ลด สิ่งเร้า

• จัดสถานที่สำหรับทำการบ้าน อ่านหนังสือ โดยไม่มีสิ่งรบกวน เช่น ทีวี วิดีโอเกม หรือของเล่นอยู่ใกล้ๆ

• ฝึกให้เด็กทำกิจกรรมในที่เงียบๆ หรืออยู่ในสถานที่สงบ ลดการไปเที่ยวห้างหรือสถานที่ที่มีคนพลุกพล่าน

• จำกัดการดูทีวี หรือเล่นคอมพิวเตอร์

เพิ่ม สมาธิและการควบคุมตนเอง

• กำหนดช่วงเวลาในแต่ละวันที่จะฝึกให้เด็กทำอะไรเงียบๆ ที่ตัวเองชอบอย่าง “จดจ่อและมีสมาธิ” พร้อมให้คำชมและรางวัลเมื่อเด็กทำได้สำเร็จ

• เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็กในเรื่องความมีระเบียบ รู้จักรอคอย รู้จักกาลเทศะ สุภาพ หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง และควบคุมอารมณ์ เป็นต้น

• จัดทำตารางกิจกรรมในแต่ละวันให้กับเด็ก ตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน เพื่อฝึกระเบียบวินัย

• ควรมีการตั้งกฎเกณฑ์ การลงโทษเมื่อเด็กทำผิดไว้ล่วงหน้า และต้องทำตามกฎเกณฑ์นั้นๆ อย่างจริงจัง เพื่อการปรับพฤติกรรมที่คงเส้นคงวา

• หากจะเปลี่ยนกิจกรรมที่เด็กกำลังทำอย่างสนุกสนานให้มาทำกิจกรรมที่เด็กไม่ชอบ ควรบอกเด็กล่วงหน้าอย่างน้อย 5 นาที เพื่อให้เด็กพยายามควบคุมตนเอง

• การลงโทษ ควรใช้วิธีจำกัดสิทธิต่างๆ เช่น งดดูทีวี งดเที่ยวนอกบ้าน งดขี่จักรยาน หักค่าขนม เป็นต้น หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง เพราะอาจทำให้เด็กก้าวร้าวและใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา

• สนใจในพฤติกรรม “ถูก” มากกว่า ตำหนิ ในพฤติกรรม “ผิด” และควรให้คำชมหรือรางวัลเล็กๆ น้อยๆ เวลาที่เด็กทำพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เด็กทำพฤติกรรมที่ดีต่อไป

ข้อมูลจาก : คู่มือการคัดกรองและปรับพฤติกรรมเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น สำหรับผู้ปกครอง ส่วนหนึ่งของผลงานวิจัย การพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นแบบบูรณาการระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปกครอง และครู ในเขตภาคเหนือ , สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

ดาวน์โหลดคู่มือฯ และงานวิจัยของ สวรส. คลิก http://kb.hsri.or.th

หรือสามารถค้นหาและดาวน์โหลดสื่อข้อมูลความรู้เพิ่มเติมได้ทางเว็ปไซต์ www.adhdthailand.com และ www.hsri.or.th

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

คาดมีเด็กไทยป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น 1 ล้านคน

สมาธิสั้น-อนาคตยังไม่สั้น ถ้าป้องกันและรักษาอย่างถูกทาง

“พ่อแม่เข้าใจ” จุดเริ่มต้นใหญ่ของการแก้ปัญหาเด็กสมาธิสั้น