มติชน - กก.จัดงานงดนำแรงงาน 5 พันคนเดินรณรงค์ จากลานพระบรมรูปทรงม้าไปท้องสนามหลวง วัน'เมย์เดย์' หวั่นไม่ปลอดภัย
เมื่อวันที่ 29 เมษายน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงานเตรียมจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2557 ที่ท้องสนามหลวง โดยมีนายทวี ดียิ่ง ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานอุตสาหกรรมเอกชน ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ พ.ศ.2557 นำเสนอข้อเรียกร้องและยื่นต่อกระทรวงแรงงาน โดยช่วงเช้ามีพิธีทางศาสนา ข้าราชการ สภาองค์การลูกจ้างเดินขบวนเพื่อไปร่วมพิธีที่ท้องสนามหลวง วางพานพุ่มหน้าพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดงาน และเวลา 18.00 น. ทำพิธีปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ
นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย คณะกรรมการจัดงาน กล่าวว่า ในวันแรงงานแห่งชาติปีนี้จะงดนำแรงงานกว่า 5,000 คนเข้าร่วมการเดินรณรงค์จากลานพระบรมรูปทรงม้าไปยังท้องสนามหลวง เนื่องจากมีความเป็นห่วงถึงความปลอดภัยของแรงงาน จะมีเพียงการทำกิจกรรมประกาศข้อเรียกร้องต่อสื่อมวลชนในช่วงเช้าเท่านั้น โดยผู้ใช้แรงงานสนใจไปร่วมกิจกรรมได้ที่สนามหลวง
สำหรับข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติมี 12 ข้อ ดังนี้ 1.ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 อย่างเร่งด่วน 2.ให้รัฐบาลเร่งนำร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมของผู้ใช้แรงงาน เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรโดยเร็ว 3.ให้รัฐบาลตรากฎหมายตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้กับลูกจ้างในกรณีที่สถานประกอบกิจการปิดกิจการเลิกจ้าง ไม่จ่ายค่าชดเชย เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในการทำงาน 4.ให้รัฐบาลยกเว้นการเก็บภาษีเงินได้กรณีค่าชดเชย ของลูกจ้างภาคเอกชน และเงินตอบแทนความชอบของพนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงเงินได้อื่นๆ ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายของลูกจ้าง เงินตอบแทนความชอบของพนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงเงินได้อื่นๆ ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายของลูกจ้าง 5.ขอให้รัฐบาลเร่งแก้ไขพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานกรรมการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2550 ในมาตรา 9(5) เพื่อให้มีการปฏิบัติต่อพนักงานรัฐวิสาหกิจ ในแนวทางเดียวกับข้าราชการพลเรือน
6.ให้รัฐบาลสนับสนุนและผลักดันกฎหมายพัฒนารัฐวิสาหกิจ และยุตินโยบายการแปรรูปหรือแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทเอกชน หรือยุบเลิกรัฐวิสาหกิจ 7.ให้รัฐบาลเร่งตราพระราชกฤษฎีกาสถาบันความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พร้อมทั้งสนับสนุนงบประมาณให้กับสถาบันความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน และประกาศยกเลิกการนำเข้าแร่ใยหิน
8.ให้รัฐบาลปฏิรูประบบประกันสังคม 8.1ให้รัฐบาลแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 39 กรณีการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนควรจ่ายเพียงเท่าเดียว 8.2ให้รัฐบาลนิรโทษกรรมให้กับผู้ประกันตน มาตรา 39 กลับมาเป็นผู้ประกันตนได้ 8.3ให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบให้กับผู้ประกันตน มาตรา 40 ในอัตรา 50% ทุกกรณี 8.4ให้รัฐบาลแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 33 โดยให้ขยายสิทธิผู้รับงานไปทำที่บ้านเข้าเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 ได้ โดยให้ถือว่าผู้ว่าจ้างเป็นนายจ้าง 8.5ให้รัฐบาลยกระดับสำนักงานประกันสังคมเป็นองค์กรอิสระ 8.6ให้สำนักงานประกันสังคมจัดสร้างโรงพยาบาลประกันสังคมต้นแบบเป็นของตนเอง
