คณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมนวัตกรรมการแพทย์และสาธารณสุข ในคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จัดประชุมรับฟังข้อเสนอจากผลการศึกษาสถานการณ์โรคอ้วนลงพุงและภาวะแทรกซ้อนของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร โดยนักวิจัยจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมีคณะผู้บริหารจากกรุงเทพมหานคร (กทม.) ร่วมชี้แจงและเตรียมแผนบูรณาการแก้ไขปัญหาในระยะยาว ที่รัฐสภา
นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการส่งเสริมนวัตกรรมการแพทย์และสาธารณสุข สนช. กล่าวว่า โรคอ้วนลงพุง เป็นปัญหาสุขภาพที่ทาง สนช. ให้ความสำคัญและเร่งหามาตรการในการแก้ไขป้องกัน เนื่องจากภาวะอ้วนลงพุงเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ เป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการเยียวยารักษา ซึ่งจะเป็นภาระของรัฐบาลในอนาคต
“คำถามที่น่าเป็นห่วงคือ สังคมเมืองมีการใช้ชีวิตแบบอยู่ดีกินดีกันไปหรือเปล่า หรือคนในเมืองนั้นมีสถานที่ในการออกกำลังกายเพียงพอหรือไม่ สิ่งนี้คือปัจจัยที่รัฐบาลกลางมีความพยายามหาแนวทางในการบูรณาการหน่วยงานที่จะเป็นต้นแบบ โดยมองเห็นว่า กทม. ที่เริ่มมีมาตรการในการป้องกันในระดับพื้นที่จะเป็นต้นแบบนำร่องและสามารถถอดบทเรียนไปสู่การปฏิบัติให้กับเมืองใหญ่ในต่างจังหวัดได้ ที่สำคัญคือการนำข้อเสนอจากงานวิจัยมาเป็นองค์ความรู้ในการพัฒนา”ฃ
ผศ.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ ผู้จัดการงานวิจัย สวรส. กล่าวว่า สวรส. ตระหนักถึงความสำคัญของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งเป็นวิกฤตสุขภาพของหลายๆ ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในบริบทการใช้ชีวิตในสังคมเมือง จึงได้สนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยในชุดโครงการวิจัยมุ่งเป้าเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยโครงการพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาภาวะอ้วนลงพุงและภาวะแทรกซ้อนในเขต กทม. เป็น 1 ในชุดโครงการวิจัยดังกล่าว เพื่อศึกษาข้อมูลด้านสถานการณ์โรคอ้วนลงพุง พฤติกรรมและปัจจัยต่างๆ ในการควบคุมโรคอ้วนและโรคเรื้อรังในเขต กทม. และพัฒนานโยบาย รูปแบบการบริการ การจัดการชุมชนในการควบคุมภาวะโรคอ้วน และเพื่อหาแนวทางการขยายผลการจัดการภาวะโรคอ้วน มาตรการในการสนับสนุนการควบคุมภาวะอ้วนลงพุงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนในการดำรงชีวิตประจำวัน
“การแก้ไขปัญหาโรคอ้วน ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะปัจจัยเสี่ยงในบริบทของสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยเฉพาะวิถีชีวิตคนเมืองที่รีบเร่ง วันนี้เรามีหน่วยงานที่เป็นผู้เล่นหลักในระบบอยู่มาก เช่น กระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดนโยบายสุขภาพ สสส. ทำหน้าที่รณรงค์เผยแพร่ สปสช.ก็ให้ความสำคัญกับงบประมาณการสร้างเสริมสุขภาพ อีกทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นกลไกสำคัญที่ทำงานใกล้ชิดประชาชนในเขตเมืองโดยเฉพาะ กทม. และเทศบาลนครต่างๆ ข้อเสนอจากงานวิจัยต้องการเห็นการพัฒนานโยบายแบบมีส่วนร่วมเพื่อควบคุมภาวะอ้วนลงพุงซึ่งจะนำไปสู่การควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งเป็นเป้าของงานวิจัยนี้ โดยเฉพาะการเข้าถึงหน่วยงานภาคเอกชนในกลุ่มเครื่องดื่มน้ำอัดลมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคอ้วนให้ได้ โดยการขอควา
- 22 views