ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ตัวแทน 3 จว. ที่ถ่ายโอนรพ.สต. เผยถึง “กลไกและรูปแบบการดำเนินงานด้านสุขภาพช่องปาก” ย้ำ! อัตราการเข้าถึงบริการไม่ต่างจากเดิม และถือเป็นโอกาศพัฒนากลไกบริการ "สุขภาพช่องปาก" ในระบบปฐมภูมิ

เมื่อวันที่ 30 - 31 มกราคม 2567 ณ โรงแรม ทีเคพาเลซแอนด์ คอนเวนชั่น จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนากลไกและรูปแบบการจัดบริการปฐมภูมิด้านสุขภาพช่องปากในหน่วยบริการที่ถ่ายโอนภารกิจไปองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งมีการอภิปราย ในหัวข้อเรื่อง “กลไกและรูปแบบการดำเนินงานด้านสุขภาพช่องปากในจังหวัดที่ถ่ายโอนไป อบจ.” โดยมี นางฐิตารีย์ เชื้อพราหมณ์ รักษาการผู้อำนวยการกองสาธารณสุของค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา  ทพ.กมล เศรษฐ์ชัยยันต์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน  และ ทพ.ทศพล เวชวัฒนาเศรษฐ โรงพยาบาลท่าโรงช้างจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมอภิปราย

ทพ.กมล เศรษฐ์ชัยยันต์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน กล่าวในบางช่วงว่า เมื่อ 15 กันยายน 2566 มีการสรุปผลงานทันตาภิบาล โดยสรุปทั้งจังหวัด โดยมีการเชิญทาง อบจ. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน และ รพ.สต. ทั้งหมด 124 แห่ง มาดูผลลัพธ์ตั้งแต่ 61-66 ที่เกิดขึ้น จะเห็นได้ว่าในช่วงโควิดอาจจะมีการบริการลดลง แต่พอเข้ามาปี 66 เริ่มกลับมาเหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม เคยมีคําถามสําคัญว่า ถ้าแยกระหว่างถ่ายโอนกับไม่ถ่ายโอนจะเป็นอย่างไร ปรากฎว่าแทบไม่แตกต่างกันเลย เราเคยมีการพูดคุยกับทาง อบจ.แล้ว่าสิ่งใดที่เคยทํา อบจ.บอกทำต่อไป สำหรับก้าวต่อไปจากปีนี้คืออะไรกัน..คือ 1. มีการประชุมเตรียมการประชุมสำหรับปีใหม่นี้  2. การมีรถทันตกรรมเคลื่อนที่ ซึ่งปีนี้ปัญหาหนักอกของสาธารณสุข เพราะงบประมาณยังไม่ผ่าน พ.ร.บ. ตอนนี้ใช้ไปตามที่กระทรวงฯ ให้งบดําเนินงานก่อน เราจึงมีการไปหารือกับ อบจ.เพื่อของบพัฒนาบุคลากร ซึ่ง อบจ. มีการอนุมัติงบมาให้ทันที

ซึ่งนี่ถือเป็นตัวอย่างการเชื่อมระหว่าง อบจ. - สสจ. กับ 1 ปีที่ผ่านมาว่าเราจะทํายังไงในการทํางานร่วมกันเมื่อถ่ายโอนไปแล้ว นอกจากนี้ตอนนั้นที่ถ่ายโอนไปมีทันตาภิบาลแค่ 1-2 คน ซึ่งการทำงานแทบไม่แตกต่างกันเลย เพราะอบจ.ให้ทําเหมือนเดิม ดูแลประชาชนเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นจากการถ่ายโอนในปีที่ผ่านมาทําให้เรามีประสบการณ์ เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง ฯลฯ

