เดอะการ์เดียน : เพื่อขับเคลื่อนเรื่องการแพทย์ไปข้างหน้า ผู้คิดค้นและบริษัทต่างๆ ที่สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ต้องก้าวให้ผ่านอุปสรรค์ต่างๆ มากมายที่มีอยู่ให้ได้
ความสำเร็จในความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้ง บริษัทผู้ผลิต ผู้ให้บริการ NHS และผู้ป่วย เป็นสิ่งสำคัญ ภาพโดย: Clive Brunskill/Getty Images
เดอะการ์เดียน : นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงโลกอุตสาหกรรมในทุกๆ วัน และการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วซึ่งนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมากมายในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็น อินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟน และเทคโนโลยีไร้สาย แต่ถ้าพูดว่าสิ่งต่างๆ เหล่านั้นมันคือนวัตกรรมแล้ว ไม่ใช่ว่าทุกๆ อุตสาหกรรมที่จะสร้างเทคโนโลยีได้เหมือนๆ กัน
ระบบสุขภาพเป็นระบบที่มีความซับซ้อนสูงมาก และระบบการให้บริการทางการแพทย์ในปัจจุบันก็อยู่ภายใต้การเพิ่มขึ้นของแรงกดดันอันเนื่องมากจากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นและความคาดหวังของผู้ป่วย แรงกดดันต่างๆ เหล่านี้ รวมทั้งโดยตัวของระบบสุขภาพเอง ยิ่งทำให้นวัตกรรมในทางการดูแลสุขภาพนั้น ยิ่งมีความซับซ้อนมากกว่าผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค
เพื่อที่จะทำลายความซับซ้อนหรืออุปสรรคนี้ และขับเคลื่อนให้นวัตกรรมการแพทย์ไปข้างหน้า ผู้คิดค้นนวัตกรรมและการวิจัยผลิตภัณฑ์ และบริษัทผู้ผลิตต่างๆ ต้องก้าวข้ามผ่านอุปสรรค์ต่างๆ มากมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการดูแลสุขภาพ ในที่นี้ขอยกเอาอุปสรรค 10 ข้อ ที่ผู้คิดค้นนวัตกรรมด้านการดูแลสุขภาพต้องเผชิญอยู่เสมอ
1.การตรวจสอบประสิทธิภาพทางการแพทย์ (medical efficacy review)
เพื่อที่จะประสบความสำเร็จ นวัตกรรมด้านการดูแลสุขภาพนั้นต้องพัฒนาบนมาตรฐานทางการแพทย์ที่เป็นปัจจุบันโดยไม่ก่อให้เกิดอัตรายหรือความเสียหายใดๆ กับผู้ป่วยและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายไปพร้อมๆ กัน แต่การเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์เฉพาะทางเพื่อหารือเกี่ยวกับการกำหนดประสิทธิภาพทางการแพทย์ก็เป็นอะไรที่ยากมากสำหรับบริษัทต่างๆ และไม่ต้องพูดถึงเลยว่าในระดับบุคคลธรรมดาทั่วไปแล้วจะยากสักแค่ไหน ดังจะเห็นได้ว่า จะไม่ค่อยเห็นการตรวจสอบคุณภาพทางการแพทย์ภายในองค์กร (in-house) และยิ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายมากเมื่อใช้บริการจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เป็นบุคคลภายนอกองค์กร
2.การกระจายสินค้า (Product distribution)
การกระจายสินค้าในระบบสุขภาพนั้นแตกต่างจากสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป เนื่องจากเป็นการกระจายสินค้าหรือบริการผ่านห่วงโซ่อุปทานที่ซับซ้อนมากกว่าตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์และผู้จำหน่าย ผู้ซื้อบริการอย่างเช่น National Health Service (NHS) (ในสหราชอาณาจักร) และหน่วยงานจัดหาบริการ (supply agency) แพทย์ พยาบาล ซึ่งเป็นผู้ให้บริการแก่ผู้ป่วย และผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้ที่ไม่ได้มี input ในผลิตภัณฑ์หรือการกำหนดราคาขาย การพยายามหาวิธีที่ดีที่สุดเพื่อเข้าไปในระบบที่ซับซ้อนนี้นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่ากลัว แล้วยิ่งถ้าไม่สำเร็จ ก็ย่อมให้ผู้คิดค้นนวัตกรรมรู้สึกถึงความย่อท้อได้
3.การเข้าถึงผู้ผลิต (Manufacturer access)
การเข้าถึงบริษัทผู้ผลิตที่มีคุณภาพเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับผู้คิดค้นนวัตกรรมด้านสุขภาพมาก เพราะความกังวลว่าบริษัทผู้ผลิตนั้นจะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการเจือปนของทรัพย์สินทางปัญญา (intellectual property contamination) ในสถานการณ์นี้ บริษัทผู้ผลิตหลีกเลี่ยงการเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดของผู้คิดค้นนวัตกรรมในระดับบุคคล เนื่องจากอาจเล็งเห็นว่ามันมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันอย่างมากกับการวิจัยพัฒนานวัตกรรมภายใน และทีมงานของบริษัทผู้ผลิตก็กำลังทำงานนั้นกันอยู่ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าบริษัทผู้ผลิตไม่ต้องการที่จะนำพาตัวเองไปเจอกับปัญหาและความเสี่ยงต่างๆ ซึ่งอาจถึงขั้นการฟ้องร้องต่อศาลเกี่ยวกับเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
4.ขาดการเข้าถึงข้อมูลการจัดซื้อของ NHS (Manufacturer access)
แม้แต่บริษัทผู้ผลิตขนาดใหญ่ที่มีเครือข่ายอย่างกว้างขวางยังเข้าถึงฐานข้อมูลการซื้อบริการ และข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการผลิตภัณฑ์หรือบริการทางการแพทย์ และ input จาก NHS การดำเนินการของฝ่ายผู้ผลิตที่ปราศจากข้อมูลเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อการประเมินอัตรากำลังและจำนวนการผลิตสินค้าและบริการที่ขาดประสิทธิภาพ
