ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

อย.ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการจัดการสารเคมีจัดทำ “ทำเนียบรายการสารเคมีที่มีอยู่ในประเทศไทย เล่มที่ 1 (สารเดี่ยว) พ.ศ. 2558” เพื่อเป็นฐานข้อมูลตั้งต้นที่ทำให้ทราบว่ามีสารเคมีที่เป็นสารเดี่ยวอะไรบ้างอยู่ในประเทศ ส่งผลให้การจัดการสารเคมีของประเทศมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดปัญหาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของประเทศ

นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานอนุกรรมการประสานนโยบายและแผนการดาเนินงานว่าด้วยการจัดการสารเคมี เปิดเผยว่า จากการดาเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2555–2564) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คือ “ภายในปี 2564 สังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศปลอดภัยจากสารเคมีบนพื้นฐานของการจัดการสารเคมีที่มีประสิทธิภาพ มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ” นั้น ภายใต้การดาเนินงานตามแผนปฏิบัติการระยะต้น (พ.ศ.2555-2558) ของแผนยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าว สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับ กรมศุลกากร กระทรวงพาณิชย์ กรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสานักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำ “ทำเนียบรายการสารเคมีที่มีอยู่ในประเทศไทย เล่มที่ 1 (สารเดี่ยว) พ.ศ. 2558 (Thailand Existing Chemicals Inventory)” ขึ้น

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยได้เริ่มมีทำเนียบข้อมูลสารเคมีแห่งชาติ ที่มีการรวบรวมรายชื่อสารเคมีที่มีอยู่ในประเทศไทย ตลอดจนข้อมูลต่างๆ ที่สามารถนาไปใช้เป็นฐานข้อมูลสารเคมีหลักสาหรับการจัดการสารเคมีที่มีประสิทธิภาพ เป็นระบบและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เพื่อจัดการสารเคมีได้อย่างเหมาะสมในอนาคต รวมทั้งป้องกันสินค้าด้อยคุณภาพที่มีสารเคมีอันตรายเจือปนเข้ามาในประเทศไทย อันจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของประเทศ

นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา รองประธานอนุกรรมการฯ กล่าวว่า ทำเนียบรายการสารเคมีที่มีอยู่ในประเทศไทยเล่มแรกนี้ ได้รวบรวมรายการสารเคมีที่เป็นสารเดี่ยวที่มีอยู่ในประเทศไทย ทั้งที่ถูกนำเข้าและผลิตในประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 7,212 รายการ มีดัชนีชื่อสารเคมีที่เป็นชื่อสามัญภาษาอังกฤษ เพื่อความสะดวกในการสืบค้น นอกจากนี้ยังมีชุดข้อมูลสาคัญ ได้แก่ TECI NUMBER, CAS NUMBER, COMMON NAME ชื่อภาษาไทย, IUPAC NAME, COSTOM CODE, กฎหมายที่ควบคุม และปริมาณที่นำเข้าและผลิต

นับเป็นฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องต่อการประเมินความเสี่ยงสารเคมี และการวางแผนการจัดการ ควบคุมสารเคมีให้ครอบคลุมทั่วถึง รวมทั้งเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการและประชาชน ที่สามารถสืบค้นข้อมูลหรือใช้ ข้อมูล โดยสามารถเข้าไปอ่านข้อมูลทำเนียบดังกล่าวทางเว็บไซต์ www.thaiteci.com อย่างไรก็ตาม หากผู้อ่านหรือ ผู้นาไปใช้มีข้อมูลหรือมีความเห็นเพิ่มเติม สามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ ศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี กองแผนงาน และวิชาการ อย. โทร. 0 2590 7289 โทรสาร 0 2590 7287 หรืออีเมล: ipcs_fda@fda.moph.go.th