ด้านนางฐิตารีย์ เชื้อพราหมณ์ รักษาการผู้อำนวยการกองสาธารณสุของค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา  กล่าวว่า บริบทการให้บริการมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ปัญหานโยบายของผู้บริหารคือจุดหลัก ไม่ใช่ว่านนโยบายไม่ดี แต่กําลังชวนคิดว่าวันนี้ทุกคนมีสิทธิ์ออกเสื้อที่จะใส่ของตัวเองได้ เสื้อที่พอดีกับตัวเอง เสื้อที่สีสันตัวเองบอกว่ารู้สึกชอบ แต่อยู่ในแจกันเดียวกัน ฉะนั้นดอกไม้ทุกดอกมีสิทธิ์ในเรื่องของการออกแบบรูปแบบของตัวเองอันนี้ต่างหากคือไฮไลท์ของท้องถิ่น เราไม่ได้บอกว่าท้องถิ่นคือพระเอกแต่เราจะเป็นพระเอกไม่ได้ถ้าขาดธีมเครือข่าย ฉะนั้นการทํางานของท้องถิ่นหัวใจหลักต้องบอกว่าคือภาคีเครือข่าย พระเอกของทางด้านสุขภาพต้องยกให้สาธารณสุข พระเอกด้านมิติทางสังคมต้องยกให้ท้องถิ่น

วันนี้เป็นโอกาสดี สงขลา ไม่ได้มองเรื่องของการถ่ายโอนเป็นเรื่องของคําว่าวิกฤตแต่มองเป็นเรื่องของโอกาสที่ประชาชนวันนี้เราถามหาว่าประชาชนจะได้อะไร วันนี้พระเอกกับนางเอกมาเจอกันแล้ว แล้วเราจะทํายังไงถึงให้อยู่ในบ้านหลังเดียวกันได้อย่างมีความสุข แต่งงานกันใหม่จีบกันใหม่ๆ ยังไงก็ต้องมีข้อโต้แย้ง เพราะเรามาต่างบริบทต่างพื้นที่กัน ในเมื่อมาอยู่ด้วยกันก็ต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ฉะนั้นมายด์เซตเป็นสิ่งสําคัญที่สุด อยากให้ทั้งสององค์กรปรับเปลี่ยนเข้าหากัน เรามีจุดอ่อนจุดแข็งแตกต่างกัน สำหรับในการถ่ายโอน จ.สงขลา มี รพ.สต. ทั้งหมด 175 แห่ง รวม สอน. 1 แห่ง ซึ่งมีการขอถ่ายโอนปี 66-67 รวมเพียง 49 แห่ง

วันนี้คุณภาพของ รพ.สต.ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ อบจ. หรือ สสจ. อย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับศักยภาพของพื้นที่ ขึ้นอยู่กับบุคลากรและการบริหารจัดการของผู้บริหาร ฉะนั้นวันนี้เป็นโอกาสดี ถ้าจะบอกว่าเรากําลังเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสหรือไม่ เพราะวันนี้เปิดช่องในเรื่องของการก้าวเข้าสู่ตําแหน่ง ตามคุณภาพและศักยภาพตนเอง เป็นคนพื้นที่เหมือนสสจ ทํางานร่วมกับสสอ. สสจ. ปกติเหมือนเดิมทุกอย่าง เพราะภาระกิจถ่ายโอนไม่ได้พึ่งเริ่มต้น วันนี้มีการบูรณาการโดยเอาทีมแพทย์ของโรงบาลหาดใหญ่มาเป็นพี่เลี้ยงเช่นเดียวกัน จากนั้นเมื่อแข็งแกร่งแล้วเราค่อยมาดูว่าเราจะเตรียมอะไรในระบบ เช่น ระบบขาดรถก็เติมรถ ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ เรามีการลงพื้นที่ยังพบว่า สุขภาพช่องปากยังเป็นปัญหาต้นๆ แสดงว่างานสร้างเสริมและส่งเสริมป้องกันในพื้นที่เราไม่ครอบครุมทุกพื้นที่ หรือว่าเราทำแล้วอาจจะไม่ตอบโจทย์ตามสภาพปัญหาหรือองค์กรไม่ได้ดําเนินการเข้าไปร่วมจริงๆ ต้องบอกว่าหลักการสําคัญของ Premiere  Health Care ถือว่าเป็นหัวใจหลักในการเดินหน้าของ อบจ. เช่นเดียวกัน ทุกอย่างเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน เพราะเรื่องสุขภาพช่องปาก ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องส่วนบุคคลจริงๆ  ฉะนั้นสิ่งสําคัญเราต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงตรงนี้

