ฝุ่นละออง PM 2.5 เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เป็นข้อมูลเท็จ

อย่าเชื่อ! ฝุ่นละออง PM 2.5 มีความเสี่ยงกับโรคความดันโลหิตสูงทุกวัย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กผู้หญิง เรื่องนี้ไม่มีความสัมพันธ์กันตามข้อมูลทางการแพทย์ที่จะสามารถเชื่อถือได้

ฝุ่นละออง PM 2.5 เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีโพสต์ในสื่อออนไลน์ว่า ฝุ่น PM 2.5 มีความเสี่ยงกับโรคความดันโลหิตสูงทุกวัย โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กผู้หญิง ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ตรวจสอบกับโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันว่า ไม่ใช่เรื่องจริง ข้อมูลดังกล่าวเป็นข่าวปลอม ไม่มีความสัมพันธ์กันตามข้อมูลทางการแพทย์

"ฝุ่นละออง PM 2.5 เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เป็นข้อมูลเท็จ"

ฝุ่นละออง PM 2.5 คืออะไร

ข้อมูลจาก กรมการแพทย์ ระบุว่า ฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นฝุ่นขนาดเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ถึง 25 เท่า ด้วยลักษณะของฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก เมื่อสูดเข้าไปในร่างกาย จะเกิดอันตรายได้ ซึ่งปัญหาฝุ่นละอองในอากาศนั้นพบได้ทั่วโลก ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่เกินค่ามาตรฐาน จะทำให้เกิดปัญหาต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ได้แก่ 

  • ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอด
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือดแล้ว 

การหายใจเอา ฝุ่นละออง PM 2.5 เข้าไปต่อเนื่อง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง เพราะปกติคนเราจะหายใจเอาอากาศเข้าสู่ร่างกายประมาณ 5 ลิตรต่อนาที ที่น่าเป็นห่วง คือ เด็กและเยาวชน เนื่องจากเด็กจะมีอัตราการหายใจถี่กว่าผู้ใหญ่ จึงมีโอกาสสูดอากาศที่มีมลพิษ หายใจเอา ฝุ่นละออง PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายได้มากกว่า โดยเฉพาะเด็กเล็ก ยิ่งอายุน้อยอัตราการหายใจเข้าต่อนาทีก็ถี่มากขึ้น ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จึงส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การหายใจจะนำฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ผ่านเข้าไปในสมองของเด็ก ไม่เว้นแม้แต่ทารกในครรภ์ แม่ตั้งครรภ์ที่หายใจเอา ฝุ่นละออง PM 2.5 เข้าไป จะทำลายเซลล์สมองทารกในครรภ์ ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางสติปัญญาและการเรียนรู้ 

"ฝุ่นละออง PM 2.5"

PM 2.5 ส่งผลอย่างไรต่อผิวหนัง

ฝุ่นละออง PM 2.5 ยังส่งผลกระทบต่อผิวหนังด้วย เพราะสามารถจับตัวกับสารเคมีและโลหะนำพาเข้าสู่ผิวหนัง ทำให้เกิดผลร้าย ได้ดังนี้

  • ทำร้ายเซลล์ผิวหนังโดยตรง 
  • ทำให้การทำงานของเซลล์ผิวหนังผิดปกติ ทั้งเรื่องกลไกการป้องกันของผิวหนังจากสิ่งแวดล้อมภายนอก รวมไปถึงการซ่อมแซมผิวหนังด้วย 
  • กระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบของเซลล์ผิวหนัง 
  • ฝุ่น PM 2.5 ยังทำให้เกิดผื่นคันที่ผิวหนัง โดยเฉพาะในผู้ที่มีโรคผิวหนัง เช่น โรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคผื่นผิวหนังอักเสบ จะระคายเคืองคันมากขึ้น หรือเกิดผื่นกำเริบ 
  • การสัมผัสกับฝุ่น PM 2.5 อย่างต่อเนื่องนาน ๆ ยังทำให้ผิวเสื่อมชราได้เร็วขึ้น การศึกษาในประเทศเยอรมันนีและประเทศจีน พบการเกิดจุดด่างดำบนใบหน้ามากขึ้น และเกิดริ้วรอยบริเวณร่องแก้มมากยิ่งขึ้น 

"ฝุ่นละออง PM 2.5 เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เป็นข้อมูลเท็จ"

วิธีป้องกัน PM 2.5 

  1. ควรงดทำกิจกรรมนอกบ้าน หรือสวมหน้ากากอนามัยที่ช่วยปกป้องจากฝุ่น PM 2.5 หากออกไปเป็นเวลาสั้น ๆ สามารถใช้ผ้าชุบน้ำจนชุ่มปิดจมูกป้องกันการหายใจเอาฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกาย 
  2. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ร่างกายจะหายใจเอาฝุ่นละอองเข้าไป ซึ่งตอนที่ออกกำลังกายอัตราการหายใจอาจเพิ่มเป็น 10 – 50 ลิตรต่อนาที มากกว่าปกติ 10 เท่า   
  3. เลี่ยงการทำงานหนักที่ต้องออกแรงมากในพื้นที่โล่งแจ้ง เพราะร่างกายจะยิ่งหายใจรับปริมาณฝุ่นละอองเข้าไปมากยิ่งขึ้น 
  4. ดื่มน้ำสะอาด 6-8 แก้วต่อวัน
  5. เลือกรับประทานผักผลไม้ อาหารที่มีประโยชน์ 
  6. ผู้ปกครองควรหลีกเลี่ยงการพาลูกหลาน เด็กเล็ก ทารก ไปข้างนอก โดยเฉพาะช่วงที่มีฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน หากพาลูกไปนอกบ้านต้องสวมหน้ากากอนามัยสำหรับเด็ก

กลุ่มที่ต้องระวัง ฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นพิเศษ ได้แก่ เด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัวควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด สตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว อาทิ โรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตาอักเสบ และโรคผิวหนังอักเสบ หากมีอาการผิดปกติให้ไปปรึกษาแพทย์ ถ้าลูกมีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออกให้รีบไปโรงพยาบาลทันที

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ป้องกันตนให้ปลอดภัย หากต้องเผชิญกับ ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5

 

 

*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org