สธ.ร่วม สสส. ผลิตสื่อรับมือโควิดสำหรับองค์กรต่างๆ ดาวน์โหลดฟรีได้ทันที
ในสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังระบาดอย่างต่อเนื่อง แค่การดูแลตัวเองให้แข็งแรงปลอดภัยก็นับว่ายากแล้ว แต่ถ้าคุณอยู่ในหน่วยงาน องค์กร หรือชุมชนที่ต้องรับผิดชอบคนจำนวนมากย่อมยุ่งยากยิ่งกว่า เพราะผู้ติดเชื้อเพียงคนเดียวอาจทำให้ทั้งชุมชนเผชิญความเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้
ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงร่วมกันถอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ออกมาเป็นโปสเตอร์ที่ระบุข้อปฏิบัติในการป้องกันเชื้อโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับลักษณะองค์กร หรือชุมชนต่างๆ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟรีได้ตามนี้
1.อาคารที่พักอาศัย คอนโด อพาร์ทเมนต์ หรือหอพัก โดยทั่วไปผู้พักอาศัยมักมีที่มาที่ไปหลากหลาย ต่างคนต่างอยู่ ข้างห้องกันอาจไม่เคยคุยกันด้วยซ้ำ หากมีใครเจ็บป่วยย่อมเป็นเรื่องยากที่จะดูแลอย่างทั่วถึง ดังนั้นข้อปฏิบัติชัดเจนที่เจ้าของสถานที่ต้องดำเนินการ และสิ่งที่ต้องขอความร่วมมือของผู้พักอาศัยจึงเป็นหัวใจสำคัญในการรับมือโควิด-19 ซึ่งสามารถดาวน์โหลดรายละเอียดได้ ที่นี่ https://bit.ly/2WSvQ72
2.อาคารสำนักงาน เป็นสถานที่ซึ่งในแต่ละวันจะมีคนเข้าออกจำนวนมาก หากไม่มีแนวทางปฏิบัติสำหรับเจ้าของสถานที่ และผู้เข้ามาติดต่อก็ไม่ให้ความร่วมมือ ย่อมเสี่ยงต่อการปล่อยให้เชื้อโควิด-19 แพร่เข้ามาได้ ดังนั้นถ้าสนใจแนวทางรับมือ สามารถดาวน์โหลด ที่นี่ https://bit.ly/2UubeAl
3.ระบบขนส่งมวลชน เป็นสถานที่ซึ่งมีความแออัด ผู้โดยสารมักอยู่ในสภาพใกล้ชิดกัน เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อสูง ผู้ดูแลระบบจึงควรมีแนวทางปฏิบัติสำหรับพนักงาน และผู้โดยสาร เพื่อร่วมกันป้องกันเชื้อโควิด-19 ซึ่งดาวน์โหลดได้เลย ที่นี่ https://bit.ly/3atgKsB
โปสเตอร์เหล่านี้นอกจากจะช่วยให้องค์กรมีแนวปฏิบัติแล้ว ยังเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงเจตจำนงขององค์กรว่า ได้ลงมือทำ และมีความพร้อมในการรับมือโควิด-19 ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับสังคมโดยรวมอีกด้วย ประเทศไทยของเราจะผ่านช่วงวิกฤตินี้ไปได้ ต้องอาศัยความรับผิดชอบของทุกคน หากขาดใครไปสักคนก็ไม่ต้องกับมีรอยรั่วเล็กๆ ที่ท้องเรือที่กำลังแล่นอยู่ในมหาสมุทรที่กำลังเผชิญมรสุม ดังนั้นถ้าร่วมมือกัน เราเอาชนะโควิด-19 ได้อย่างแน่นอน #ไทยรู้สู้โควิด #คนไทยรับผิดชอบส่วนตัวเพื่อส่วนรวม
ติดตามข้อมูลโควิด-19 ได้ที่ https://bit.ly/2wNe7TY
- 462 views