สธ.ออกประกาศ เพิ่ม 15 ชนิดอาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ และค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมแบบจีดีเอ หรือฉลากหวานมันเค็ม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป เพื่อให้ครอบคลุมผลิตภัณฑ์อาหารมากยิ่งขึ้น เป็นการส่งเสริมผู้บริโภคให้สามารถใช้ข้อมูลโภชนาการในการตัดสินใจ เลือกบริโภคได้อย่างเหมาะสม

นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และโฆษก อย. เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาสุขภาพของประชาชนเกิดจากภาวะโภชนาการเกินและโรคไม่ติดต่อ โดยเฉพาะโรคอ้วน โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาระดับประเทศและระดับโลก ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุข จึงได้มีนโยบายที่มุ่งเน้นลดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม เพื่อช่วยป้องกันปัญหาโภชนาการเกินและโรคไม่ติดต่อ โดยให้แสดงค่าพลังงาน น้ำาตาล ไขมัน และโซเดียม ตามแบบจีดีเอ (Guideline Daily Amounts) ต่อหนึ่งหน่วยบรรจุภัณฑ์ บนฉลากด้านหน้าของผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซือได้อย่างเหมาะสม และได้ขยายขอบข่ายอาหารที่บังคับการแสดงฉลากโภชนาการและค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมแบบจีดีเอเพิ่มขึ้น

โดยได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 374) พ.ศ. 2559 เรื่อง อาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ และค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมแบบจีดีเอ ซึ่งอาหารที่อยู่ในข่ายของประกาศฯ ฉบับนี้ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม 15 ชนิด ดังนี้

1.อาหารขบเคี้ยว ได้แก่ มันฝรั่งทอดหรืออบกรอบ ข้าวโพดคั่วหรือทอดกรอบ ข้าวเกรียบทอดหรืออบกรอบ หรืออาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง ถั่วหรือนัตทอดหรืออบกรอบ หรืออบเกลือ หรือเคลือบปรุงรส สาหร่ายทอดหรืออบกรอบ หรือเคลือบปรุงรส และปลาเส้นทอดหรืออบกรอบ หรือปรุงรส

2.ช็อกโกแลต และผลิตภัณฑ์ในทำนองเดียวกัน

3.ผลิตภัณฑ์ขนมอบ ได้แก่ ขนมปังกรอบ หรือแครกเกอร์ หรือบิสกิต เวเฟอร์สอดไส้ คุกกี้ เค้ก และพาย เพสตรี ทั้งชนิดที่มีและไม่มีไส้

4.อาหารกึ่งสาเร็จรูป ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ บะหมี่ เส้นหมี่ และวุ้นเส้น ไม่ว่าจะมีการปรุงแต่งหรือไม่ก็ตาม พร้อมซองเครื่องปรุง ข้าวต้มที่ปรุงแต่ง และโจ๊กที่ปรุงแต่ง  

5.อาหารมื้อหลักที่เป็นอาหารจานเดียวซึ่งต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งตลอดระยะเวลาจำหน่าย

ซึ่งผู้ประกอบการที่ผลิตหรือนำเข้าอาหาร ประเภทดังกล่าวข้างต้นที่นอกเหนือจากอาหาร 5 ชนิด ตามประกาศฯ ฉบับเดิม ได้แก่ มันฝรั่งทอดหรืออบกรอบ ข้าวโพด คั่วทอดหรืออบกรอบ ข้าวเกรียบหรืออาหารขบเคี้ยวชนิดอบพอง ขนมปังกรอบหรือแครกเกอร์หรือบิสกิต และ เวเฟอร์ สอดไส้ จะต้องปฏิบัติตามประกาศฯ ฉบับนี้ อย่างเคร่งครัด โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป

ทั้งนี ผู้ประกอบการสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ (ที่นี่)

“ประกาศฯ ฉบับนี้ กำหนดให้มีการแสดงฉลากโภชนาการ และค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมแบบจีดีเอ ครอบคลุมในผลิตภัณฑ์อาหารหลายประเภทเพิ่มมากขึ้น เพื่อประโยชน์ต่อผู้บริโภค และเป็นการสนับสนุนมาตรการ ป้องกันปัญหาด้านโภชนาการเกินและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอีกด้วย” นพ.ไพศาล กล่าว