สาธารณสุขระดมทีมรับมือไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ระบาด สั่งคุมเข้มนำเข้าสัตว์ปีกจากจีน พร้อมจับ ตาผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจและปอดบวมที่เดินทางกลับจากต่างประเทศเป็นพิเศษ
ที่กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 4 เม.ย. รศ.นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ กล่าวถึงการเตรียมมาตรการรับสถานการณ์เชื้อไวรัสไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในประเทศจีนว่า เมื่อวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา กรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมการ แพทย์ องค์การอนามัยโลก (WHO) ศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐ ด้าน สาธารณสุข กรมปศุสัตว์ จุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักโรคติดต่อทั่วไป สำนักระบาดวิทยา และสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ ได้ประชุมหารือร่วมกันเพื่อระวังป้องกันโรคดังกล่าวในประเทศไทย
รศ.นพ.ทวีกล่าวว่า การพบผู้เสียชีวิตและผู้ป่วยในประ เทศจีนและฮ่องกง นับเป็นครั้งแรกที่พบการติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์นี้ในคน แต่ยังไม่มีหลักฐานของการแพร่กระจายเชื้อจาก คนสู่คน ซึ่งการประเมินสถาน การณ์ของประเทศไทยที่มีข้อมูลค่อนข้างจำกัดประเมินได้ยาก เบื้องต้นจึงเน้นการตรวจจับการระบาด และการเฝ้าระวังโรคให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุม
"การเฝ้าระวังในสัตว์ ทางกรมปศุสัตว์ได้ทำการตรวจสอบสายพันธุ์เชื้อไวรัส H7N9 แต่ยังไม่พบว่ามีเชื้อไวรัสดังกล่าวในสัตว์ และยืนยันไทยไม่มีการนำเข้าสัตว์ปีกจากประเทศจีน ซึ่งเชื้อ ไวรัสชนิดนี้พบได้ในสัตว์ปีกในทวีปยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน โดยโครงสร้างของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวจะทำให้เกิดปอดบวมรุนแรงได้ และยังมีความไวต่อยาโอเซลทามิเวียร์ด้วย" รศ.นพ.ทวีกล่าว
ที่ปรึกษากรมการแพทย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาไทยมีมาตรการป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนกมาอย่างต่อเนื่อง แต่ครั้งนี้จะต้องเพิ่มความเข้มข้น โดยความ ร่วมมือจากกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เน้นการตรวจจับการระบาด และการเฝ้าระวังโรคให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทั้งในคนและสัตว์ พร้อมการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การดูแลรักษาพยาบาล และการสื่อสารความเสี่ยง โดยเฉพาะการเฝ้าระวังกลุ่มผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจรุนแรง ผู้ป่วยปอดบวมที่พบเป็นกลุ่มผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและ มีอาการปอดบวม และบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ป่วยเป็นปอดบวม
"สถานการณ์ที่เกิดขึ้นยัง ไม่จำเป็นต้องจำกัดการเดินทาง แต่กรณีที่ต้องเดินทางไปยังต่างประเทศที่มีความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไข้หวัดนก ขอให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยปอดบวม รวมทั้งสัตว์ปีกและนก ธรรมชาติด้วย หากมีอาการคล้าย โรคไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย และเคย สัมผัสสัตว์ปีก หรือผู้ป่วยปอด บวม ให้รีบไปพบแพทย์พร้อมแจ้งประวัติสัมผัสโรค หรือแจ้งประวัติการเดินทาง" ที่ปรึกษากรมการแพทย์กล่าว
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 5 เมษายน 2556
- 1 view