กรรณิการ์ กิจติเวชกุล
การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 กำลังเข้าสู่วาระ 3 โดยรัฐสภาจะพิจารณาในวันที่ 4 พ.ย.ที่จะถึงนี้ ซึ่งเนื้อหาที่ผ่านวาระ 2 มานั้น ได้ตัดลดประเภทหนังสือสัญญาที่จะต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภาให้เหลือเพียง 1.หนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตดินแดน 2.หนังสือสัญญาที่เปลี่ยนแปลงพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ 3.จะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา และ 4.หนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุน
นอกจากนี้ รัฐบาลก็ไม่ต้องเสนอกรอบการเจรจาให้รัฐสภาเห็นชอบก่อนดำเนินเรามีปัญหามาก ผู้แทนสหรัฐจะอ้างตลอดว่าเรื่องนี้ๆการอีกด้วย
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ วอทช์) ตั้งข้อสังเกตว่า การตัดเนื้อหาเรื่องการเสนอกรอบร่างเจรจาให้รัฐสภาพิจารณา กับการรับฟังความคิดเห็นออกไป รวมทั้งการแก้ไขถ้อยคำในมาตราดังกล่าว ทำให้การเจรจาข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการค้า การลงทุนอย่างเดียว ไม่ต้องผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภา เพราะในมาตรา 190 ฉบับแก้ไขใช้คำว่า "การค้าและการลงทุน" ซึ่งทำให้ประเด็นเรื่องการลงทุนด้านลิขสิทธิ์ต่างๆอาทิ ยา เมล็ดพันธุ์พืช ซึ่งเอฟทีเอ วอทช์ติดตามอยู่ ไม่เข้าข่ายมาตรานี้
อย่างไรก็ตาม การทำข้อตกลงเอฟทีเอก็ยังต้องผ่านรัฐสภาอยู่ แต่ก็ถูกบั่นทอนทำให้สถานะการเจรจาของฝ่ายไทยอ่อนแอลง เช่น การที่รัฐบาลไม่ต้องเสนอกรอบร่างเจรจา ทำให้ผู้แทนฝ่ายไทยไม่มีหลังไว้อิง
เพราะกรอบการเจรจาจะเป็นตัวกำหนดว่าประเด็นไหนที่ยอมรับข้อแลกเปลี่ยนจากคู่เจรจาได้ ประเด็นไหนยอมไม่ได้ และประเด็นไหนที่ต้องได้
"ถ้าจำกันได้ การเจรจากับสหรัฐในอดีตเรามีปัญหามาก ผู้แทนสหรัฐจะอ้างตลอดว่าเรื่องนี้ๆเขารับข้อเสนอไทยไม่ได้ เพราะรัฐสภาเขาให้กรอบมาแบบนี้" กรรณิการ์ ยกตัวอย่าง
ขณะเดียวกัน การตัดเรื่องของการรับฟังความคิดเห็นประชาชนก่อนที่จะลงนามในสัญญาออกไป จะทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งตามมาในอนาคต เพราะขั้นตอนการประชาพิจารณ์ คือการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ "ส่งเสียง" ออกไป เป็นการทำความเข้าใจร่วมกันถึงผลกระทบที่จะตามมา และป้องกันความขัดแย้งในอนาคต แต่เมื่อตัดกระบวนการนี้ออกไป จะทำให้ต่างฝ่ายต่างไม่ไว้วางใจกัน
"ที่สำคัญประเทศไทยยังอ่อนด้อยเรื่องการศึกษาผลกระทบจากการทำข้อตกลงระหว่างประเทศ ต่างจากคู่เจรจาที่เขาศึกษาและรู้ทุกเรื่องหมดเราเพิ่งจะมีการศึกษาข้อมูลอย่างจริงจัง ในช่วงที่กำลังเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรปนี่เอง" กรรณิการ์ กล่าว
กรรณิการ์ ยกตัวอย่าง การวิจัยเอฟทีเอ ไทย-อียูซึ่งผลการศึกษาออกมาชัดเจนว่า ถ้าไม่ทำข้อตกลงเอฟทีเอกับยุโรปแล้วถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรไทยจะเสียหายประมาณ 3-6 หมื่นล้านบาทแต่หากทำข้อตกลงกันแล้ว ไทยต้องจ่ายค่ายาและค่าเมล็ดพันธุ์พืชแพงขึ้น 2 แสนล้านบาท ซึ่งเมื่อมีผลศึกษาออกมาแบบนี้ก็ทำให้รัฐชั่งน้ำหนักได้ และคนเจรจาต้องชั่งใจให้ดีว่าจะเลือกเอาจีเอสพี 3-6 หมื่นล้านบาทแลกกับค่ายา ค่าเมล็ดพันธุ์พืชที่แพงขึ้น 2 แสนล้านหรือไม่
กรรณิการ์ สรุปว่า การแก้ไขมาตรา 190 ครั้งนี้เท่ากับเปิดช่องให้รัฐบาลดำเนินการเจรจาเอฟทีเอได้เลย แล้วค่อยเอามาเข้ารัฐสภาตอนจบ และดูจะสอดคล้องเข้าทางเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ซึ่งมีข้อตกลงห้ามเผยแพร่เนื้อหาสาระระหว่างการเจรจา และหลังจากข้อตกลงมีผลไปแล้ว 4 ปี ถึงจะเปิดเผยรายละเอียดสัญญาได้
"น่าเสียดายมากที่ประชาธิปไตยไทยกำลังล้าหลังเพราะมันไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง แต่ยังหมายถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนส่งเสียงของตัวเองได้ด้วย คนแดนไกลคนหนึ่งเคยพูดไว้ว่าเรื่องสัญญาระหว่างประเทศไม่ต้องเอาไปผ่านสภาหรอก เพราะ สส.มันไม่รู้เรื่องแล้วก็น่าหดหู่ที่รัฐสภาของเราแสดงให้เห็นแล้วว่าเป็นอย่างที่คนคนนั้นพูดจริงๆ" กรรณิการ์ กล่าวทิ้งท้าย n
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2556
- 3 views