ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 23 ส.ค.2559 มีมติอนุมัติหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการเบิกจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการของกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับ11 และ 12) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยระบุว่าเกณฑ์ค่าตอบแทนฉบับใหม่นี้มีหลักเกณฑ์สำคัญ 4 ประเด็นคือ 

1.ใช้หลักเกณฑ์พื้นที่ 6 ระดับ เหมือนกันทุกวิชาชีพ 

2.ใช้หลักเกณฑ์อายุราชการ 3 ช่วงอายุ ได้แก่ ปีที่ 1-3 ปีที่ 4-10 ปีที่ 11 ขึ้นไป เหมือนกันทุกวิชาชีพ 

3.เพิ่มกลุ่มสายงานส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพและคุ้มครองผู้บริโภค 

4.ช่องว่างค่าตอบแทนระหว่างวิชาชีพลดลง

โดยทั้ง 4 ประเด็นมีหลักการและรายละเอียดดังนี้

หลักการ

หลักการสำคัญในการทบทวนการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข ได้แก่ การสร้างความเป็นธรรมในด้านค่าตอบแทนทั้งภายในวิชาชีพและระหว่างวิชาชีพ รวมทั้งสนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้ผู้ที่ปฏิบัติงานมากและปฏิบัติงานหนักได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม และสร้างให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาระบบการจ่ายค่าตอบแทน

ดังนั้นการปรับจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขได้คำนึงถึงค่าใช้จ่ายด้านบุคคลที่ไม่ให้เพิ่มสูงเกินความจำเป็นปรับการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นแบบอัตราเดียวทุกพื้นที่และทุกหน่วยบริการไปเป็นการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน แต่ยังคงให้การจ่ายค่าตอบแทนแบบอัตราเดียวในพื้นที่เฉพาะตามปัจจัยที่กำหนด เช่น มีความห่างไกล ความทุรกันดาร ความเสี่ยงภัย การขาดแคลนกำลังคน และปัจจัยอื่นๆ เพื่อรักษาหลักการความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่มีกำลังคนด้านสุขภาพให้บริการอย่างเพียงพอและมีคุณภาพให้กับประชาชน

การปรับค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข

1.ค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย

1.1 ค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือเทียบเท่า รวมถึงหน่วยบริการปฐมภูมิในสังกัดโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลชุมชน ได้ทบทวนการจัดกลุ่มพื้นที่และระดับความยากง่ายของการบริหารทรัพยากรบุคคล เป็น 6 ระดับ ได้แก่

1.พื้นที่ชุมชนเมือง

2.พื้นที่ปกติ ระดับ 2.1

3.พื้นที่ปกติ ระดับ 2.2

4.พื้นที่ปกติ ระดับ 2.3

5.พื้นที่เฉพาะ กลุ่ม 1

6.พื้นที่เฉพาะ กลุ่ม 2

1.2 ค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป กำหนดเป็น  2 กลุ่ม ได้แก่

1.โรงพยาบาลในกลุ่ม ก ซึ่งมีความยากลำบากในการบริหารจัดการทรัพยากร

2.โรงพยาบาลในกลุ่ม ข ซึ่งมีความยากลำบากมากในการบริหารจัดการทรัพยากร

1.3 การกำหนดอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายสำหรับโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือเทียบเท่า รวมถึงหน่วยบริการปฐมภูมิในสังกัดโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลชุมชนมีข้อเสนอดังนี้

สำหรับแพทย์และทันตแพทย์ กำหนดอัตราค่าตอบแทนรายเดือน ดังนี้

ระยะเวลา

พื้นที่ ชุมชน เมือง

พื้นที่ปกติ

พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 1

พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 2

ระดับ

2.3

ระดับ

2.2

ระดับ

2.1

ระดับ 2.2

และ 2.1

ระดับ 2.2

และ 2.1

ปีที่ 1– ปีที่ 3

10,000

10,000

10,000

10,000

20,000

30,000

ปีที่ 4– ปีที่ 10

12,000

15,000

20,000

30,000

40,000

50,000

ปีที่ 11 ขึ้นไป

15,000

20,000

25,000

40,000

50,000

60,000

 
สำหรับเภสัชกรกำหนดอัตราค่าตอบแทนรายเดือน ดังนี้

ระยะเวลา

พื้นที่ ชุมชน เมือง

พื้นที่ปกติ

พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 1

พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 2

ระดับ

2.3

ระดับ

2.2

ระดับ

2.1

ระดับ 2.2

และ 2.1

ระดับ 2.2

และ 2.1

ปีที่ 1- ปีที่ 3

4,000

4,000

4,500

4,500

9,000

14,000

ปีที่ 4- ปีที่ 10

5,000

5,000

5,500

5,500

10,000

15,000

ปีที่ 11 ขึ้นไป

6,000

6,000

6,500

6,500

11,000

16,000

 

