สำนักงานสถิติแห่งชาติได้จัดทำสำมะโนประชากรและเคหะ เมื่อปี พ.ศ. 2553 โดยได้นับรวมไทยทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย คนต่างชาติที่อยู่เกิน 3 เดือน ซึ่งจากข้อมูลสำมโนประชากรพบว่า มีเด็กอายุระหว่าง 0-6 ปี อาศัยอยู่ทั้งสิ้น 5,346,592 แยกเป็นเด็กที่มีสัญชาติไทย 5,209,650 คน และ เป็นเด็กไม่มีสัญชาติไทย 136,942 ซึ่งหากพิจารณาจากกลุ่มเด็กที่ยังไม่มีสัญชาติไทยที่ปรากฏอยู่ในทะเบียนราษฎรในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็นสี่กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มแรก เด็กที่ยังไม่มีสัญชาติไทยแต่พ่อแม่อยู่อาศัยในประเทศไทยมานาน และได้รับการสำรวจตามนโยบายของรัฐบาลแล้ว ซึ่งกลุ่มนี้ประกอบไปด้วยกลุ่มชนกลุ่มน้อยตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย เลขประจำตัวสิบสามหลักของเด็กกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะขึ้นต้นด้วยเลข 7 (ลูกของชนกลุ่มน้อยเดิม เกิดในประเทศไทย) ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะได้รับหลักประกันสุขภาพตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณะสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียนแล้ว
กลุ่มที่สอง เด็กกลุ่มไมมีสถานะทางทะเบียน ที่ได้รับการสำรวจตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล พ.ศ. 2548 (เลขประจำตัวสิบสามหลักขึ้นต้นด้วยเลข 0) ซึ่งแบ่งออกเป็นสี่กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่ตกหล่นจากการสำรวจและจัดทำทะเบียนชนกลุ่มน้อยเดิม กลุ่มนักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษา (สำรวจโดยสถานศึกษา) กลุ่มคนไร้รากเหง้า (สำรวจโดยกระทรวงพัฒนาสังคม) และกลุ่มผู้ทำคุณประโยชน์ให้ประเทศ ซึ่งโดยทั่วไปเด็กจะอยู่ในสามกลุ่มแรกเท่านั้น ในด้านสิทธิในหลักประกันสุขภาพกลุ่มนักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษา กลุ่มคนไร้รากเหง้า และกลุ่มผู้ทำคุณประโยชน์ให้ประเทศเท่านั้น จะได้รับหลักประกันสุขภาพตามมติคณะรัฐมนตรีเรื่องการให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณะสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะทางทะเบียน ส่วนเด็กในกลุ่มตกหล่นจากการสำรวจและจัดทำทะเบียนชนกลุ่มน้อยเดิม ยังไม่ได้รับหลักประกันสุขภาพใด ๆ
กลุ่มที่สาม เด็กผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติสามสัญชาติ (พม่า ลาว และกัมพูชา) อายุไม่เกิน 15 ปี ที่พ่อแม่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่อาศัยและทำงานในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราวและอยู่ระหว่างการขอพิสูจน์สัญชาติกับประเทศต้นทาง เลขประจำสิบสามหลักขึ้นต้นด้วยเลข 00 ซึ่งกลุ่มนี้แบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่ครม.มีมติให้ขึ่นทะเบียน ซึ่งมีเพียงกลุ่มผู้ติดตามที่ขึ้นทะเบียนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2554 เท่านั้นที่มีมาตรการให้ซื้อประกันสุขภาพ ส่วนกลุ่มอื่นยังไม่ได้มีมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องการซื้อประกันสุขภาพ และกลุ่มที่เกิดหลังจากพ่อแม่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่อาศัยและทำงานในประเทศไทย และไปดำเนินการแจ้งเกิด และถูกบันทึกในทะเบียนราษฎรแล้ว ดังนั้นกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เด็กจะยังไม่มีหลักประกันสุขภาพ
ขณะเดียวกันก็มีผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติในกลุ่มที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติและปรับสถานะเป็นคนเข้าเมืองโดยถูกกฎหมายแล้ว และเด็กเกิดในประเทศไทย เมื่อดำเนินการแจ้งเกิดและบันทึกในทะเบียนราษฏรแล้ว เด็กจะได้รับเลขประจำตัวสิบสามหลักขึ้นต้นด้วยเลข 7 แต่หากพิจารณาจะพบว่ามีเด็กที่ยังเข้าไม่ถึงสถานะบุคคลอีกจำนวนหนึ่ง