9.ให้รัฐบาลจัดให้มีศูนย์เลี้ยงเด็ก และศูนย์เก็บน้ำนมแม่ในสถานประกอบกิจการ หรือใกล้กับนิคมอุตสาหกรรม แล้วแต่กรณี โดยให้สถานประกอบกิจการที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำค่าใช้จ่ายในกิจกรรมนี้ไปลดหย่อนภาษีได้ 10.ให้รัฐบาลตราพระราชกฤษฎีกาการจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อเป็นกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามบทบัญญัติว่าด้วยเงินกองทุนสงเคราะห์ในหมวด 13 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 (มาตรา 163) 11.ให้รัฐบาลยกสถานะสำนักความปลอดภัยแรงงานเป็นกรมความปลอดภัย2541 (มาตรา 163) 11.ให้รัฐบาลยกสถานะสำนักความปลอดภัยแรงงานเป็นกรมความปลอดภัยแรงงาน และ 12.ให้รัฐบาลประกาศรับรองคณะทำงานติดตามและประสานงานข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ.2557
ที่กระทรวงแรงงาน นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พร้อม น.ส.อรุณี ศรีโต นายกสมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา เครือข่ายแรงงานนอกระบบ กลุ่มสหภาพแรงงาน และภาคีเครือข่ายกว่า 20 คนเข้าพบผู้บริหารกระทรวงแรงงาน พร้อมยื่นจดหมายเปิดผนึกข้อเรียกร้องให้แก้ปัญหาคุณภาพชีวิตแรงงานไทย โดยมีนายพีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงานเป็นผู้รับหนังสือ
นายจะเด็จกล่าวว่า จากการวิเคราะห์ข่าวหนังสือพิมพ์ประเด็นปัญหาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตลอดปี 2556 พบว่ามีข่าวแรงงานไทย/แรงงานข้ามชาติเมาสุราก่อเหตุมากกว่า 135 ข่าว โดยเป็นกลุ่มแรงงานรับจ้างทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มก่อสร้าง สวนยาง กว่า 114 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 84 เป็นกลุ่มแรงงานต่างด้าว 10 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 7.4 แรงงานไทยไม่ระบุอาชีพอีก 6 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 4.4 และกลุ่มผู้ใช้แรงงานในภาคอุตสาหกรรม 5 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 3.7 ส่วนใหญ่เป็นการทะเลาะวิวาทจนเสียชีวิต 99 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 73.3 บาดเจ็บ 28 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 20 รวมทั้งเมาจนขาดสติ ก่อเหตุข่มขืนและคุกคามทางเพศ 16 ข่าว คิดเป็นร้อยละ 11.85
"ขอเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุขและผู้ประกอบการร่วมกันกำหนดแนวทางป้องกันและแก้ปัญหา ทั้งการส่งเสริมให้พื้นที่ก่อสร้างทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ การกำหนดกฎเกณฑ์ที่พักคนงานให้เป็นพื้นที่ควบคุมปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอบายมุขทุกชนิด และเร่งประชาสัมพันธ์ข้อบังคับใช้กฎหมาย ห้ามขายหรือห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ.2555 โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ หากภาครัฐไม่จริงจังเรื่องคุณภาพชีวิตแรงงาน เชื่อว่าหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปัญหาจะยิ่งขยายวงจนรับมือไม่ไหว" นายจะเด็จกล่าว
