“ในวันที่รู้ตัวว่าพิการ ไม่สามารถเดินได้ ช่วงนั้นพี่กลายเป็นคนที่ไม่เอาอะไรเลย เอาแต่นอนจนกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง พอนานไปเราเห็นคนในครอบครัวต้องมาดูแลตัวพี่ ทำให้พี่คิดได้ว่า เราสามารถทำงานหาเลี้ยงชีพได้ ถึงขาเราจะเดินไม่ได้ แต่เรามีสมองคิด เราต้องใช้สมองทำงาน เพื่อที่จะมีรายได้เลี้ยงตัวเอง”
เกษราภรณ์ หลวงจันทร์ ผู้ก่อตั้งศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพคนพิการ จังหวัดขอนแก่น พูดถึงชีวิตของตนเองจากที่เป็นคนปกติ แต่โชคชะตาพลิกผลันทำให้เกษราภรณ์ กลายเป็นคนพิการที่ต้องนั่งวิลแชร์ไปตลอดชีวิต
เกษราภรณ์ หลวงจันทร์
เกษราภรณ์ เล่าถึงความเป็นมาของการก่อตั้งศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพคนพิการ ว่า อยากให้คนพิการรู้สึกว่าตัวเองมีตัวตน อยากให้เขามีความภาคภูมิใจในตนเอง อยากให้เขามีความศรัทธาในตัวเอง
“เกษไม่ได้พิการมาตั้งแต่กำเนิด แต่ประสบอุบัติเหตุเมื่อปี 2541 และเคยผ่านจุดนั้นมาก่อน คือ ไม่อยากต่อสู้ ไม่อยากทำอะไร พอมีจุดเปลี่ยน แล้วออกไปข้างนอก ได้ไปเจอน้องๆ ที่นั่งวิลแชร์ แววตาเขาเหมือนเกษเลยที่เป็นใหม่ๆ เกษบอกว่า มันไม่ใช่ ต้องให้เขารู้ว่าเขามีตัวตน มีศักยภาพมากกว่านั้น แต่แค่เขาไม่มีโอกาสที่เปิดโอกาสให้เขาได้แสดงฝีมือและความสามารถ”
“เกษเลยชวนเขามารวมกลุ่ม ให้น้องๆ ทำงาน พอเขาเห็นชิ้นงานของเขาสวย เขารู้สึกภาคภูมิใจแล้วก็จะมีตัวตนและขายได้พอขายได้เงินเรามาแบ่งกัน น้องๆ เขาก็ดีใจไม่ต้องขอพ่อแม่ ไม่ต้องเดือดร้อนใคร คือ เราสามารถทำงานหาเลี้ยงตัวเองได้”
เกษราภรณ์ เล่าถึงวิธีสร้างกำลังใจให้กับตัวเองว่า เปลี่ยนความคิดตัวเอง ซึ่งเมื่อก่อนจะคิดแบบอยากไม่อยากทำอะไร เพราะมีจุดเปลี่ยนจากคนปกติเดินได้ต้องมาเป็นคนพิการ
“เกษคิดว่า การทำงานมันอยู่ที่หัว อยู่ที่มายด์เซ็ทไม่ได้อยู่ที่ขา เวลาที่คุณทำงานคุณใช้ขาเดินหรือเปล่า คุณนั่งรถไปพอถึงบริษัทก็นั่งทำงานเหมือนกัน ต่างกันแค่เกษนั่งตลอดเวลาเท่านั้นเอง แต่การทำงานมันอยู่ตรงที่วิธีคิดแค่นั้น เกษเอาวิธีนี้ไปบอกน้องๆ ว่าการทำงานมันอยู่ที่ตรงนี้ มันไม่ได้อยู่ที่ขาแล้วเราหาพันธมิตรในการก่อตั้งศูนย์ และความบังเอิญที่ไปที่ รพ.อุบลรัตน์ไปเจอโครงการของคุณหมอที่เชิญเข้าไปรวมกลุ่มเขาคงเห็นว่าเกษมีศักยภาพ มีจุดเปลี่ยน ที่เข้มแข็งเลยเชิญเข้าไปที่ รพ.อุบลรัตน์ ไปเจอกลุ่มคนพิการที่นั่งวีลแชร์ก็ชวนเขามานั่งทำงาน อยากให้เขาค้นพบศักยภาพตัวเองอยากให้เขารู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าแล้ว
