แพทย์จุฬาฯขยับรับตรง'ก.ค.-ส.ค.' เหตุ'กสพท.'เลื่อนคัด'พ.ย.-ธ.ค.'รับอาเซียน เมิน'GAT/PAT'-สอบวิชา'สามัญ-เฉพาะ'เอง

นพ.สมภพ ลิ้มพงศานุรักษ์ ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์  ในฐานะประธานการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ โดยวิธีรับตรง (แบบพิเศษ) ปีการศึกษา 2557 ของจุฬาฯ เปิดเผยว่า คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้เลื่อนกำหนดการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในโครงการรับตรงของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ตามโครงการดังนี้ 1.โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบทร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) 2.โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุนร่วมกับ สธ. 3.โครงการโอลิมปิกวิชาการ (ชีววิทยา) และ 4.โครงการผลิตแพทย์ร่วมกับกรมแพทย์ทหารอากาศ โดยจะเลื่อนกำหนดการรับ จากเดิมจะรับสมัครในช่วงเดือนสิงหาคมและเสร็จสิ้นกระบวนการรับสมัครในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมของทุกปี มาเป็นรับสมัครในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคมและไปสิ้นสุดกระบวนการในช่วงเดือนพฤศจิกายน

นพ.สมภพกล่าวว่า ทั้งนี้ การเลื่อนสอบรับตรงของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อไม่ให้ทับซ้อนกับเวลาการสมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ที่จะเลื่อนกำหนดการรับสมัครนักศึกษาแพทย์ให้สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เลื่อนเปิดภาคเรียนให้สอดคล้องกับ ประเทศต่างๆ ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยคาดว่า กสพท.จะเลื่อนการรับสมัครมาเป็นเดือนพฤศจิกายน สอบวิชาเฉพาะช่วงเดือนธันวาคมและสิ้นสุดกระบวนกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยารคัดเลือกประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ จากเดิมที่รับสมัครในช่วงเดือนสิงหาคม สอบวิชาเฉพาะเดือนพฤศจิกายน และสิ้นสุดกระบวนการรับสมัครในช่วงเดือนธันวาคม ทั้งนี้ การรับตรงในช่วงเวลาดังกล่าวของจุฬาฯ จะใช้เฉพาะ 4 โครงการนี้เท่านั้น โดยจุฬาฯยังเข้าร่วมในการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยeducation@matichon.co.th ศาสตรบัณฑิต และทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ของ การศึกษากสพท.เช่นเดิม

"ขณะเดียวกัน ในการรับตรงครั้งนี้ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จะไม่ใช้คะแนนทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) คะแนนการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ (PAT) และคะแนนสอบวิชาสามัญของ กสพท.มาเป็นองค์ประกอบในการคัดเลือก จากเดิมที่การรับตรงของจุฬาฯจะพ่วงกับการสอบของ กสพท.มาโดยตลอด มาเป็นใช้คะแนนสอบวิชาสามัญ และวิชาเฉพาะ ที่จุฬาฯจัดสอบเองมาใช้ในการคัดเลือก มีองค์ประกอบดังนี้ ภาษาไทย 10% ภาษาอังกฤษ 12% สังคมศึกษา 6% คณิตศาสตร์ 12% ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา รวม 40% และวิชาจริยธรรมและการคิดเชิงวิพากษ์ 20% สาเหตุที่ต้องแยกการสอบออกมา เพราะคะแนน GAT, PAT และคะแนนสอบวิชาสามัญของ กสพท.เพราะประกาศผลไม่ทันกำหนดการรับสมัครของจุฬาฯ อีกทั้งจุฬาฯมั่นใจในมาตรฐานข้อสอบของตนเอง เพราะข้อสอบดังกล่าวใช้ในการสอบคัดเลือกนิสิตคณะอื่นๆ ของจุฬาฯด้วยเช่นกัน" นพ.สมภพกล่าว

นพ.สมภพกล่าวต่อว่า สำหรับนักเรียนที่สอบติดรับตรงของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในทุกโครงการ จะไม่สามารถสมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาใดๆ ที่ดำเนินการโดย กสพท.ได้อีก และจะต้องยืนยันสิทธิในการเข้าศึกษาต่อที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ผ่านระบบรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ ตามระยะเวลาที่สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.) กำหนด หากไม่ยืนยันสิทธิตามที่ สอท.กำหนด จะถือว่าสละสิทธิ ในส่วนของมหาวิทยาลัยที่มีคณะแพทยศาสตร์อื่นๆ จะเลื่อนรับตรงเช่นเดียวกับจุฬาฯหรือไม่นั้น บอกไม่ได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง

นพ.สมภพกล่าวอีกว่า สำหรับกำหนดการสมัครคัดเลือก มีดังนี้ รับสมัคร ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม-8 สิงหาคม ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือก วันที่ 11 กันยายน สอบวิชาสามัญ และวิชาเฉพาะ วันที่ 19-21 ตุลาคม ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบสัมภาษณ์ และตรวจสุขภาพ วันที่ 15 พฤศจิกายน สอบสัมภาษณ์ และตรวจสุขภาพ วันที่ 19-22 พฤศจิกายน ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าศึกษา ประมาณวันที่ 26 พฤศจิกายน สามารถดูละเอียดได้ทาง www.atc.chula.ac.th

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 15 กรกฎาคม 2556