นายพีรพัฒน์กล่าวว่า ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องที่กระทรวงแรงงานไม่ได้นิ่งนอนใจ ซึ่งปัจจุบันมีการสอดแทรกเรื่องพิษภัยของแอลกอฮอล์และบุหรี่ให้แก่ผู้ใช้แรงงานอยู่เสมอ ทั้งโครงการโรงงานสีขาวและโครงการอื่นๆ เพราะส่งผลกระทบต่อปัญหาความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ทั้งนี้ยังเน้นย้ำกับแรงงานไทยอยู่เสมอว่าวัตถุประสงค์ของการความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ทั้งนี้ยังเน้นย้ำกับแรงงานไทยอยู่เสมอว่าวัตถุประสงค์ของการทำงานคือการหารายได้เพื่อไปเลี้ยงครอบครัว โดยกระทรวงแรงงานยินดีรับข้อเรียกร้องเหล่านี้ไปพิจารณาและนำไปประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากการขอรับบริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตผ่านสายด่วน 1323 ในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมาพบวัยแรงงาน โดยเฉพาะช่วงอายุ 26-30 ปี ขอรับบริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตมากที่สุด 12,333 ราย รองลงมาคือช่วงอายุ 21-25 ปี 9,076 ราย และ 36-40 ปี 8,774 รายตามลำดับ ปัญหาที่ขอปรึกษา 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.โรคทางจิตเวช 2.ปัญหาสุขภาพจิต อาทิ เครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ 3.ปัญหาครอบครัว 4.ปัญหาความรัก และ 5.ปัญหาการพนัน
"นอกจากนี้จากรายงานการฆ่าตัวตายของประเทศไทย นับแต่ปี 2540-2555 ก็ยังพบว่าวัยแรงงานยังคงเสี่ยงต่อปัญหาการฆ่าตัวตาย โดยช่วงอายุ 20-29 ปี มีการฆ่าตัวตายมากที่สุด 17,429 ราย รองลงมา คือ ช่วงอายุ 30-39 ปี 16,719 ราย และช่วงอายุ 40-49 ปี 12,081 รายตามลำดับ ล่าสุดปี 2555 ช่วงอายุ 30-39 ปี ฆ่าตัวตายมากที่สุด 947 ราย รองลงมา คือ ช่วงอายุ 40-49 ปี 828 ราย และช่วงอายุ 20-29 ปี 686 รายตามลำดับ กลุ่มอาชีพผู้ใช้แรงงานทำร้ายตนเองมากที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มอาชีพเกษตรกร และผู้ไม่มีรายได้ สิ่งเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงความเครียดและความกดดันในชีวิต ที่เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ซึ่งหากแรงงานไทยเกิดความเครียดและจัดการกับความเครียดไม่ได้อย่างเหมาะสม ย่อมมีโอกาสเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาอีกมาก" นพ.เจษฎากล่าว
นพ.เจษฎากล่าวว่า สิ่งสำคัญต้องรู้จักดูแลตัวเอง ทั้งการพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่เสริมสร้างทั้งพลังงานและอารมณ์ที่ดี ตลอดจนออกกำลังกายเพื่อคลายเครียด รับแสงแดดอย่างน้อยวันละ 10-15 นาที หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา ดูแลสุขภาพใจ โดยการรักษาสมดุลระหว่างหน้าที่ความรับผิดชอบและการทำกิจกรรมที่สร้างความสุข มีความสุขกับธรรมชาติและศิลปะ คิดบวก มองเรื่องต่างๆ ในแง่ขำขันบ้าง หรืออยู่ใกล้คนที่มีอารมณ์ขัน และหาวิธีจัดการกับความเครียด
ที่มา--มติชน ฉบับวันที่ 1 พ.ค. 2557 (กรอบบ่าย)--
- จีรศักดิ์ สุคนธชาติ
- กระทรวงแรงงาน
- วันแรงงานแห่งชาติ
- 1 พฤษภาคม
- ทวี ดียิ่ง
- สภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานอุตสาหกรรมเอกชน
- มนัส โกศล
- สภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
- อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
- จะเด็จ เชาวน์วิไล
- ผู้อำนวยการมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล
- อรุณี ศรีโต
- นายกสมาคมส่งเสริมสิทธิชุมชนเพื่อการพัฒนา
- เครือข่ายแรงงานนอกระบบ
- กลุ่มสหภาพแรงงาน
- เจษฎา โชคดำรงสุข
- กรมสุขภาพจิต
- สายด่วน 1323
- 39 views