สำนักงานประกันสังคม เปิดเผยผลตอบแทนจากการลงทุนกองทุนประกันสังคมในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2556 ว่ามีกำไร 36.2 หมื่นล้านบาทเป็นเงินรายได้จากดอกเบี้ย และกำไรจากการขายตราสารหนี้และค่าธรรมเนียมการให้ยืมหลักทรัพย์ จำนวน 25,714 ล้านบาท เป็นเงินปันผลและกำไรจากการขายตราสารทุน (หุ้น) 10,486 ล้านบาท
ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผลตอบแทน 30,035 ล้านบาทหรือมีผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 6,165 ล้านบาทอย่างไรก็ตาม คาดว่าทั้งปี 2556 จะมีผลตอบแทน 4 หมื่นล้านบาท
ปัจจุบันกองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุนจำนวน 1,062,696 ล้านบาท โดยแบ่งลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง836,946 ล้านบาท คิดเป็น 79% ของเงินลงทุนทั้งหมด ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล704,848 ล้านบาท คิดเป็น 66.33%พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน 89,524 ล้านบาท และหุ้นกู้เอกชน 42,574 ล้านบาท และลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงรวม จำนวน225,750 ล้านบาท ได้แก่ เงินฝากธนาคาร 30,832 ล้านบาท คิดเป็น 2.9%ตราสารหนี้อื่นๆ64,316 ล้านบาท หน่วยลงทุน 39,275 ล้านบาท คิดเป็น 3.7% และหุ้นสามัญ 91,327 ล้านบาท คิดเป็น 8.59%
รายงานข่าวจากสำนักงานประกันสังคม ระบุว่า การที่กองทุนประกันสังคมเติบโตอย่างรวดเร็วจนมีเงินลงทุนมากถึง 1,062,696 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นเงินสมทบสะสม (หลังหักค่าใช้จ่ายสิทธิประโยชน์ทั้ง 7 กรณี) จากนายจ้างและลูกจ้าง และรัฐบาล จำนวน751,094 ล้านบาท และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลตอบแทนจากการลงทุนสะสม311,602 ล้านบาท
สำหรับเงินลงทุนรวม 1,062,696 ล้านบาท เป็นเงินกองทุนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ 939,859 ล้านบาท ซึ่งบริหารได้รับอัตราผลตอบแทนย้อนหลัง 12 เดือน4.7% เงินกองทุนที่ดูแลผู้ประกันตนกรณีเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ คลอดบุตร42,396 ล้านบาท ได้ผลตอบแทน 3.67%เงินกองทุนกรณีว่างงาน 78,332 ล้านบาทได้ผลตอบแทน 3.7% และเงินกองทุนมาตรา 40 จำนวน 2,109 ล้านบาท ได้ผลตอบแทน 2.92-3.18%
ทางด้านรายจ่ายของกองทุนประกันสังคมนั้นก็มีการเพิ่มขึ้นทุกปี โดยโรคที่กองทุนต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลมากที่สุด คือ มะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคระบบทางเดินหายใจ โรคตา และระบบกล้ามเนื้อกระดูก
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 27 ตุลาคม 2556
- 5 views