สำหรับ “กัญชา” ในบ้านเรามักจะถูกกล่าวถึงในด้านลบมากกว่าด้านบวก อีกทั้งยังถูกกฎหมายประทับรอยบาปไปแล้วว่าเป็นสิ่งเสพติดให้โทษ แต่ในทางกลับกันในหลายประเทศเริ่มศึกษาวิจัยประโยชน์ของกัญชาที่มีต่อวงการแพทย์ ส่วนประเทศไทยเพิ่งเริ่มมีการวิจัยอย่างจริงจังเมื่อเร็วๆนี้
สรรพคุณของ “กัญชา” ที่เกี่ยวข้องกับวงการแพทย์แพทย์ไทย พบว่า มีการจารึกไว้ในคัมภีร์โอสถพระนารายณ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์
นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ในคัมภีร์โอสถพระนารายณ์เรามีตำรับยาแผนไทยที่เกี่ยวข้องกับกัญชา 4 ตำรับด้วยกัน แต่ถ้านับรวมตำรับยาอื่นๆ ที่มีส่วนผสมของกัญชาด้วยนั้น เท่าที่รวบรวมมาได้นั้นมีเป็นร้อยตำรับยาเลยทีเดียว เช่น จารึกตำรับยาที่วัดโพธิ์ ส่วนเรื่องการวิจัยหากจะวิจัยทั้งหมดเลยมันจะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณและกำลังบุคลากรก็มีไม่เพียงพอในการวิจัยในครั้งนี้จึงเลือกขึ้นมาวิจัยด้วยกันทั้งหมด 8 ตำรับ ที่ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยใน 4 ตำรับยาใน 4 กลุ่มอาการ โดยได้มีการเปรียบเทียบอาการที่จารึกไว้กับอาการกลุ่มโรคในปัจจุบันกับอาจารย์ผู้รู้ ได้แก่
1.สุขไสยาสน์ เป็นตำหรับยาช่วยให้ผ่อนคลายนอนหลับ แก้ปวด สุขไสยาสน์ แปลว่า นอนหลับอย่างมีความสุข ไสยาสน์ในทางพระ แปลว่า พระนอน ใข้ในการดูแลการนอนหลับ คลายเครียด แก้ปวด
2.ทำลายเขาพระสุเมรุ ส่วนประกอบสมุนไพรมากกว่า 20 ชนิด และมีกัญชาเป็นส่วนประกอบสำคัญ สรรพคุณภาษาไทยโบราณแก้อาการลมชัก ปากเบี้ยว ตาแหก เทียบกับอาการ คือ อาการอัมพาต อัมพฤกษ์ เวลาคนมีเส้นเลือดในสมองแตกจะมาร่างกายซีกใดซีกหนึ่งจะเกร็งหรือชักกระตุก หรืออาการปากเบี้ยว เวลาที่เราให้เขาแยกเขี้ยวข้างใดข้างหนึ่งตกไปซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรงไปแยกเขี้ยวไม่ได้ ตาแหก คือหลับตาไม่สนิท อาการเหล่านี้ในทางแพทย์ปัจจุบัน เรียกว่าอัมพาต อัมพฤกษ์
3.น้ำมันสนั่นไตรภพ เอาสมุนไพรกว่า16 ชนิดมาผสมน้ำมันงา และ 1 ใน 16 ชนิดของสมุนไร คือ ใบกัญชาสดเคี้ยวเสร็จแล้วผสมส่วนผสมต่างๆ จนครบตามตำหรับโบราณ น้ำมันนี้ใข้สำหรับมะเร็งที่มีอากาศท้องมารหรืออาการบวมโต โดยการทามานวดบริเวณท้องจะทำให้อาการท้องยุบลง จะทำให้คนไข้ทานข้าวได้ไม่อึดอัดแน่นหายใจสะดวกขึ้น นอกเหนือการทาแก้ท้องมานผู้ที่มีอาการเกร็ง และสามารถรักษาอาการอัมพาต อัมพฤกษ์บางส่วนได้