สำหรับพยาบาลวิชาชีพ กำหนดอัตราค่าตอบแทนรายเดือน ดังนี้

ระยะเวลา

พื้นที่ ชุมชน เมือง

พื้นที่ปกติ

พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 1

พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 2

ระดับ

2.3

ระดับ

2.2

ระดับ

2.1

ระดับ 2.2

และ 2.1

ระดับ 2.2

และ 2.1

ปีที่ 1– ปีที่ 3

2,200

2,200

2,400

2,400

2,700

3,700

ปีที่ 4- ปีที่ 10

2,800

2,800

3,000

3,000

3,200

4,200

ปีที่ 11 ขึ้นไป

3,000

3,000

3,200

3,200

3,700

4,700

 

สำหรับสหสาขาวิชาชีพ กำหนดอัตราค่าตอบแทนรายเดือน ดังนี้

ระยะเวลา

พื้นที่ ชุมชน เมือง

พื้นที่ปกติ

พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 1

พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 2

ระดับ

2.3

ระดับ

2.2

ระดับ

2.1

ระดับ 2.2

และ 2.1

ระดับ 2.2

และ 2.1

ปีที่ 1- ปีที่ 3

2,000

2,000

2,200

2,200

2,500

3,500

ปีที่ 4– ปีที่ 10

2,600

2,600

2,800

2,800

3,000

4,000

ปีที่ 11 ขึ้นไป

2,800

2,800

3,000

3,000

3,500

4,500

 

สำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานกลุ่มอื่นๆ ที่ให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพ และคุ้มครองผู้บริโภคหรือให้บริการแก่ผู้ป่วย ระดับปริญญาตรี กำหนดอัตราค่าตอบแทนรายเดือน ดังนี้

ระยะเวลา

พื้นที่ ชุมชน เมือง

พื้นที่ปกติ

พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 1

พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 2

ระดับ

2.3

ระดับ

2.2

ระดับ

2.1

ระดับ 2.2

และ 2.1

ระดับ 2.2

และ 2.1

ปีที่ 1– ปีที่ 3

1,500

1,500

1,700

1,700

2,000

3,000

ปีที่ 4- ปีที่ 10

2,100

2,100

2,300

2,300

2,500

3,500

ปีที่ 11 ขึ้นไป

2,300

2,300

2,500

2,500

3,000

4,000

 

สำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานกลุ่มอื่นๆ ที่ให้บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพ และคุ้มครองผู้บริโภคหรือให้บริการแก่ผู้ป่วย ระดับต่ำกว่าระดับปริญญาตรี กำหนดอัตราค่าตอบแทนรายเดือน ดังนี้

ระยะเวลา

พื้นที่ ชุมชน เมือง

พื้นที่ปกติ

พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 1

พื้นที่เฉพาะกลุ่ม 2

ระดับ

2.3

ระดับ

2.2

ระดับ

2.1

ระดับ 2.2

และ 2.1

ระดับ 2.2

และ 2.1

ปีที่ 1– ปีที่ 3

1,000

1,000

1,000

1,000

1,200

1,500

ปีที่ 4– ปีที่ 10

1,200

1,200

1,200

1,200

1,500

1,800

ปีที่ 11 ขึ้นไป

1,500

1,500

1,500

1,500

1,800

2,000

 

1.4 การกำหนดอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย โรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลทั่วไป หรือเทียบเท่า มีข้อเสนอดังนี้

สำหรับแพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร กำหนดอัตราค่าตอบแทนรายเดือน ดังนี้

ระยะเวลา

แพทย์/ทันตแพทย์

เภสัชกร

กลุ่ม ก

กลุ่ม ข

กลุ่ม ก

กลุ่ม ข

ปีที่ 1– ปีที่ 3

10,000

10,000

4,000

4,000

ปีที่ 4– ปีที่ 10

12,000

20,000

5,000

5,000

ปีที่ 11 ขึ้นไป

15,000

25,000

5,500

5,500

 

สำหรับพยาบาลวิชาชีพ สหสาขาวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่กลุ่มอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ คุ้มครองผู้บริโภคหรือให้บริการแก่ผู้ป่วยกำหนดอัตราค่าตอบแทนรายเดือน ดังนี้

ระยะเวลา

พยาบาลวิชาชีพ

 

 

 

พยาบาล วิชาชีพ

สหวิชาชีพ

 

 

 

สหวิชาชีพ

กลุ่มบริการผู้ป่วยสายงานระดับ

ปริญญาตรีขึ้นไป

ต่ำกว่าปริญญาตรี

กลุ่ม ก

กลุ่ม ข

ระดับ ก

กลุ่ม ข

กลุ่ม ก

กลุ่ม ข

ระดับ ก

กลุ่ม ข

ปีที่ 1– ปีที่ 3

2,200

2,000

1,500

1,000

ปีที่ 4– ปีที่ 10

2,800

2,600

2,100

1,200

ปีที่ 11 ขึ้นไป

3,000

2,800

2,300

1,500

 

2.การพัฒนาระบบการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน ได้กำหนดหลักการสำคัญของการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน โดยมีหลักการให้ครอบคุลมงานบริการ (ทั้งการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค) งานบริหาร และงานวิชาการ โดยค่าตอบแทนที่เจ้าหน้าที่จะได้รับต้องผันแปรไปตามผลการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ จะมีการกำหนดค่าคะแนนประกันผลการปฏิบัติงานขั้นต่ำ และมีการกำหนดกรอบวงเงินเพื่อจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าว