เภสัชกรอีสานยืนยันคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ยาใหม่ ชี้ไม่ได้ดราม่าปกป้องวิชาชีพเภสัชกร แต่เพื่อความปลอดภัยผู้บริโภคปลอดภัยของประชาชนในการใช้ยา

วันที่ 1 กันยายน 2561 เวลา 13.00-15.30 น. ณ ห้องประชุมอาคาร 1 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สมาคมศิษย์เก่าเภสัชศาสตร์ภาคอีสาน 3 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รวมถึง ชมรมเภสัชกรทุกภาคส่วนในพื้นที่ภาคอีสาน เช่น ชมรมเภสัชกรชุมชน ชมรมเภสัชกรสำนักงานสาธารณสุขจงหวัด ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนในพื้นที่ภาคอีสาน และหน่ววยงานภาคีเครือข่าย จัดเวทีแสดงพลังเพื่อคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่

เภสัชกรวรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร

เภสัชกรวรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร อุปนายกสภาเภสัชกรรม กล่าวว่า การแก้ไข พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 นั้นควรมี 2 เรื่อง คือ การกระบวนการขึ้นทะเบียนยาที่ต้องรวดเร็วขึ้น และการทบทวนตำรับยาหากไม่เหมาะสมก็สามารถยกเลิกได้ และการดำเนินงานตาม ม.44 ของ คสช. ไม่ใช่การแก้ไขตามอำเภอใจ และหลักคิดของการร่างกฎหมายควรร่างจากหลักการสำคัญ เช่น การแบ่งประเภทของยาตามระบบสากล หลักการใครเรียนก็ได้ทำ ใครไม่ได้เรียนห้ามทำ และการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การขายยาผ่านอีคอมเมิร์ซ รวมทั้งควรมีการศึกษากฎหมายของต่างประเทศ เพื่อให้กฎหมายที่ออกมารอบคอบที่สุด ไม่ใช่การไปร่างกันเพียง 3-4 คน เท่านั้น และขอยืนยันว่าการออกมาคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.ยาใหม่ในครั้งนี้เป็นเพราะเราห่วงความปลอดภัยของประชาชนในการใช้ยา ไม่ใช่ห่วงวิชาชีพ

เภสัชกรจิระ วิภาสวงศ์

เภสัชกรจิระ วิภาสวงศ์ เภสัชกรเชี่ยวชาญ หัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน กล่าวว่า การคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ. ยาใหม่ในครั้งนี้ เนื่องจากเราเห็นจุดอ่อนมากมายใน ร่าง พ.ร.บ.ยาใหม่ และได้ศึกษาจนแน่ใจว่าไม่ได้ดีกว่า พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 เลย หากจะมีการปรับปรุงกฎหมายใหม่นั้นควรจะเน้นการแยกบทบาทหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ คือ แพทย์และทันตแพทย์ มีหน้าที่ในการวินิจฉัยโรคและสั่งการรักษา ส่วนการจ่ายยารักษาโรคคือวิชาชีพของเภสัชกร

เภสัชกรจิระ กล่าวต่อว่า สิ่งที่ห่วงกังวลคือ เรื่องการปรุงยา ซึ่งต้องยอมรับว่าในสถานพยาบาลเอกชน และคลินิก เช่น คลินิกโรคผิวหนังนั้น มีการปรุงยาเพื่อใช้กับคนไข้ของตนเอง โดยเป็นการปรุงยาตามตำรับลับ ซึ่งทุกวิชาชีพไม่ยอมรับการปรุงยาแบบตำรับลับนี้ เพราะแม้จะแค่แบ่งบรรจุยาก็ถือว่าเป็นศาสตร์ที่ต้องเรียนรู้ หากปล่อยให้มีการปรุงยาง่ายๆ จะมีความเสี่ยงมากในเรื่องความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และการจ่ายยาโดยคลินิกของวิชาชีพพยาบาล ซึ่งมีมากในระดับอำเภอ เพราะจากการตรวจสอบของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จะพบว่ากรอบรายการยาที่ใช้ในคลินิกไม่มีความเหมาะสม ไม่มีการถ่วงดุลและตรวจสอบทางวิชาชีพ ซึ่งจะเกิดผลเสียกับผู้ป่วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เภสัชค้านร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับ อย. ให้วิชาชีพอื่นที่ไม่ใช่เภสัชขายยาได้ ไม่ปลอดภัยต่อ ปชช.

แนะถอยคนละก้าวร่าง พ.ร.บ.ยา เขียนให้ชัดยาอะไรที่วิชาชีพอื่นสั่งจ่ายได้บ้าง

อย.ยันแก้ กม.ยา ยึดหลัก ปชช.ปลอดภัย เตรียมแจงความคืบหน้า 27 ส.ค.นี้

ชมรมเภสัชฯ ค้านร่าง พ.ร.บ.ยา แจง 6 ช่องโหว่สุดเสี่ยง จี้ อย.ทบทวนด่วน

สภาพยาบาลหนุนร่าง พ.ร.บ.ยา ชี้เอื้อทุกวิชาชีพทำงานร่วมกันได้ แจงหลักสูตรมีสอนเรื่องยา

ชี้ร่าง พ.ร.บ.ยาอ่อนด้อยยิ่งกว่าของเดิม ยันผ่อนปรนไม่ได้ เพราะเป็นความปลอดภัยของ ปชช.

อย.แจงร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ยึดผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก

อย.เตรียมตั้ง คกก.ถกร่าง พ.ร.บ.ยา “เปิดช่องวิชาชีพอื่นจ่ายยาได้”

สภาเภสัชกรรมชี้ร่าง พ.ร.บ.ยา ซ้ำรอยเดิม อย.ทำปัญหาวนกลับจุดเดิม หนุนใช้ระบบใบสั่งยา 

อย.ชี้เข้าใจร่าง พ.ร.บ.ยาผิด โดยเฉพาะประเด็น ‘จ่ายยาและขายยา’ ยืนยันมีข้อดีหลายด้าน

องค์กรประชาชนอีสานร่วมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่ ชี้เอื้อประโยชน์ทุนกินรวบ