30 ปีที่แล้ว "มาบตาพุด" เป็นเพียงชุมชนเล็กๆ ใน จ.ระยอง คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยคุ้นชื่อนัก จวบจนกระทั่งขุดพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย รัฐบาลจึงเลือกระยองเป็นแห่ลผลิตและพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับก๊าซธรรมชาติและปิโตรเคมีต่างๆ เนื่องจากภูมิประเทศเหมาะสมไม่ไกลกรุงเทพฯ มากนัก โดยตั้งชื่อว่า "นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด" พร้อมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ท่าเรือน้ำลึก ระบบถนน รถไฟ ระบบส่งน้ำระบบโทรคมนาคม ฯลฯ ช่วงแรกที่เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2525 นั้นมีพื้นที่เพียง 7,000 ไร่
5 ปีต่อมา รัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ตั้งเป้าหมายให้ไทยเป็น "เสือตัวที่ 5" ของเอเชีย (Fifth Asian Tiger) ต่อจาก "4 เสือเศรษฐกิจของเอเชีย" เกาหลีใต้ ฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดถูกขยายให้กว้างขวงขึ้น เพื่อรองรับโรงงานใหม่จำนวนมาก จนกระทั่งปัจจุบันมีพื้นที่กว่า 2 หมื่นไร่ เรียกกันว่า "มาบตาพุดคอมเพล็กซ์" ประกอบท่าเรืออุตสาหกรรมมาตาพุดและนิคมอุตสาหกรรม 5 แห่งตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน คือ 1.นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 2.นิคมอุตสาหกรรมผาแดง 3.นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย 4.นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก 5.นิคมอุตสาหกรรมอาร์ไอแอล ภายใต้การดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม ในรูปแบบรัฐวิสาหกิจ
ภายใน "มาบตาพุดคอมเพล็กซ์" มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 250 แห่ง เน้นผลิตปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ เหล็ก โรงกลั่นมลพิษหลากหลายรูปแบบย ชาวบ้านและชุมชนที่อาศัยอยู่อ้านในและบริเวณใกล้เคียงประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย จากผลตรวจคุณภาพน้ำผิวดินแม่น้ำระยอง พบคุณภาพเสื่อมโทรมลงตั้งแต่ปี 2549 มีค่าดัชนีคุณภาพน้ำเพียง 37 คะแนน จาก 100 คะแนน จนกระทั่งปัญหาเกี่ยวกับมลพิษและการขาดแคลนน้ำเริ่มสะสมจนส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน สถิติผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกชนิด ใน อ.เมือง จ.ระยอง มากกว่าอำเภออื่นๆ ถึง 5 เท่า
ยิ่งไปกว่านั้นยังพบการลักลอบทิ้งกากขณะอุตสาหกรรมจำนวนมาก โดยไม่มีการลงโทษ เช่น ทิ้งเถ่าถ่านหินลงทะเล หรือเอาน้ำกรดไปทิ้งลงคลอง เป็นต้น สถิติตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบันระบุว่า ระยองมีปริมาณของเสียอันตรายมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ สำหรับปัญหามลพิษทางอากาศนั้น เมื่อปี 2540 นักเรียนกว่าร้อยคนของโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร ล้นป่วยเพราะกลิ่นสารเคมีจากโรงงานปิโตรเคมี
ในปี 2548 เกิดภาวะขาดแคลนน้ำอย่างหนัก มีการแย่งใช้น้ำระหว่างชุมชนกับโรงงาน และข้อมูลของกลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรมร่วมกับกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยผลการวิเคราะห์สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs)จากการเก็บตัวอย่างบริเวณมาบตาพุดตั้งแต่ปี 2545-2550 พบสารก่อมะเร็ง 55 ตัว ในจำนวนนี้มี 45 ตัวที่มีอันตรายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกายถึง 20 จุด เช่น ตับ ไต หัวใจ ระบบประสาทส่วนกลาง และประสาท และมี 3 ตัวอันตรายรวมอยู่ด้วย คือ
