เมื่อได้ฟังแนวทางจากท่านรัฐมนตรีช่วยสาธารณสุขแล้วเชื่อว่า...ฐานรากสุขภาพของชุมชนนั้นจะทำให้ความเป็นผู้เป็นคนของคนในชุมชนนั้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างแน่นอน
องค์ประกอบของชุมชน...ที่เป็นปัจจัยหลักสามารถชี้วัดบ่งบอกถึงพัฒนาการที่ เข้มแข็งของชุมชนได้ มีด้วยกัน 3 ประการ
ประการแรก...เป็นปัจจัยเชิงบริหารของชุมชน ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการไปในรูปแบบขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่มีภาวะของการปรับตัวจากการเรียนรู้มาได้สักระยะหนึ่งแล้ว
จะเข้มแข็งบ้างหรืออ่อนแอบ้างก็ให้ถือว่า...เป็นพัฒนาการแห่งการเรียนรู้ของชุมชนเอง ที่จะสอนให้รู้ความเปราะบางและจะสร้างความเข้มแข็งของตนเองในอนาคตต่อไปว่าเป็นอย่างไร
ประการที่สอง...เป็นปัจจัยเชิงระบบ การศึกษาของชุมชน ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่แข็งแรงมากนัก ต้องอาศัยพี่เลี้ยง คือ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้กำหนดบท ของการเดินให้แก่การศึกษาชุมชนอยู่
และประการที่สำคัญสุดท้าย....เป็นสาธารณสุขของ ชุมชน ที่ให้ความสำคัญแก่ระบบสุขภาพพื้นฐานของคนในชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีตัวแบบยืนโรงอยู่ในรูปของโรงพยาบาลสุขภาพตำบล (รพสต.) ที่ยังอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ปัจจัยหลักทั้งสามประการของชุมชน เชื่อว่า...ในอนาคตอีกไม่นานถ้ามีการสะสมประสบการณ์ก็สามารถสร้างพัฒนาการของตนเองให้เกิดความเข้มแข็ง และบริหารจัดการได้โดยคนในชุนชนเอง สามารถตอบโจทย์ต่อความต้องการ ที่แท้จริงของชุมชนได้
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ ได้กล่าวถึงบทบาทสาธารณสุขในรูปแบบของ รพสต. แก่ผู้เขียนว่า...
โดยแนวทางนั้น ได้วางเป้าหมายจะดูประชาชน...หนึ่ง รพสต. ในหนึ่งตำบล
จะทำหน้าที่ในการป้องกัน การส่งเสริมสุขภาพ และ การรักษาโรคที่เน้นไปยัง 5 โรค ได้แก่ ...โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคะเร็งที่ทรงตัวแล้ว
โดยจะเป็นจุดที่รับคนไข้ต่อมาจากโรงพยาบาลจังหวัด หรือโรงพยาบาลชุมชน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกอย่างต่อเนื่องเช่น จากการรับยา หรือการตรวจเบื้องต้น
และเครื่องมือที่สำคัญอีกประการหนึ่งของรพสต. ที่ มองข้ามไม่ได้เลย ได้แก่...อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งจะมีบทบาทในการทำหน้าที่เป็น...หมอครัวเรือนหลักสำคัญในการบริหารนั้นจะเน้นไปในการใช้รูปแบบเครือข่ายเป็นแนวทางในการทำงาน โดยเจ้าหน้าที่ รพสต. 1 คน จะดูแล อสม. 10 คน อสม. 1 คน จะช่วยดูแล 10-20 ครัวเรือน
พูดง่ายๆ ได้ว่า...บทบาทที่แท้จริงทั้งหมดก็ต้องยกให้แก่ชุมชนเองเป็นผู้มีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของในทุกๆ ส่วนของตำบล ฐาน ของชุมชนจึงจะเกิดขึ้นได้อย่างมั่นคงและ ถาวร
สำหรับในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง รมช.สาธารณสุขนั้น ท่านกล่าวว่า...จะพยายามผลักดันตำแหน่งทันตภิบาล ซึ่ง ทำหน้าที่ดูแลสุขภาพฟันเบื้องต้นให้แก่ชาวบ้าน เพราะปัญหาสุขภาพฟันนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ชาวบ้านต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดด้วย
ในขณะเดียวกันบทบาทของแพทย์แผนไทย ก็จะเป็นบทเสริม เพราะมีที่มาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ที่สืบทอดกันมา และกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้เป็นแพทย์ ทางเลือกเพื่อการรักษาอีกช่องทางหนึ่ง
เมื่อได้ฟังแนวทางจากท่านรัฐมนตรีช่วยสาธารณสุขแล้วเชื่อว่า...ฐานรากสุขภาพของชุมชนนั้นจะทำให้ความเป็นผู้เป็นคนของคนในชุมชนนั้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างแน่นอน
จะเหลือก็แต่ความจริงใจและการทุ่มเท รวมทั้งการสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐเท่านั้น ที่เป็นพลัง งานเติมให้กระบวน การทำงานของชาวบ้านอย่างเราๆ ได้ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง
ท้ายสุด...ก็ได้แต่หวังให้ความมั่นคงทางการเมืองของไทยเรา ที่เป็นต้นทางของทุกๆ เรื่องได้ยุติและหยุดนิ่งเสียที
มิฉะนั้นแล้ว...พัฒนาการต่างๆของชุมชนจะไม่เดินไปข้างหน้า เพราะต้องตกไปเป็นเครื่องมือทางการเมืองแบบเดิมๆ จนชุมชนเองไม่มีเวลาดูแลตนเอง ความอ่อนแอก็จะ กลายเป็นอาภรณ์ประดับชุมชนอย่างไม่รู้จบครับท่านที่รัก
ที่มา: หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์ วันที่ 14 มิ.ย. 2555
- 42 views