ตารางกลุ่มเด็กที่ยังไม่มีสัญชาติไทย และหลักประกันสุขภาพที่ได้รับ
กลุ่มเด็ก |
เลขประจำตัว |
จำนวน |
หลักประกันสุขภาพ |
เด็กในกลุ่มชนกลุ่มน้อยตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย |
ขึ้นต้นด้วยเลข 7 (อาจจะมีบางส่วนขึ้นต้นด้วยเลข 6) |
|
ได้รับหลักประกันสุขภาพตามกองทุนคืนสิทธิฯ |
บุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนกลุ่มตกสำรวจชนกลุ่มน้อย (เดิม)และบุตรหลานของกลุ่มนี้ |
ขึ้นต้นด้วยเลข 0 |
17,855 [1] |
ยังไม่ได้รับสิทธิประกันสุขภาพ |
เด็กในกลุ่มบุคคลคลผู้ไม่มีสถานทางทะเบียน -นักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษา -กลุ่มคนไร้รากเหง้า -ผู้ทำคุณประโยชน์ |
ขึ้นต้นด้วยเลข 0 |
|
ได้รับหลักประกันสุขภาพตามกองทุนคืนสิทธิฯ |
ผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติสามสัญชาติที่ได้รับการผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรี |
ขึ้นต้นด้วยเลข 00 |
|
ยังไม่ได้รับสิทธิประกันสุขภาพ
|
ผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรี 26 เม.ย. 2554 |
ขึ้นต้นด้วยเลข 00 |
17,457 [2] |
ซื้อประกันสุขภาพได้ |
ผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้ว หรือนำเข้าตามระบบ MoU และเกิดในประเทศไทย |
ขึ้นต้นด้วยเลข 7 |
|
- |
[1] ตัวเลขกลุ่มบุตรของบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ข้อมูลเมื่อ พฤศจิกายน 2554 สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ไม่ได้แยกตามกลุ่มอายุ
[2] ตัวเลขระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน – 14 กรกฏาคม 2554
ปัญหาในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ
1. ยังขาดนโยบายด้านหลักประกันสุขภาพ หรือไม่เอื้อต่อการเข้าถึงของกลุ่มเด็กที่ยังไม่มีสัญชาติไทย
2. การเข้าถึงการมีสถานะบุคคล ยังมีปัญหา การสำรวจกลุ่มผู้ตกหล่นยังไม่ทั่วถึง ทำให้เด็กไม่สามารถเข้าส่การมีสถานะทางทะเบียนและหลักประกันสุขภาพได้
3. การแจ้งเกิดเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยหลังการคลอดยังไม่ทั่วถึง มีความไม่เข้าใจของผู้ปกครอง หรือการดำเนินการระดับพื้นที่อยู่พอสมควร ส่งผลให้เด็กไม่มีสถานะหลังการเกิดได้
4. ชุมชนของกลุ่มคนที่ยังไม่มีสัญชาติบางส่วนยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องต่อเรื่องการรับบริการวัคซีน และการติดตามดูแลแม่และเด็กหลังคลอด
5. การเข้าถึงข้อมูลในหลักประกันสุขภาพยังมีไม่มาก และมีข้อจำกัดในเรื่องภาษา
6. สถานบริการมีความห่างไกลจากชุมชนในบางพื้นที่ ทำให้การเข้าถึงการรักษาพยาบาลหรือการบริการด้านสุขภาพจึงเป็นไปได้ยาก
7. ทัศนคติของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในเรื่องสิทธิและการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพยังเป็นปัญหากีดกันการเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพของกลุ่มเด็กที่ยังไม่มีสัญชาติไทย
8. ขาดระบบฐานข้อมูลเพื่อประเมินสถานการณ์ และงบประมาณในการให้บริการ
9. ปัจจุบันยังมีเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยเรียนอยู่ในศูนย์การเรียนของชุมชน ทำให้เข้าไม่ถึงการสำรวจหรือมีสถานะบุคคลได้ และยังขาดการประสานงานเพื่อทำงานส่งเสริมป้องกันด้านสุขภาพในเชิงรุก
10. กลุ่มเด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยมีการเคลื่อนย้ายพื้นที่อยู่อาศัยค่อนข้างมาก ทำให้การจัดบริการที่อิงกับภูมิลำเนา หรือที่อยู่อาศัยตามทะเบียนราษฎร์ อาจจะไม่สอดคล้องกับการเขาถึงหลักประกันสุขภาพของเด็กกลุ่มนี้มากนัก
ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ โรยทราย วงศ์สุบรรณ เครือข่ายองค์กรที่ทำงานด้านประชากรข้ามชาติ
Roisai.wongsuban@rescue.org
ที่มา : http://www.mwgthailand.org
- 223 views