5.กฎระเบียบในการกำกับดูแล (Regulatory oversight)
เป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากในการบังคับใช้กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ในการผลิตสินค้าและบริการด้านสุขภาพ รวมไปถึงการกระจายสินค้าและบริการเหล่านั้น เพื่อป้องกันผู้จัดจำหน่ายสินค้าและบริการด้านสุขภาพที่จ้องแต่จะแสวงหาผลประโยชน์จากผู้ป่วย EU regulatory environment เป็นหนึ่งตัวอย่างของกฎระเบียบที่เข้มงวดอย่างมากจนส่งผลให้กระบวนการด้านการคิดค้นนวัตกรรมมีความล่าช้ามาก
6.ความซับซ้อนในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property complexity)
สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเป็นประเด็นที่สับสนกันมาโดยตลอดในกระบวนการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับบุคคลทั่วไป ในการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมนั้นเป็นไปไม่ได้ที่ทำได้โดยปราศจากการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ
7.วัฒนธรรมในการดูแลสุขภาพ (Healthcare culture)
โดยปกติแล้วนั้นอุตสหกรรมสาธารณสุขเป็นอุตสหกรรมที่หลีกเลี่ยงความเสี่ยง (risk averse) มีคุณหมอท่านหนึ่งพูดว่า “ตั้งแต่เราก้าวเข้ามาในโรงเรียนแพทย์ เราได้รับการฝึกฝนในการระบุวิธีการรักษาที่ได้รับการพิสูจน์ทางสถิติแล้วว่าเป็นการรักษาสำหรับโรคใดๆ และพวกเราก็ถูกสอนว่าไม่ให้เบี่ยงเบนออกไปจากเส้นทางที่ถูกสอนเอาไว้ จนกว่าจะค้นพบวิธีการรักษาที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าดีกว่าเดิม” กอปรกับทุกวันนี้ที่การเพิ่มขึ้นของบุคลากรสาธารณสุขอย่างรวดเร็ว และมีการเรียนรู้และใช้ระบบใหม่ๆ แต่ในทางกลับกัน กลับพบว่าวิธีการรักษาหรือเครื่องมือทางการแพทย์ใหม่ๆ กลับเป็นเรื่องที่อยู่ท้ายๆ ไปซะอย่างนั้น
8.สภาพแวดล้อมที่มีความเครียดสูง (High-stress environment)
บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานที่มีความเครียดสูงและมักจะต้องทำงานเป็นเวลานาน พวกเขาทุ่มเทอย่างมากในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการคิดสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรม ทั้งนี้เป็นเพราะความคิดสร้างสรรค์มักจะลดลงเมื่อคนเราอยู่ในอารมณ์ของความมุ่งมั่นในการทำบางสิ่งบางอย่างหรือที่เรียกว่า "โหมดการต่อสู้หรือโหมดการบิน" (fight or flight mode)
9.รูปแบบการวิเคราะห์ Complex value (Complex value analysis model)
ในภาคการดูแลสุขภาพ เป็นเรื่องยากสำหรับนักพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือนักประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมในการทำข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่แค่เรื่องของผลการรักษา แต่หมายรวมถึงเรื่องห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นการสื่อว่าการประเมินมูลค่าที่แท้จริงของนวัตกรรมใหม่นั้นเป็นเรื่องยากมาก
10.ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสิ่งที่คิดว่าเป็นนวัตกรรม (Misconceptions about what constitutes innovation)
ในระบบสุขภาพ ผู้ที่มีหน้าที่ในการพัฒนาผลิตภัรฑ์ (เช่น วิศวกรและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค) โดยทั่วไปแล้วนั้น เป็นคนละกลุ่มกันกับผู้จัดการความท้าทายต่างๆ ในระบบสุขภาพ
ทั้ง 10 ประเด็นที่กล่าวมานี้นั้น แสดงให้เห็นถึงว่าอุปสรรคสำคัญต่างๆ เหล่านี้ยังคงมีในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านสุขภาพใหม่ๆ แต่อันที่จริงแล้วในระบบอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็ประสบปัญหาต่างๆ มากมายในการพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมเช่นกัน เช่น การขาดผู้เชี่ยวชาญส่วนกลาง ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด ผู้คิดค้นนวัตกรรมสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคประสบปัญหาที่น่ากลัวอย่างยิ่ง แต่ว่าสำหรับอุตสาหกรรมด้านสาธารณสุขแล้วนั้น ปัญหาที่ประสบอยู่เป็นปัญหาที่มีความเฉพาะเจาะจงอย่างมาก
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอย่างแท้จริงแก่นวัตกรรมการดูแลสุขภาพ นักประดิษฐ์หรือผู้คิดค้นนวัตกรรม และบริษัทต่างๆ ต้องค้นหาวิธีการที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ให้ได้ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งบริษัทผู้ผลิต ผู้ให้บริการ NHS และผู้ป่วย เป็นสิ่งสำคัญ
ทุกคนที่มีบทบาทในกระบวนการให้บริการดูแลสุขภาพ จำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าว การนำเอาจุดแข็งของแต่ละคนแต่ละภาคส่วนออกมา โดยผ่านการทำงานร่วมกัน เราก็จะสามารถก้าวข้ามผ่านอุปสรรคต่างๆ ที่กล่าวมาได้ และเริ่มต้นการให้บริการด้านสุขภาพแบบใหม่ที่ดีกว่าเดิม
ที่มา : 10 barriers to healthcare innovation จาก www.theguardian.com
- 1222 views