กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดผลงานวิชาการดีเด่นจากการประกวดการนำเสนอผลงานทางวิชาการในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 24 ระหว่างวันที่ 21 – 23 มีนาคม 2559 มีผลงานวิชาการที่ได้รับรางวัล 19 เรื่อง จากการส่งเข้าประกวดทั้งหมด 179 เรื่อง

เมื่อวันที่ 23 มีนาม 2559 นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลและพิธีปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ครั้งที่ 24 ณ อาคารอิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี ในงานได้จัดให้มีการประกวดการนำเสนอผลงานวิชาการแบบบรรยายและแบบโปสเตอร์ โดยได้มอบรางวัลให้แก่ผู้วิจัยที่มีผลงานที่เป็นประโยชน์ มีคุณภาพ และมีผลกระทบต่อวงการด้านสาธารณสุข โดยมีคณะอนุกรรมการวิชาการเป็นผู้ตัดสินผลการประกวดการเสนอผลงานวิชาการโดยการบรรยายและโปสเตอร์แบ่งการตัดสินรางวัลออกเป็น 5 สาขา ผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการวิชาการ ได้ผลดังนี้
ห้องที่ 1: สาขานวัตกรรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย
รางวัลชนะเลิศ เรื่อง ประสิทธิภาพของชุดทดสอบเตโตรโดท็อกซิน (TTX-IC) ที่ใช้โมโนโคลนนอลแอนติบอดีที่ผลิตเอง เสนอโดย นส.วรรณษาทิพย์ นิสภา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
รางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง กับดัก LeO-Trap : นวัตกรรมการควบคุมยุงพาหะโรคไข้เลือดออกไข้ชิคุนกุนยาและไข้ซิกา เสนอโดย  นส.พัชราวรรณ ศิริโสภา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์
รางวัลชนะเลิศ  เรื่อง นวัตกรรมชุดตรวจโรคสัตว์สู่คน: การสืบค้นในสัตว์รังโรค เสนอโดย นส.วัชรี สายสงเคราะห์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
รางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง การตรวจสอบคุณสมบัติของเซลล์ต้นกำเนิดชนิด Mesenchymal Stem Cells จากสายสะดือ เสนอโดย นส.พัชราภรณ์ บุญชู สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์

ห้องที่ 2: สาขาโรค 

การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย
รางวัลชนะเลิศ เรื่อง การตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีในทารกแรกคลอดจากมารดาที่ติดเชื้อโดยใช้กระดาษซับเลือดในโครงการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูกของประเทศไทย เสนอโดย นพ.อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์

รางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง การตรวจหาไวรัสเมอร์สและไวรัสก่อโรคทางเดินหายใจในผู้กลับจากพิธีฮัจญ์ที่มีอาการของระบบทางเดินหายใจจาก 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2556-2557 เสนอโดย นส.วรรธนี สังข์หิรัญ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 (สงขลา)

การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์
รางวัลชนะเลิศ เรื่อง การทดสอบความไวของเชื้อ C.difficile ต่อยาต้านจุลชีพด้วยวิธี agar dilution (2012-2015)  เสนอโดย นส.ปิยะดา หวังรุ่งทรัพย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
รางวัลรองชนะเลิศ ผลของเซลล์ต้นกำเนิดมะเร็ง CD44 ต่อการแบ่งตัวและรอดชีวิตของเซลล์มะเร็งลำไส้ เสนอโดย นส.สุภาพร สุภารักษ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข

ห้องที่ 3: สาขาคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ

การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย
รางวัลชนะเลิศ เรื่อง การประเมินความเสี่ยงจากการบริโภคสัตว์น้ำที่ปนเปื้อนตะกั่วแคดเมียมและปรอทจากทะเลสาบสงขลา เสนอโดย นางสุดชฏา ศรประสิทธิ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 (สงขลา)

รางวัลชนะเลิศ เรื่อง การตรวจประเมินค่าความแรงของวัคซีนบีซีจีด้วยวิธีทางเลือก: Intracellular ATP assay เสนอโดย นส.สมปอง ทรัพย์สุทธิภาสน์ สถาบันชีววัตถุ

การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์
รางวัลชนะเลิศ เรื่อง ปริมาณรังสีผู้ป่วยจากการถ่ายภาพรังสีฟันในช่องปากในเขตสุขภาพที่ 2
เสนอโดย นางนัฐิกา จิตรพินิจ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 2 (พิษณุโลก)
รางวัลรองชนะเลิศ  เรื่อง คุณภาพยาเม็ดโคลชิซินในประเทศไทย เสนอโดย นส.มิตรารุณ คล้ายวิตภัทร ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 (ตรัง)

ห้องที่ 4: สาขาสมุนไพร

การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์
รางวัลชนะเลิศ เรื่อง การหาปริมาณ scopoletin ในผลยอด้วยวิธีUltra Performance Liquid Chromatography เสนอโดย นายอภิรักษ์ ศักดิ์เพ็ชร สถาบันวิจัยสมุนไพร
รางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง ข้อกำหนดทางเคมีของลูกผักชีลา เสนอโดย นายเสกรชตกร บัวเบา สถาบันวิจัยสมุนไพร
รางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง คุณภาพของยาแคปซูลฟ้าทะลาย เสนอโดย นางสาวจิรานุช แจ่มทวีกุ สำนักยาและวัตถุเสพติด

ห้องที่ 5: สาขาเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข

การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย
รางวัลชนะเลิศ เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครือข่ายชุมชนบ้านตมจังหวัดชลบุรีตามแนวพระราชดำริพอเพียง เสนอโดย นส.เพิ่มสุข สุขเกษม ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 6 (ชลบุรี)

รางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกข้อมูลการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีวิธีพีซีอาร์ในเด็กจากแม่สู่ลูกเครือข่ายห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในรอบทศวรรษ (2549-2558) เสนอโดย นางหรรษา ไทยศรี สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์

การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์
รางวัลชนะเลิศ เรื่อง เปรียบเทียบประสิทธิภาพการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวี-1 ในเด็กที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อด้วยวิธีConventional PCR กับวิธี Real time PCR ของเครือข่ายห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เสนอโดย นายวิโรจน์ พวงทับทิม สถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์
รางวัลรองชนะเลิศ เรื่อง คุณภาพห้องปฏิบัติการทดสอบเอชไอวีในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ เสนอโดย นางวไลลักษณ์ กาญจนะพิน ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 (สงขลา)

ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับประกาศนียบัตรและเงินรางวัล รางวัลชนะเลิศ จำนวน 5,000 บาท และรองชนะเลิศ 3,000 บาท