เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้พบว่า เยาวชนส่วนใหญ่นิยม สูบบารากู่ เพราะเข้าใจผิดว่า เป็นการสูบควันผลไม้ แต่จากที่กรมควบคุมโรคส่งตัวอย่าง ผลไม้แห้งในบารากู่ไปตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่าทุกตัวอย่างมีส่วนผสมของสารนิโคติน ซึ่งสหรัฐอเมริการะบุว่า นิโคตินสามารถเสพติดได้ง่ายเท่ากับเฮโรอีน ดังนั้น สธ.จะต้อง หาทางคุ้มครองเยาวชนให้ทันต่อนวัตกรรมการสูบสารนิโคตินด้วยวิธีการอื่นๆ เช่นเดียวกับการสูบบุหรี่
ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เนื่องจากการสูบบารากู่ มีรสหวาน กลิ่นหอม จึงยั่วยวนใจวัยรุ่นให้อยากลอง และเป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ การสูบบารากู่แต่ละครั้งมักจะใช้เวลาสูบนาน โดยปกติ ผู้สูบบุหรี่ทั่วไป จะสูดพ่นควันประมาณ 8-12, 40-75 มิลลิลิตร ในช่วงเวลา 5-7 นาที และจะสูดดมควันเข้าร่างกายประมาณ 0.5-0.6 ลิตร หรือบางคนอาจถึง 1 ลิตร แต่การสูบบารากู่จะใช้เวลาในการสูดพ่นควันประมาณ 20-80 นาที ดังนั้น ในการสูบแต่ละครั้ง ผู้สูบอาจสูดควันมากกว่า ผู้สูบบุหรี่ทั่วไปถึง 100 มวน
--มติชน ฉบับวันที่ 15 ก.ค. 2556 (กรอบบ่าย)--
- 2 views