จำนวนผู้ป่วยโรคไต “เพิ่มสูง” ขึ้นทุกปี ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้น 10,000 คน/ปี เสียชีวิตจากไตวายปีละ 13,000 กว่าคน 1 ใน 3 อายุน้อยกว่า 60 ปี
สัญญาณอันตรายบ่งบอกโรคไต 6 ประการ
1.ปัสสาวะขัด 2.ปัสสาวะสีเข้มแบบสีน้ำล้างเนื้อ 3.ปัสสาวะบ่อย 4.บวมหน้า บวมเท้า 5.ปวดหลัง ปวดเอว 6.ความดันโลหิตสูง
ลดเสี่ยงโรคไต : กินอาหารที่ไม่เค็มจัด ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้พอเพียง งดบุหรี่ หลีกเลี่ยงสุรา ดื่มน้ำสะอาดอย่างพอเพียง เป็นต้น
ข้อดี-ข้อด้อย ของการรักษาโรคไตด้วยการฟอกเลือด ใน 3 ระบบหลักประกันสุขภาพ
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทองหรือ30บาท)
- ฟอกเลือดได้โดยไม่ต้องจ่ายส่วนเกิน
- สามารถได้รับยาฉีดสม่ำเสมอ
- เข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวก
- สามารถเลือกรับยาได้หลายชนิดไม่ขึ้นกับราคายา
- ผู้ป่วยบัตรทองที่จะฟอกเลือด ต้องรออนุมัตินาน และถ้าจะฟอกเลือดโดยไม่ล้างช่องท้องก่อน ต้องจ่ายเงินเองทั้งหมด
- ส่งต่อไปรักษาที่สถานบริการเอกชนยากกว่าสิทธิข้าราชการ
ประกันสังคม
- เบิกค่าการทำทางผ่านเข้าหลอดเลือด ปีละ 20,000 บาท
- เบิกค่ายาได้มากกว่าบัตรทอง ภายใต้ราคากลาง
- เข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวก
- สามารถเลือกรับยาได้หลายชนิดไม่ขึ้นกับราคายา
- จำกัดจำนวนครั้งในการฟอกเลือด และส่วนใหญ่ต้องจ่ายส่วนเกิน 500-700 บาท/ครั้ง
- ผู้ป่วยบางรายที่แพทย์พิจารณาแล้วว่าควรเริ่มฟอกเลือด แต่ผลเลือดไม่ผ่านเกณฑ์การเบิกจ่ายของประกันสังคม ผู้ป่วยต้องจ่ายเงินเอง
สวัสดิการข้าราชการ
- สามารถเลือกการรักษาได้ทุกประเภท (ล้างช่องท้อง ฟอกเลือด เปลี่ยนไต)
- ค่าใช้จ่ายในการรักษาได้มากกว่าสิทธิอื่น และไม่จำกัดจำนวนครั้ง
- สถานบริการยินดีรับเป็นผู้ป่วยประจำมากกว่าสิทธิอื่น
- หากต้องมีการส่งตัวไปสถานบริการเอกชน ต้องมีใบส่งตัวจากโรงพยาบาลรัฐบาลทุก 6 เดือน
ข้อมูลจาก..การประเมินผลการเข้าถึงบริการและการจัดบริการทดแทนไต ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพในประเทศไทย http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4009?locale-attribute=th
ที่มา : เวบไซต์สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) http://www.hsri.or.th
- 411 views