4.อีกตำหรับหนึ่งที่อยากกล่าวถึง ภาษาโบราณเรียกว่า ยาแก้ฝีรวงผึ้ง มาเทียบเคียงอาการแผนปัจจุบันคือมะเร็งตับระยะเริ่มแรก ยาชื่อฝีรวงผึ้งอยู่ในจากรึกวัดโพธิ์มีส่วนประกอบของกัญชาอยู่ด้วย
ในเบื้องต้นเราจะวิจัยจาก 4 ตำรับนี้ก่อน อีก 4 ตำรับ ยังอยู่การพัฒนาให้อยู่ในมาตรฐาน เป็นสูตรยารักษาเบาหวาน ขาวแท่งทอง เป็นต้น
นพ.ขวัญชัย กล่าวต่อว่า สูตรตำรับยาพวกนี้เราได้ความรู้จากคัมภีร์โอสถพระนารยณ์และจารึกต่างๆ ซึ่งในการทำงานจะต้องประชุมร่วมกับหมอแผนไทยครูบาอาจารย์เพื่อเทียบเคียงความรู้ เพราะหากอ่านตำรับยาที่เป็นภาษาโบราณจะเข้าใจผิด เพราะฉะนั้นต้องประชุมกันและหาความรู้และทำสูตรยาให้เป็นมาตรฐานก่อน ไม่เช่นนั้นแล้วเราอาจไปผลิตยาแบบผิดวิธีอาจจะทำให้ยาไม่ได้ผล และเราจะไม่สามารถสรุปผลการวิจัยได้เพราะว่าเราปรุงยาผิดนั่นเอง
นพ.ขวัญชัย ได้พูดถึงข้อดีของกัญชาไว้อย่างน่าสนใจว่า งานวิจัยทำโดยประเทศอิสราเอลพบว่า กัญชามีผลของการเสพติดน้อยกว่าแอลกอฮอล์กับบุหรี่ คำว่าเสพติดในทางการแพทย์ คือ ถ้าสารเคมีใดเราเสพเข้าไปเกิดภาวะอิสระ (independent) เช่น เสพแล้วต้องเสพขึ้นเรื่อยๆ ให้ระดับความพึงพอใจ ถ้าหยุดเสพจะมีการลงแดง หรือถ้าเสพต่อเนื่องยาวนานจะทำให้มีปัญหาต่อสมองมีความผิดปกติของสมอง ซึ่งทั้ง 3 สาเหตุนี้ไม่มีอยู่ในกัญชา ในทางการแพทย์ไม่มีข้อมูลว่าเป็นสารเสพติด แต่สิ่งที่เสพติดหรือสิ่งที่พึ่งพาทางจิตใจเหมือนคนติดบุหรี่ติดเหล้า ดังนั้นในส่วนการแพทย์แผนไทยได้เขียนไว้ว่า กัญชาไม่ใช่สารเสพติด
อย่างไรก็ตามในงานวิจัยเขียนไว้ว่า แท้ที่จริงกัญชาทำให้ติดหรือไม่ เราจะเก็บข้อมูลจากคนที่รับยาไปทาน ซึ่งจะเป็นแนวทางในการนำเอากัญชากลับมาเป็นประโยชน์ต่อทางการแพทย์ และมาแก้ไขประมวลสารเสพติดผ่านการเห็นชอบของ ครม. ได้ส่งร่างฉบับนั้นไป สคช. อยู่ระว่างพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คาดว่าน่าจะออกมา 1-2 เดือน
แต่ในร่างยาเสพติดฉบับล่าสุดยังพิจารณาอยู่ยังกำหนดว่ากัญชาเป็นยาเสพติดอยู่ประเภท 5 แต่อนุญาตให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หมอแพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ ฯลฯ ผู้ที่มีวิชาชีพที่เกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยามารถใช้กัญชากับคนไข้ได้ อันนี้เรียกว่าปลดล็อคขั้นที่ 1 เราจะนำข้อมูลที่ได้เก็บมาไปยื่นละไปปลดล็อคขั้นต่อไป ถ้าหลายประเทศทั่วโลกนำกัญชาไปใช้ประโยชน์ของการดูแลสุขภาพ หรือใช้ในทางเศรษฐกิจ เช่น ที่ประเทศออสเตรเลียสามารถส่งออกกัญชาได้หลายร้อยตัน ในตอนนี้กัญชายังถือว่าเป็นยาเสพติดถ้าใครใช้ผลิตยาต้องได้รับอนุญาต
- 2230 views