ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

สัญญาณเตือน “รพ.มอ.” ใกล้ถึงจุดวิกฤต ส่งผลกระทบทั่วภาคใต้ บุคลากรทางการแพทย์ ทยอยลาออกเป็นจำนวนมาก และเตรียมไขก๊อกอีกระลอกใหญ่

นายมนูญ หมวดเอียด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ( มอ.) เปิดเผยว่า ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี กลุ่มสหสาขาวิชาชีพสุขภาพคณะแพทยศาสตร์ มอ. พร้อมด้วยพยาบาลวิชาชีพ กว่า 150 คน ได้พบกับ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อติดตามความคืบหน้ากรณีที่ตัวแทนบุคลากรของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ที่ได้ยื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในการประชุม ครม.สัญจรที่ จ.สุราษฎร์ธานี ที่ผ่านมา เพื่อขอให้บรรจุบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เป็นข้าราชการ

นายมนูญ กล่าวอีกว่า มอ. เป็นโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อกระทรวงสาธารณสุข เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับบุคลากรในสังกัด แต่บุคลากรโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์แต่อย่างใด เพราะส่วนใหญ่กระทรวงศึกษาธิการ จะดูแลครู ขณะที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ไม่มีการบรรจุบุคลากรทางการแพทย์เป็นข้าราชการตั้งแต่ พ.ศ.2541 เป็นต้นมา แต่จะจ้างในตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัย หรือลูกจ้างแทน ทำให้บุคลากรทยอยลาออก เพราะขาดขวัญและกำลังใจ ช่วงปี 2552 - 2555 ได้ลาออกไปประมาณ 300 คน ที่สำคัญโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เป็นโรงพยาบาลหลักในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ รองรับตำรวจและทหารที่บาดเจ็บจากเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมถึงเหตุการณ์ความไม่สงบ ซึ่งเดิมมีจำนวน 1,000 เตียง

 “โดยเฉลี่ยแล้ว พยาบาลวิชาชีพ แพทย์ ได้ทยอยลาออกประมาณปีละ 100 คน โดยเข้าไปทำงานกับโรงพยาบาลเอกชนในพื้นที่ จนเกิดภาวะขาดแคลนแพทย์ และพยาบาล ของโรงพยาบาลรัฐในที่สุด จนไม่พอเพียงต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยในภาคใต้ ตรงนี้รัฐเองจะต้องสูญเสียงบประมาณในการผลิตแพทย์ พยาบาล แต่ละปีเป็นเงินจำนวนมหาศาล” นายมนูญ กล่าว และว่า ขณะนี้ยังมีแพทย์ และพยาบาล ตลอดจนสาขาอื่น ๆ ที่เตรียมลาออกอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อมีการลาออก บรรดาพยาบาลชำนาญการ แพทย์เฉพาะทาง หรือสาขาอื่น ๆ จะทำให้โรงพยาบาล มอ.ในอนาคตเกิดภาวะวิกฤติได้ เพราะขาดผู้ชำนาญการ แล้วจะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อผู้ป่วยไข้ด้วยโรคต่าง ๆ มากมาย และ มอ.เอง“ตอนนี้ก็อยู่ภาวะที่ค่อนข้างจะขาดแคลนอยู่แล้ว แต่หากรัฐบาลไม่เร่งดำเนินการ ช่วยให้เขาเข้าบรรจุเป็นข้าราชการ ก็จะมีการลาออกกันเป็นจำนวนมาก แล้ว รพ.มอ.จะเกิดภาวะวิกฤติอย่างใหญ่หลวง แล้วจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยไข้ไปทั่ว 14 จังหวัดภาคใต้อย่างเลี่ยงไม่พ้น เชื่อว่าอนาคตอันใกล้นี้ จะเกิดขึ้นนายมนูญ ยังกล่าวอีกว่า ขณะนี้ผู้ป่วยจาก 14 จังหวัดภาคใต้ ตั้งแต่ จ.ชุมพร ต้องส่งเข้ามา มอ.ในแต่ละปีประมาณ 45,000 คน เพื่อรักษาพยาบาล พร้อมทั้งคนป่วยใกล้เคียง และจากโรงพยาบาลจังหวัดใกล้เคียง รวมแล้วประมาณ 950,000 คน / ปี

ในขณะที่มีบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล ประมาณ 921 คน“ตอนนี้พยาบาลที่เป็นข้าราชการเงินเดือน 9,140 บาท ส่วน รพ.มอ. 18,000 บาท และหากไปเข้าโรงพยาบาลเอกชน เงินเดือนประมาณ 20,000 บาท พร้อมบวกกับประสบการณ์ปีละ 500 บาท หากมีประสบการณ์ 5 ปี ก็จะได้ประมาณ 2,500 บาท / เดือนอีกต่างหาก ตอนนี้โรงพยาบาลเอกชนเตรียมรองรับอย่างเต็มที่ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ของ มอ.” นายมนูญ กล่าวนายมนูญ ยังกล่าวอีกว่า ส่วนใหญ่แพทย์ พยาบาล และสาขาอื่น ๆ ที่ลาออกไป ไปทำงานกับโรงพยาบาลเอกชนมีไปทั่วทุกภูมิภาค แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเข้าไปยังส่วนกลางที่กรุงเทพ ตอนนี้ รพ.มอ.ขาดทั้งแพทย์ อาจารย์แพทย์ พยาบาล ฯลฯ จนส่งผลกระทบต่ออาคารศูนย์อุบัติเหตุ ขนาดสูง 15 ชั้น ซึ่งมีลานเฮลิคอปเตอร์จอดขึ้น รับส่งผู้ป่วย ซึ่งได้สร้างเสร็จแล้ว แต่ขาดแคลนผู้ปฏิบัติงานแพทย์ และพยาบาล“คณะแพทย์ศาสตร์ มอ. เป็นหน่วยงานของรัฐ แต่เมื่อผลิตบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล ฯลฯสำเร็จแล้ว ไม่สามารถบรรจุเป็นข้าราชการได้ ถือเป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้น ต่างกับหน่วยงานอื่น ๆ เมื่อสำเร็จแล้ว ก็สามารถบรรจุเป็นข้าราชการได้ มอ.มีแพทย์เฉพาะทางบางโรค เป็นมือ 1 ของประเทศไทย และเป็นมืออันดับ 3 ของภูมิภาคอาเชี่ยนด้วย”นายมนูญ กล่าวอีกว่า ตอนนี้เป็นเรื่องที่น่าวิตกกังวลที่สุด คือบรรดาบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะพยาบาล ได้เตรียมตัวลาออกกันเป็นจำนวนมาก หากมีการลาออกกันเป็นจำนวนมาก จะขาดพยาบาลชำนาญการ มีความเชี่ยวทางด้านโรคต่าง ๆ จะเกิดภาวะวิกฤติอย่างใหญ่หลวงต่อ มอ. และผู้ป่วยทั่วภาคใต้ จึงส่งสัญญาณมาถึงรัฐบาล ให้เร่งดำเนินการแก้ไข ก่อนที่จะถึงวิกฤตวันนั้น

ที่มา: http://www.posttoday.com

เรื่องที่เกี่ยวข้อง