1.เบนซิน (Ben-zene) พบค่าเกินระดับ การเฝ้าระวังคุณภาพอากาศในบรรยากาศของสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (EPA) เขตที่ 6 ถึง 700 เท่า 2.บิวทาไดอีน (Butadiene) มีค่าเกินระดับ 265 เท่า และ 3.สารเมทิลเทอร์เชียรีบิวทิลอีเทอร์ (Methyl Tertiary Butyl Ether) ซึ่งมีผลทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตา จมูก และลำคอ มีค่าเกินระดับ 232 เท่าปัจจุบันอเมริการประกาศยกเลิกใช้สายตัวนี้แล้ว ทุกวันนี้เครือข่ายเอ็นจีโอพยายามเคลื่อนไหวรณรงค์ให้รัฐบาลประกาศให้มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ เนื่องจากตรวจพบสารอินทรีย์ระเหยในปัสสาวะของประชาชนที่อาศัยอยู่รอบมาบตาพุด และกรมควบคุมโรคยืนยันว่าเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2550 คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจัดทำแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษในพื้นที่ จ.ระยอง พ.ศ. 2550-2554 มีสาระสำคัญ 4 ข้อ คือ 1.ลดปริมาณปล่อยทิ้งมลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ขยะและกากของเสียอุตสาหกรรม 2.ปรับปรุงคุณภาพน้ำและอากาศ ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานภายใน 1 ปี 3.ประชาชนต้องมีรับการดูแล รักษา และฟื้นฟูสุขภาพอนามัยอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 4.ชุมชนในพื้นที่มีความเข้มแข็งมีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการระบายมลพิษจากแหล่งกำเนิดได้อย่างต่อเนื่อง และ 5.การพัฒนาพื้นที่ในอนาคตไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยและสอดคล้องศักยภาพพื้นที่
ปรากฏว่า แผนข้างต้นไม่ได้รับความร่วมมือจากโรงงานต่างๆทำให้เครือข่ายเอ็นจีโอและชาวบ้านร่วมกันฟ้องเรื่องนี้ไปที่ศาลปกครองกลาง จนกระทั่งวันที่ 29 กันยายน 2552 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้ระงับ 76 โครงการตามมติคณะรัฐมนตรี 2552 ที่อนุญาตให้มีการออกใบอนุญาตแก่โรงงาน ที่จะก่อสร้างในเขต อ.มาบตาพุต จ.ระยอง ไว้เป็นการชั่วคราว ถึงเป็นมูลค่ารวมกว่า 3.5 แสนล้านบาท
ระหว่างที่รัฐบาลกำลังยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลก็เกิดเหตุการณ์น่าสลดใจที่สารเคมีอันตราย
ระเบิดในบริษัท บีเอสที อิลาสโตเมอร์ส และก๊าซรั่วไหลจาก บริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ไทยแลนด์) ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 12 คน และบาดเจ็บอีกกว่า 140 คนนั้น "สุทธิ อัชฌาศัย" ตัวแทนเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออกออกมาจี้รัฐบาลให้จัดระเบียบ "มาบตาพุดคอมเพล็กซ์" อย่างจริงจัง
"ทุกปัญหามลพิษรุมเร้าที่นี่ ปัญหาใหญ่ที่สุดของตอนนี้คือเรื่องขยะ มีวันละเกือบ 100 ตัน ประชากรตามทะเบียนบ้านมี 3 หมื่นคน แต่ที่อาศัยอยู่ในนี้จริงๆ น่าจะเกือบ 2 แสนคน ชาวบ้านกำลังแย่งชิงน้ำและทรัพยากรทุกอย่าง ทิศทางการพัฒนามาบตาพุดจะต้องชัดเจน รัฐต้องสั่งให้หยุดขยายโรงงานได้แล้ว ควรหานิคมใหม่รองรับ ไม่เช่นนั้นจะเกิดความขัดแย้งรุนแรงมากกว่านี้" แกนนำชาวบ้านกล่าวเตือนด้วยน้ำเสียงจริงจัง
ที่มา: นสพ.คมชัดลึก วันที่ 21 พ.ค. 55
- 200 views