องกัน แต่ยืนใกล้กัน ตรงนี้ไม่ช่วยป้องกันอะไร
ข. สถานประกอบการด้านสุขภาพ สปา ออนเซ็น อบตัว สมุนไพร อบไอน้ำแบบรวมสามารถเปิดได้ แต่ยังยกเว้นกิจการอาบอบนวด ยังไม่ได้ และจำกัดจำนวนผู้ใช้บริการต่อรอบคิดตามเกณฑ์ 5 ตารางเมตรต่อคน
ค. สวนสุนก สนามเด้กเล่น สวนน้ำ สระว่ายน้ำสาธารณะ เปิดได้แล้ว ไลฟ์การ์ดต้องคอยดูแลคำแนะนำ แต่ยังยกเว้นเครื่องเล่นที่มีผิวสัมผัสมาก เช่น บ้านบอล เพระาสารคัดหลั่งจะไปอยู่กีบลูกบอล ทำความสะอาดยาก และเป็นที่หมักหมมของเชื้อโรค ส่วนสวนน้ำและสระว่ายน้ำ คิดเกณฑื 8 ตารางเมตรต่อคน
ง. สนามกีฬาประเภทกลางแจ้ง โรงเรียนศิลปะการต่อสู้ โรงยิม และสถานที่ออกกำลังกาย คือ ทุกประเภทกีฬาสากล เพื่อออกกำลังกาย ฝึกซ้อม การเรียนการสอน ทำได้หมด โดยแข่งได้แต่ยังไม่มีผู้ชม อาจจะถ่ายทอดสดได้ และต้องไม่มีกิจกรรมอื่นมาร่วมด้วย เช่น การส่งเสริมการขายต่างๆ
จ. สวนสาธารณะ ลานกีฬา ก็สามารถจัดกิจกรรมรวมกลุ่ม เช่น เต้นแอโรบิค ได้ รวมกลุ่มโดยคิดเกณฑ์ 5 ตารางเมตรต่อคน รวมกันไม่เกิน 50 คน
ฉ. ตู้เกม เครื่องเล่นหยอดเหรียญ ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตีมอลล์ โรงมหรสพ สวนสนุก สามารถเปิดได้ ยกเว้นร้านเกมภายนอกนี้ยังไม่ได้ จำกัดเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อคน
"ตรงนี้เป็นเพียงฉบับร่าง อาจจะมีการปรับเปลี่ยน ยกเลิก หรือเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการ ศบค.ชุดใหญ่ที่จะมีการประชุมกันในเช้าวันศุกร์ที่ 12 มิ.ย. แต่เบื้องต้นมีประมาณนี้ โดยท่านอาจจะช่วยกันจำแนกวิเคราะห์หรือช่วยกันออกแบบ หากอยากมีกิจการกิจกรรมต่างๆ เหมือนก่อนที่จะมีโควิด เราจะต้องการทุกอย่างอย่างนั้นไม่ได้ นิวนอร์มัลที่ว่าจะต้องเข้ามาตรงนี้ ต้องคำนึงึงไปกิจกรรมนี้หากติดเชื้อขึ้นมาจะจัดการตัวเองและคนอื่นได้อย่างไร และทำอย่างไรให้ปลอดเชื้อไปเรื่อยๆ เพื่อให้เศรษฐกิจต่างๆ หมุนเวียนไปได้" นพ.ทวีศิลป์กล่าว
เมื่อถามถึงกรณีการเตรียมทดลองยกเลิกเคอร์ฟิว 15 วัน นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า วันนี้ยังไม่มีการหารือกัน สาระสำคัญยังเป็นเรื่องการยกร่างมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 4 แต่คิดว่าวันที่ 12 มิ.ย.นี้ให้ติดตามอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้มีหลายข่าวออกมาก็ยังไม่มีอะไร
เมื่อถามว่าได้หารือถึงการเปิดให้ต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวด้านสุขภาพหรือไม่ นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า ก็เป็นข้อพิจารณา แต่ก่อนแถลงยังไม่มีการพูดถึงประเด็นนี้ อาจมีชุดย่อยที่พูดคุยไปบ้างแล้ว หากมีข้อมูลเพิ่มเติมก็จะนำมาเรียน ก็มีแนวคิดแบบจับคู่กันประเทศที่มีการติดเชื้อน้อยๆ หรือบางประเทศที่มีคนทำงานมี Work Permit เข้ามาก่อน ก็เข้ามาแบบปลอดภัย ได้เม็ดเงินเข้ามาอดหนุน แต่ตอนนี้ทั่วโลกการปล่อยเข้ามา 1 ก็ต้องคิดว่าทำไมประเทศนั้นได้ ไม่ได้ หลายประเทศก็อยากเข้ามา ต้องคิดแง่มุมค่าใช้จ่ายในการที่มีคนป่วยด้วย ต้องคิดในหลายมิติ
ถามต่อว่าร่างผ่อนคลายนี้ การผ่อนปรนในร้านอาหารให้ดื่มแอลกอฮอล์ได้ แต่เหตุใดยังไม่เปิดบริการผับบาร์ คาราโอเกะ นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า ผับบาร์ คาราโอเกะ เราจัดกลุ่มไว้ที่เสี่ยงสูง และมีการรายงานมาก่อนหน้านี้มีกลุ่มก้อนติดเชื้อเยอะช่วงหนึ่ง เช่น กรณีทองหล่อ ก็มีบทพิสูจน์แล้วว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มก้อนนี้ก็มีส่วนผลักดันเศรษฐกิจระดับหนึ่ง ซึ่งไม่ได้สำคัญสูงเท่าด้านอื่นๆ แต่กลุ่มก้อนร้านอาหารมีความสำคัญดำรงชีวิตประจำวัน แต่การนั่งร้านอาหารไม่ได้นั่งยาวแบบผับบาร์ เป็นมื้อๆ แล้วก็กลับ การอนุญาตให้ขายสุรา ก็จะดูเรื่องความเหมาะสม และประวัติการเป็นเหตุให้ติดเชื้อ จึงมีความแตกต่างกัน ร้านอาหารมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและดำรงชีวิต
ถามว่าจะเริ่มผ่อนคลายเมื่อไร นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า ระยะที่ 4 ก็น่าจะอยู่ในช่วงกลาง มิ.ย.ถึงสิ้นเดือนมิ.ย. ก็อาจจะเป็นวันที่ 14 หรือ 15 มิ.ย. ก็จะเข้าสู่ระยะที่ 4 เต็มที่ ต้องขอบคุณประชาชนที่ทให้การติดเชื้อในประเทศไทยยังไม่พบการรายงานมาติดต่อกัน 2 สัปดาห์กว่าๆ แล้ว ก็ขอให้ยาวต่อไปอีก ตอนนี้ก็มีข่าวว่าประเทศจีนยังปิดอยู่ แต่จะให้ท่องเที่ยวกันในประเทศ อย่างประเทศไทยเรา ไทยเที่ยวไทยกันเอง เม็ดเงิน 30% โดยประมาณ ก็สามารถใช้ช่วยกันกระตุ้นเศรษฐกิจได้ คนไทยปราศจากเชื้อ อยู่ด้วยกันเจอกันก็สบายใจ ดีกว่าเห็นคนจากนอกเข้ามาก็ไม่รู้ว่าเอาเชื้อเข้ามาหรือไม่ ถ้าเลยไปเป็นเดือนไปไหนมาไหนก็สบายได้เหมือนเดิม
- 22 views