สระบุรีคัดเลือกสมุนไพรพื้นถิ่นจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ดอกเข้าพรรษา, มัลเบอร์รี่, ข้าวเจ๊กเฉยเสาไห้ เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบหลักในการสร้างสรรผลิตภัณฑ์ เครื่องดื่มน้ำข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ผสมนม, แชมพูมัลเบอร์รี่ และ ไวท์เทนนิ่ง & ไบร์ทเทนนิ่ง เฟเชียล เซรั่ม ดอกเข้าพรรษา

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี ร่วมกับวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญบุรี พัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นของจังหวัดสระบุรี ภายใต้โครงการ “พัฒนาผู้ประกอบการด้านการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร” ซึ่งจังหวัดสระบุรีเป็น 1 ใน 5 ของพื้นที่กลุ่มเป้าหมายที่ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญบุรีเลือกเป็นพื้นที่นำร่อง เพราะมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น มีกลุ่มผู้ประกอบการที่เข้มแข็ง หน่วยงานสาธารณสุขให้การสนับสนุน และที่สำคัญผู้บริหารระดับจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ก็เร็งเห็นถึงความสำคัญและให้แนวทางการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะเครือข่ายคณะกรรมการเมืองสมุนไพรจังหวัดสระบุรี ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะมีแนวทางการขับเคลื่อนเฉพาะด้าน แต่ยังคงความสอดคล้องและจุดมุ่งหมายเดียวกัน

ทั้งนี้ จังหวัดสระบุรีคัดเลือกสมุนไพรพื้นถิ่นจำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ดอกเข้าพรรษา, มัลเบอร์รี่, ข้าวเจ๊กเฉยเสาไห้ เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบหลักในการสร้างสรรผลิตภัณฑ์ และส่วนผสมอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ นม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดชมหาราช ทรงพระราชทานเป็นอาชีพให้กับเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 เป็นต้นมา

ผลิตภัณฑ์ 3 ตัว ได้แก่

1. เครื่องดื่มน้ำข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ผสมนม Rice Drink Jek Chuey Sao Hai and Milk

       

ผลการทดสอบ : มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเอนไซม์แอลฟาอะไมเลส และแอลฟากลูโคซิเดส

2. แชมพูมัลเบอร์รี่ Mulberry Hair Shampoo

    

ผลการทดสอบ : มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอสระ กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์รากผม ชะลอการหลุดล่วงของเส้นผม สามารถยับยั้ง 5α-reductase ในเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก (DU-145) อีทั้งยังมีฤทธิ์กระตุ้นเม็ดสีเมลาโนไซต์

3.ไวท์เทนนิ่ง & ไบร์ทเทนนิ่ง เฟเชียล เซรั่ม ดอกเข้าพรรษาWhitening & Brightening Facial Serum With Globba Flower

   

ผลการทดสอบ : มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส มีฤทธิ์ยับยั้งเม็ดสีเมลานิน

ผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 ตัว ที่กำลังจะออกสู่ช่องทางการตลาดนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี ร่วมกับมหาวิหาวิทยาลัยเทคโนโลยีธัญบุรี ทำการศึกษาทดลองในห้องปฏิบัติการจนได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานสากล และร่วมวางแผนต่อยอดกับภาคีเครือข่ายคณะกรรมการเมืองสมุนไพร ตั้งแต่การพิจารณาคุณสมบัติผู้ประกอบการที่จะทำเอาผลิตไปสู่กระบวนการผลิต ตลอดจนการจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร

จังหวัดสระบุรี นำทีมโดยนายแพทย์แพทย์สาธารณสุขสระบุรี ผู้แทนส่วนราชการและผู้ประกอบการเข้าร่วมรับมอบสิทธิ์การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562 ณ ศูนย์วัตกรรมและความรู้ KMUTT Inovation & Knowledge ชั้น 7 อาคาร DD Mall จตุจักร

ซึ่งกระบวนการพัฒนาสมุนไพรที่เป็นอัตลักษณ์จังหวัดสระบุรียังไม่หยุดยั้งเพียงเท่านี้ และขีดความสามารถของจังหวัดสระบุรีจะต้องสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นไปสู่ระดับสากลได้อย่างแน่นอน

ผู้ให้ข้อมูล ภญ.ชวัลวลัย เมฆสวัสดิชัย เภสัชกรชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี