องค์การอนามัยโลกเผยแพร่แนวทางเวชปฏิบัติหรือไกด์ไลน์สำหรับการใช้อุปกรณ์และบริการ Digital Heatlh ฉบับแรก
17 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกเผยแพร่ไกด์ไลน์สำหรับการใช้อุปกรณ์และบริการ Digital Health โดยนับว่าเป็นฉบับแรกของโลก ภายในมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าถึงบริการสุขภาพผ่านทางอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟนและแทปเล็ตต่าง ๆ สำหรับประชาชนทั่วไป ผู้ออกแบบนโยบาย แพทย์ เจ้าหน้าที่และรวมไปถึงกลุ่มคนทำงานในวงการสาธารณสุข เพื่อปรับปรุงสุขภาพและบริการที่จำเป็นแก่ประชาชน
หลังจากเป็นที่แน่นอนพร้อมมีหลักฐานชัดเจนแล้วว่า Digital Health ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด ล้วนแต่สร้างประโยชน์อันมหาศาลให้แก่ทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการทั้งสิ้น องค์การอนามัยโลกจึงได้จัดทำไกด์ไลน์ขึ้นมา หลังจากได้ทำการทบทวนหลักฐานจากการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีร่วมกับหารือกับผู้เชี่ยวชาญอย่างเป็นระบบจากทั่วโลกเป็นระยะเวลากว่า 2 ปีเพื่อที่จะนำเสนอข้อเสนอแนะและแก่นสารสำคัญในการใช้อุปกรณ์รวมถึงบริการจาก Digital Health เพื่อมุ่งสู่การเกิดประโยชน์อันสูงสุดต่อการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีแก่ประชาชนทั่วโลก
โดยภายในเนื้อหาแนวทางดังกล่าวได้มีการพูดถึงความจำเป็นในการฝึกอบรมสำหรับการใช้งาน Digital Health อย่างเหมาะสมและถูกต้องเพื่อก่อให้เกิดสุขภาพที่ดีของประชาชนสำหรับผู้ปฏิบัติงานและเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการทางสุขภาพ
รวมทั้งเน้นย้ำถึงความสำคัญของการจัดหาสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนสำหรับการฝึกอบรม การจัดการกับโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่เสถียร ตลอดจนนโยบายในการปกป้องและกำกับดูแลความเป็นส่วนตัวของประชาชน จนไปถึงการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและ Digital Health เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องมือหรือเทคโนโลยีต่าง ๆ ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อันสูงสุด โดยเฉพาะกับกลุ่มคนเปราะบางที่มีความยากลำบากในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพ การนำ Digital Health มาใช้จะช่วยอำนวยความประโยชน์ให้แก่ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ
อย่างไรก็ดี แนวทางไกด์ไลน์ดังกล่าวยังเน้นย้ำถึงข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จาก Digital Health เช่น การรักษาความปลอดภัยและข้อควรคำนึงถึงการเผยแพร่ข้อมูลสุขภาพที่ละเอียดอ่อนของประชาชน เมื่อข้อมูลเหล่านี้สามารถมองเห็นได้ง่ายขึ้นกว่าในอดีตรวมถึงความเสี่ยงต่าง ๆ
นอกจากนี้ เพื่อช่วยให้รัฐบาลแต่ละประเทศเข้าถึงประโยชน์จากการนำ Digital Health มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดรวมถึงลงทุนในเทคโนโลยีดังกล่าวให้เพิ่มขึ้นกว่าเดิม ทางองค์การอนามัยโลกยังได้จับมือร่วมกับ Digital Health Atlas แพลทฟอร์มที่จัดเก็บข้อมูลและกิจกรรมด้านสุขภาพดิจิทัลบนโลกออนไลน์ ทั้งยังเป็นพันธมิตรกับ ITU เช่น BeHe@lthy และ BeMobile โครงการสำหรับการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ รวมถึงการสร้างขีดความสามารถด้านสุขภาพดิจิทัลผ่านสำนักงานภูมิภาคขององค์การอนามัยโลกในทวีปแอฟริกา
“การใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีทางการแพทย์ช่วยเพิ่มโอกาสในการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีแก่ประชาชน อย่างไรก็ตาม ยังคงมีหลักฐานที่เน้นให้เห็นถึงความท้าทายจากผลกระทบของการใช้นวัตกรรมบางอย่าง
“ถ้าหาก ดิจิทัลเทคโนโลยีมีความยั่งยืนและบูรณาการเข้ากับระบบสาธารณสุข พวกเขาจะมีความสามารถในการแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาในระยะยาวที่ดีขึ้นไปจากการให้บริการทางสาธารณสุขแบบเดิม” Dr. Soumya Swaminathan หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ในองค์การอนามัยโลกกล่าวถึงเป้าประสงค์ของการจัดทำแนวทางการใช้ Digital Health
ที่มา: WHO releases first guideline on digital health interventions [www.who.int]
- 158 views