หัวหน้าผู้ตรวจฯ สธ. แนะชวนคนเลิกบุหรี่ ต้องกำหนดกลุ่มเสี่ยงชัดเจน พร้อมมอบผู้ตรวจราชการเขตติดตามผลงานใกล้ชิด เน้นเป็น PA ตัวชี้วัดกระทรวง ระบุคนเลิกสูบได้ 1 คน เท่ากับลดโรคมหาศาล เผยเริ่มลงเยี่ยมให้กำลังใจปลายเดือนธันวาคมนี้เป็นต้นไป
นพ.บุญชัย ธีระกาญจน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข
เมื่อวันที่ 28 พ.ย.61 นพ.บุญชัย ธีระกาญจน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายหมออนามัย เพื่อขับเคลื่อนโครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน ปีที่ 3 จัดโดย สมาคมหมออนามัย สสส. และภาคีเครือข่ายหลัก 4 องค์กร นำโดย นายมงคล เงินแจ้ง นายกสมาคมหมออนามัย นายธาดา วรรธนปิยกุล ประธานมูลนิธิเครือข่ายหมออนามัย นายประพัทธ์ ธรรมวงศา นายกสมาคมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย และนายปิ่น นันทะเสน นายกสมาคมวิชาชีพสาธารณสุข และบุคลากรในสังกัด กว่า 90 คน ร่วมประชุม ณ โรงแรมนนทบุรีพาเลซ อ.เมือง จ.นนทบุรี
นพ.บุญชัย กล่าวว่า บทบาทของสำนักตรวจราชการกระทรวง คือการสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการทำงานตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำกับติดตาม สั่งการให้มีความชัดเจน โดยให้สำนักตรวจนำเรื่องนี้มากำหนดเป็นข้อตกลงการปฏิบัติงาน (Performance Agreement) และการกำหนดตัวชี้วัด หรือ (PA) ซึ่งเรื่องโครงการ 3 ล้าน 3 ปี เลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน ปี 3 ได้กำหนดเป็น PA กระทรวงแล้วและสำนักตรวจฯ ได้กำหนดอยู่ในภารกิจการตรวจราชราชการที่จะลงติดตามในพื้นที่ ซึ่งจะมีการติดตามรอบแรกประมาณเดือนธันวาคม 2561 เป็นต้นไป
นพ.บุญชัย กล่าวต่อว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณุข ได้จัดให้มีคณะกรรมการทำงานร่วมกันเพื่อหนุนเสริมการทำงานให้รอบด้าน มีเป้าหมายเดียวกัน สำหรับ 4 องค์กรก็ถือว่าเป็นผู้ปฏิบัติงานของกระทรวงอยู่แล้วจึงทำงานควบคู่กันไปได้ แต่ควรกำหนดทิศทางการทำงานและเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น เรื่องบุหรี่ ตั้งเป้าให้ชัดว่าเป็นการทำงานแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน ต้องทำโดยไม่มุ่งหวังเรื่องผลผระโยชน์ส่วนตน ให้ถือเป็นภารกิจส่วนรวม ทำเพื่อประชาชน เพราะการทำงานไม่ใช่เพียงแค่ 4 องค์กรเท่านั้น แต่ยังมีเครือข่ายและหน่วยงานอื่นๆ เข้ามาช่วยขับเคลื่อนขยับเข้าไปใกล้เป้าหมายมากที่สุด
นอกจากนี้ การทำงานเรื่องบุหรี่ เป็นภารกิจที่สาธารณสุขต้องทำอยู่แล้ว เพราะเป็นระบบบริการปฐม เรื่องการป้องกันโรค ซึ่งการทำให้กลุ่มเป้าหมายแคบลง จะทำให้สามารถแยกกลุ่มเสี่ยงได้ง่ายขึ้น เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง สำหรับการทำงานขอให้มั่นใจ เพราะกระทรวงสาธารณสุขสนับสนุนเต็มมที่ ทั้งนี้หากมีการพัฒนาระบบการทำงานให้ครอบคลุม การต่อยอด อสม.ไปชักชวนคนเลิกบุหรี่ ทำตัวเป็นแบบอย่าง หน่วยบริการมีระบบรองรับช่วนคนเลิกบุหรี่ หนุนการเลิกบุหรี่อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับมีความเข้าใจตรงกัน ก็จะช่วยสนับสนุนผลักดันให้เกิดความสำเร็จได้
“เป้าหมายที่กำหนดไว้อาจยังห่างไกลเลิกบุหรี่ให้ได้ 3 ล้านคนฟังดูอาจจะท้อถอย แค่มีคนเลิกได้ 1 คนเท่ากับลดโรคได้ 1 คน เท่านี้ก็ได้ประโยชน์มหาศาลแล้ว” นพ.บุญชัย กล่าว
- 15 views