เกษใช้พื้นที่ของที่บ้านสร้างเป็นที่ทำงานที่ใช้ชื่อว่า ล้อไม้ เฟอร์นิเจอร์ โดยการสนับสนุนจากบริษัทยูเนี่ยน ออร์โตพาร์ทส มานูแฟคเชอรริ่ง จำกัด และได้ทุนมาจากโอสถสภา สสส. และ รพ.อุบลรัตน์ ก่อนหน้านี้ลองทำมันทุกอย่าง ทั้งขายครีมหน้าขาว สินค้าอิมพอร์ต จุดเปลี่ยนที่หันมาทำงานเฟอร์นิเจอร์คือ เมื่อไป รพ.อุบรัตน์ ได้เห็นการจ้างงานของโรงพยาบาลที่เอาคนพิการมาทำงานด้านต่างๆ ตามที่ร่างกายจะเอื้อต่อการทำงานนั้นๆ เห็นน้องๆ เพื่อนๆที่มีความพิการหลากหลาย เช่น เเขนขาดข้างเดียวก็ดีกว่าเรา บางคนแย่กว่าเรา คือนั่งวีลแชร์ ปากเบี้ยวไม่มีกำลัง แต่เรานั่งวีลแชร์และยังมีสมองสมบูรณ์อยู่ แต่สิ่งที่เห็นในวันนั้น คือ แววตาของเขาแล้วมันไม่ใช่แววตาที่เป็นเหมือนเกษตอนที่พิการใหม่ๆ เลยแววตาไม่มีความหวัง ไม่มีความมั่นใจตัวเอง ไม่มีความศรัทธาในตัวเอง เกษก็อยากให้เขามองและก้าวข้ามตรงนี้มา
เกษเลยคิดและชักชวนน้องๆ ที่พิการมาทำงานจะไม่เป็นภาระของครอบครัวพอทำไปทำมาทำปีแรกลองผิดลองมาโดยตลอด จนทุกวันนี้เรามีหน้าร้านเป็นของตัวเอง น้องๆ มีรายได้ต่อเดือนประมาณ 5,000-6,000 บาท ส่วนแบ่งสมมติว่าเราขายได้ 100 บาท จะหักต้นทุน 20 บาท เพราะว่าอย่าลืมว่า ถ้าหน่วยงานอื่นไม่มาช่วยเราเราต้องเอาเงินตัวนี้ไปซื้อวัตถุดิบ เหลือ 80 บาท แล้วมาทำเป็น 100% แบ่งเป็น ค่าบริหารจัดการ 15% แบ่งตามสิทธิ์จากมาตรา35 อีก 5% อีก80%เป็นเงินเดือนมีสมาชิกหารเท่า ๆกันซึ่งตอนนี้มีสมาชิกทั้งหมด 13 คน
น้องๆมีเงินเดือนมีความสุข บ้างคนทั่วไปอาจจะมองว่าเงินเดือนน้อยไปหรือไม่ สำหรับเราไม่น้อยนะ เพราะน้องๆ กินอยู่ที่นี่หมด เราดูแลเขาทั้งหมด ทั้งเรื่องกิน ที่อยู่อาศัย เงินเดือนรับเต็มๆ ทำให้น้องๆ มีเงินส่งไปให้พ่อแม่ เลี้ยงดูครอบครัวแทนที่ตัวเองจะเป็นภาระของครอบครัว
สินค้าพวกกล่อง ชุดเก้าอี้ จะเป็นสินค้าที่ขายดี นอกจากนี้เรายังทำสินค้าตามออร์เดอร์ คุณส่งแบบมาให้เราทำได้ น้องๆ ที่ทำอยู่นี้เขามีทักษะในเรื่องนี้ก่อนที่จะมาเป็นคนพิการ เรามีหน้าร้านที่นี่ และขายสินค้าผ่านเฟสบุ๊คที่ชื่ว่า งานฝีมือคนพิการบ้านทรัพย์สมบูรณ์ หรือ ไอดี LINE 0956726346” เกษราภรณ์ กล่าว
เกษราภรณ์ เล่าถึงวิธีสร้างแรงจูงใจให้ตนเองและน้องๆ ผู้พิการว่า คนพิการต้องคิดและสร้างแรงบันดาลใจว่า ถ้าเราพิการแล้วนอนอยู่เฉยๆ นอนติดเตียง ให้พ่อแม่ดูแลแล้วถามว่า พ่อแม่คุณอายุเท่าไหร่แล้วเขาก็ต้องจากไปแล้ว ใครจะดูแลคุณ เราต้องพึ่งตัวเอง ต้องดูแลตัวเองก่อนแล้วคนอื่นจะมาช่วยเหลือเราเองอย่าง
- 75 views