สาธารณสุขเราทำไว้ค่อนข้างดีมากแทบไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรเลย โดยเฉพาะเรื่องของการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน อาทิ รพ.สต. 5 ดาว แค่วันนี้ สสจ. สสอ. มาร่วมวางแผนร่วมกันว่าปัญหาจริงๆเรื่องของสุขภาพช่องปากมันคืออะไร ทั้งนี้ ขอย้ำว่าโมเดลของสงขลา ไม่เน้นการเปลี่ยนแปลง แต่เน้นการเติมเต็มจากระบบและช่องโหว่และความเหลื่อมล้ำที่เกิดอยู่ในระบบ นอกจากนี้เรายังมีการ MOU ในเรื่องของสนับสนุนการมีทันตแพทย์ปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการบริการประชาชน ทั้ง การหมุนเวียนบุคลากรมาทำงาน การซื้อรถทันตกรรมเคลื่อนที่ พร้อมพัฒนากลไกของการทํางานร่วมกันสุดท้ายนี้เรื่องสุขภาพช่องปากเป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องมาช่วยกันทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องที่ต้องมาร่วมกัน ฉะนั้นตัวชี้วัดต้องเป็นตัวชี้วัดร่วมกัน เพื่อติดตามทำร่วมกันยร่วมกัน

ด้านทพ.ทศพล เวชวัฒนาเศรษฐ รองผู้อำนวยการ และหัวหน้ากลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลท่าโรงช้าง จังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า โรงพยาบาลท่าโรงช้างมีขนาด 90 เตียงแต่ให้บริการได้จริง 120 เตียง และถูกกำหนดให้เป็นโรงพยาบาลแม่ข่ายที่รับผู้มาใช้บริการจากโซนตะวันตกของจังหวัดสุราษฎร์ธานีทั้งหมด ซึ่งมีประชากรประมาณ 340,000 คน  แต่โรงพยาบาลมีประชากรเพียง 24,000 คน (ห่างกันประมาณ 10 เท่า)  ปัจจุบันโรงพยาบาลมีทันตแพทย์เพียง 7 คน อยู่ในโรงพยาบาลท่าโรงช้าง 3 คน ซึ่งถือว่ายังน้อยอยู่ เดิมทีมีทันตาภิบาลเพียง 5 คนและในปี 65 ได้มีการจ้างเหมานักวิชาการสาธารณสุขเพิ่มอีก 2 คน และในปี 66 บุคลากรประสงค์ถ่ายโอนไป 3 คน

หากมองภาพรวมของจังหวัด พบการถ่ายโอนประมาณ 60% มีรพ.สต. ทั้งหมด 169 แห่ง ถ่ายโอนไป 69 แห่ง และ ปี 67 มีประสงค์ถ่ายโอนเพิ่มเพียง 1 แห่ง ในส่วนการเข้าถึงบริการ ตั้งแต่ปี 62 ถึง ปี 67 มีอัตราการเข้าถึงบริการใกล้เคียงกัน หลังจากการถ่ายโอนนั้น เมื่อเทียบการเข้าถึงการบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ในระหว่างโรงพยาบาลที่มีการถ่ายโอน 100%  และโรงพยาบาลที่ถ่ายโอน 60% จะเห็นได้ว่ามีความใกล้เคียงกันไม่ได้ห่างกันมาก ภาพรวมจะเห็นได้ว่าการถ่ายโอนไม่ได้มีผลต่อการเข้าถึง ของผู้รับบริการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการส่งเสริมการป้องกันและการรักษา